หยุดเถียงกัน! "ก๋วยเตี๋ยว" หรือ "ก๊วยเตี๋ยว" ก็ได้ ราชบัณฑิตประกาศกร้าว ถูกทั้งคู่

หยุดเถียงกัน! "ก๋วยเตี๋ยว" หรือ "ก๊วยเตี๋ยว" ก็ได้ ราชบัณฑิตประกาศกร้าว ถูกทั้งคู่

หยุดเถียงกัน! "ก๋วยเตี๋ยว" หรือ "ก๊วยเตี๋ยว" ก็ได้ ราชบัณฑิตประกาศกร้าว ถูกทั้งคู่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพจเฟซบุ๊ก ราชบัณฑิตยสภา ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา โพสต์วันนี้ (7 ธ.ค.) ถึงวิธีการเขียนคำว่าก๋วยเตี๋ยว อาหารที่คนไทยจำนวนมากคุ้นเคย ให้ถูกต้อง ซึ่งระบุว่า พจนานุกรมปี 2554 บัญญัติให้คำนี้เขียนได้ 2 แบบคือ "ก๋วยเตี๋ยว" ที่ใช้ไม้จัตวา (+) ทั้งคู่ และ "ก๊วยเตี๋ยว" ที่ใช้ไม้ตรี (๗) ที่พยางค์แรก และไม้จัตวา (+) ที่พยางค์สุดท้าย

หลังจากโพสต์นี้เผยแพร่ออกไป ชาวเน็ตก็ให้ความสนใจอย่างมาก ความเห็นหนึ่งที่เขียนก๊วยเตี๋ยวมาทั้งชีวิต บอกว่า จากนี้ไปตนไม่ต้องโดนดูถูกอีกว่าเขียนผิด เพราะราชบัณฑิตยสภารับรองการเขียนแบบนี้แล้ว

อย่างไรก็ตาม ชาวเน็ตรายหนึ่งตำหนิการรับรองให้เขียนถูกทั้ง 2 คำว่า ราชบัณฑิตยสภาควรกำหนดวิธีการทับศัพท์ให้ตรงกับภาษาเดิมมากที่สุด ไม่ใช่เปลี่ยนไปเรื่อยตามความนิยม เพราะทำให้เกิดความสับสน ทั้งยังแสดงว่าไม่มีหลักการทับศัพท์ที่เป็นมาตรฐาน

แล้ว "กวยจั๊บ" ล่ะ?

นอกจากนี้ ยังมีชาวเน็ตอีกกลุ่มหนึ่งที่มาขอความชัดเจนถึงวิธีการเขียนคำว่า กวยจั๊บ ที่หลายคนออกเสียงทั้งกวยจั๊บและก๋วยจั๊บ ว่าต้องเขียนว่าอย่างไร ซึ่งเพจนี้ตอบว่า ตามพจนานุกรมแล้ว ต้องเขียนว่า "กวยจั๊บ" เท่านั้น เขียนแบบอื่นนอกจากนี้ถือว่าผิด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook