ชาวชุมพรใจคอไม่ดี แชร์ภาพฟ้าสีแดงส้ม หวั่นเป็นสัญญาณอันตรายของพายุ “ปาบึก”

ชาวชุมพรใจคอไม่ดี แชร์ภาพฟ้าสีแดงส้ม หวั่นเป็นสัญญาณอันตรายของพายุ “ปาบึก”

ชาวชุมพรใจคอไม่ดี แชร์ภาพฟ้าสีแดงส้ม หวั่นเป็นสัญญาณอันตรายของพายุ “ปาบึก”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เนื่องจากอิทธิพลของ "พายุโซนร้อนปาบึก" ที่มีเส้นทางลงสู่อ่าวไทยและมุ่งหน้าขึ้นฝั่งภาคใต้ของประเทศไทย ทำให้หลายฝ่ายต่างเตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติที่กำลังจะเกิดขึ้น ตามแนวเส้นทางของพายุปาบึกที่จะพาดผ่าน โดยเฉพาะบริเวณ จ.ชุมพร, นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี รวมทั้งพื้นที่ เกาะสมุย และ เกาะพะงัน

ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 11 พายุโซนร้อน "ปาบึก" ขึ้นฝั่งถล่มชุมพร-สุราษฎร์ธานี 4 ม.ค.นี้ บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

>> ประกาศฉบับที่ 11 พายุโซนร้อน "ปาบึก" ขึ้นฝั่งถล่มชุมพร-สุราษฎร์ธานี 4 ม.ค.นี้

ทั้งนี้ วันที่ 2 ม.ค. ประชาชนในจังหวัดชุมพรได้แชร์ภาพฟ้าสีแดงส้มลงในโลกออนไลน์ ซึ่งคนที่เคยประสบกับเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งใหญ่ "พายุไต้ฝุ่นเกย์" เมื่อปี 2532 ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ท้องฟ้าแบบนี้เหมือนเมื่อ 30 ปีก่อนไม่มีผิด

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Peerapun Sunsern ได้เขียนข้อความไว้ว่า “พ่อส่งรูปนี้ให้ดูบอกว่า ถ่ายมาจากชุมพรตอนใกล้ค่ำ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ก็ตรงกับที่คนโบราณหรือชาวทะเล เรียกปรากฏการณ์นี้ ว่าอุกาฟ้าเหลือง คือท้องฟ้าจะเป็นสีแดงส้ม โดยเฉพาะชาวทะเล ถ้าเห็นฟ้าแบบนี้จะไม่ออกทะเล หรือถ้าอยู่ในทะเลก็จะรีบเข้าฝั่งเลยเพราะเป็นสัญญาณว่าพายุใหญ่กำลังจะมา มีพี่ท่านนึงบอกว่า ฟ้าแบบนี้เหมือนสมัยพายุเกย์เข้าชุมพรเลย”

สำหรับ "พายุไต้ฝุ่นเกย์" เป็นพายุรุนแรงอีกลูกที่สร้างความเสียหายและถูกจารึกเอาไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ภัยพิบัติของประเทศไทย และยังเป็นพายุไต้ฝุ่นลูกเลวร้ายที่สุดของคาบสมุทรมลายูรอบ 35 ปี ในขณะนั้น พายุลูกนี้ได้ความเสียหายอย่างหนักให้กับ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ ชุมพร

วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงได้ก่อตัวขึ้นบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ก่อนจะเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และพัฒนากลายเป็นพายุโซนร้อน พร้อมกับได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า "พายุเกย์"

 เฟซบุ๊ก ชุมพรภาพความเสียหายจาก พายุไต้ฝุ่นเกย์

ต่อมาในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 พายุได้เพิ่มกำลังความเร็วลมและกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 พัดอยู่ใจกลางอ่าวไทย ก่อนที่เช้าวันต่อมา (4 พ.ย.) พายุไต้ฝุ่นเกย์ได้พัดขึ้นชายฝั่ง บริเวณช่วงรอยต่อ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ ชุมพร ด้วยกำลังความเร็วลมถึง 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจัดเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3

>> ย้อนอดีตเส้นทางพายุ "โซนร้อนแฮเรียต-ไต้ฝุ่นเกย์" เทียบกับ "พายุปาบึก"

ทั้งนี้ เส้นทางของพายุไต้ฝุ่นเกย์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต่างประหลาดใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากพายุก่อตัวขึ้นในอ่าวไทย ซึ่งเป็นเพียงอ่าวทะเลเล็กๆ ก่อนจะสะสมพลังงานและพัฒนากลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับที่น่าเกรงขาม ผิดวิสัยปกติของก่อกำเนิดพายุหมุนเขตร้อนในภูมิภาคนี้

เฟซบุ๊ก ชุมพรภาพความเสียหายจาก พายุไต้ฝุ่นเกย์

อิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นเกย์ ทำให้ผู้เสียชีวิตถึง 537 คน สร้างความเสียหายให้กับ อ.เมือง, อ.บางสะพานน้อย, อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ อ.ท่าแซะ, อ.ปะทิว จ.ชุมพร ซ้ำยังทำเรือขุดเจาะน้ำมันอับปางลงนอกชายฝั่งอ่าวไทย

พายุไต้ฝุ่นเกย์ กลายเป็นพายุลูกเดียวในประวัติศาสตร์ที่พัดเข้าสู่ชายฝั่งประเทศไทย ด้วยความเร็วลมระดับพายุไต้ฝุ่น โดยหลังจากนั้นพายุลูกนี้ยังได้พัดข้ามอ่าวเบงกอล กลายเป็นพายุโซโคลนระดับ 5 ขึ้นถล่มชายฝั่งประเทศอินเดีย ก่อนจะสลายตัวไปบริเวณเทือกเขากัตส์ทางตะวันตกของอินเดีย

>> อย่าประมาท! นักวิชาการดังเตือนพี่น้องภาคใต้เตรียมตัวรับมือ "พายุปาบึก"

>> อพยพเจ้าหน้าที่แท่นขุดเจาะกลางทะเล เตรียมประชุมด่วนรับมือ "พายุโซนร้อนปาบึก"

>> ชาวแหลมตะลุมพุก หวั่น “ปาบึก” ซ้ำรอย “แฮเรียต” ปี 2505

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook