เคอิโงะ"ดีใจได้คุยกับพ่อชาวญี่ปุ่นแล้ว

เคอิโงะ"ดีใจได้คุยกับพ่อชาวญี่ปุ่นแล้ว

เคอิโงะ"ดีใจได้คุยกับพ่อชาวญี่ปุ่นแล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคอิโงะ ได้คุยกับพ่อที่สถานทูตญี่ปุ่นแล้ว เพียงทักทายกันเล็กน้อยสายก็ถูกตัดไป เจ้าตัวบอกเท่านี้ก็ดีใจแล้วและจะไม่ไปหาที่ญี่ปุ่น ขณะเดียวกันมีการตามหาพ่อญี่ปุ่นโผล่อีก 2 ราย สมมาตร ทรอย แนะรัฐตั้งหน่วยงานเฉพาะดูแลเด็กไทยถูกไข่แล้วทิ้ง ระบุ พม.งานล้นมือรับมือไม่ไหว

(22พ.ค.) เวลา 14.00 น. ด.ช.เคอิโงะ ซาโต เดินทางไปขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดิน พระราม 9 เพื่อไปลงสถานีลุมพินี โดยมี นายคมทัศน์ ชัยภักดี ผอ.สำนักงานผู้ว่าการรฟม. พร้อมเจ้าหน้าที่ได้รอต้อนรับ พร้อมกับมีการของขวัญและโมเดลรถไฟฟ้า หมวกสีเขียว ให้กับน้องเคอิโงะ พร้อมกับเพื่อน ๆ ที่เดินทางมาด้วย การต้อนรับครั้งนี้สร้างความปลื้มปิติยินดีให้กับด.ช.เคอิโงะเป็นอย่างมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดินครั้งนี้สร้างความสนใจให้กับประชาชนที่เดิน ทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นอย่างมาก เมื่อ ด.ช.เคอิโงะ ได้เดินทางถึงสถานีรถไฟฟ้าลุมพินี โดยเจ้าหน้าที่ได้มีการอธิบายถึงขั้นตอนการเดินทาง สัญญลักษณ์ต่างที่ปรากฏภายในสถานีรถไฟฟ้า
 
ต่อมาเมื่อเวลา 14.30 น.ด.ช.เคอิโงะ เดินทางถึงสถานฑูตญี่ปุ่น โดยมีสื่อมวลชนทั้งญี่ปุ่นและไทยร่วมทำข่าวจำนวนมาก โดยระหว่างการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ด.ช.เคอิโงะได้แสดงอาการตื่นเต้นตลอดเส้นทาง พยายามมองกระจกรถไฟฟ้าตลอด เมื่อถึงบริเวณด้านหน้าสถานฑูต ด.ช.เคอิโงะกล่าวว่า รู้สึกดีใจ อยากให้พ่อมาหาที่เมืองไทย อยากให้พ่อมาเที่ยวเมืองไทย ถ้าพ่อมาจะเอาตุ๊กตาหมีให้พ่อ และถ้าพ่อมารับไปญี่ปุ่นตอนนี้ยังไม่ไป ขอเรียนที่เมืองไทยก่อน

จากนั้นได้เดินทางเข้าไปภายในสถานฑูต โดยเจ้าหน้าที่ได้อนุญาตให้สื่อเข้าไปด้านในสถานฑูตด้วย และเวลา 17.00 น.จะแถลงข่าวที่รร.ริเวอร์ไซด์

เมื่อเวลา 14.45 น. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศว่า เจ้าหน้าที่สถานฑูตให้การต้อนรับสื่อมวลชน โดยจัดให้พักห้องรับรอง พร้อมแจ้งว่า ทางบิดาของ ด.ช.เคอิโงะ จะโทรศัพท์เข้ามาพูดคุยในเวลา 16.00 น. ขณะที่ด.ช.เคอิโงะ ทางเจ้าหน้าที่จัดให้พักอยู่ในห้องรับรองพิเศษเพื่อรอการพูดคุยกับทางบิดา จากประเทศญี่ปุ่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ด.ช.เคอิโงะหลังจากได้พบกับเจ้าหน้าที่สถานทูตญี่ปุ่นแล้วได้ให้สัมภาษณ์ว่า ได้คุยกับพ่อผ่านทางโทรศัพท์แล้วโดยทักทายกันเล็กน้อยแล้วสายก็ถูกตัดไป ซึ่งเท่านี้ก็ทำให้ตนดีใจแล้ว และจะไม่เดินทางไปหาพ่อที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็บอกว่าได้คุยในรายละเอียดกับพ่อแล้ว

ตามหาพ่อญี่ปุ่นโผล่อีกรายวอนช่วยเหลือ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่สื่อมวลชนทั้งไทยและญี่ปุ่นรอทำข่าวน้องเคอิโงะบริเวณหน้าสถานทูต ญี่ปุ่นนั้นปรากฏว่ามีนางสายฝน พึงพินิจ อายุ 45 ปี พานายโชตะ ชิโมโตะ อายุ 15 ปี ซึ่งเป็นออทิสติกเดินทางเข้าร้องขอความเป็นธรรมกับสื่อมวลชนว่าอยากให้สถาน ทูตญี่ปุ่นช่วยตามหาพ่อของน้องโชตะคือนายมิคิโอะ ชิโมโตะ อายุ 67 ปีที่ขาดการติดต่อมากว่า 7 ปี

นางสายฝนเล่าว่า เคยพาน้องโชตะมาร้องขอความเป็นธรรมเพื่อให้ตามหาพ่อแล้ว 4 ครั้ง แต่ไม่ได้รับความร่วมมือหรือช่วยเหลือแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับน้องเคอิโงะที่ทุกฝ่ายต่างให้ความช่วยเหลือที่มาวันนี้ได้ทราบ ว่าน้องเคอิโงะเป็นข่าวใหญ่ มีสื่อมาทำข่าวเป็นจำนวนมาก อยากให้นำเสนอข่าวและช่วยเหลือตนบ้าง ตนได้จดทะเบียนสมรสกับนายมิคิโอะตั้งแต่ปีพ.ศ.2539 มีเอกสารการจดทะเบียนที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีใบรับรองบุตรอีกด้วย

นางสายฝนกล่าวต่อว่า พบรักกับนายมิคิโอะขณะที่ฝ่ายชายมาทำงานที่ประเทศไทยที่บริษัทโตชิบานวน ครก่อนจะไปอยู่กินกันที่ประเทศญี่ปุ่นที่เมืองฮาเมจิ จังหวัดเฮียวโตะประเทศญี่ปุ่น คลอดลูกที่ญี่ปุ่นและอยู่ได้ระยะหนึ่งก็เดินทางกลับประเทศไทย ขณะเดียวกันนายมิคิโอะได้เปลี่ยนผลัดงานบริษัทแม่ได้เรียกตัวกลับไปที่ ประเทศญี่ปุ่นแต่ก็ได้ติดต่อสื่อสารส่งเสียค่าใช้จ่ายกับตนทุกเดือน ต่อมา นายมิคิโอะก็ขาดการติดต่อไปเฉย ๆ เป็นเวลากว่า 4 ปี

"ฉันพาลูก มาตามหาพ่อตั้งแต่ปี 2549แล้ว แต่ไม่ได้รับความร่วมมือหรือช่วยเหลือเลย อาจเป็นเพราะไม่ได้เป็นข่าวเหมือนกับกรณีของน้องเคอิโงะ พอหลังจากเป็นข่าวก็สามารถตามหาพ่อได้อย่างรวดเร็ว ฉันจึงอยากขอความเป็นธรรมให้ทุกฝ่ายหรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือ ตอนแรกฉันก็ไม่ได้อยากมา เพราะก่อนหน้านี้เคยเดินทางมา 3 ครั้งแล้วแต่ไม่ได้รับความร่วมมือ ฉันรู้สึกอาย แต่เพื่อนบ้านแนะนำให้มา เผื่อพบกับสื่อมวลชน อาจจะทำให้ลูกชายฉันจะได้พบกับพ่อชาวญี่ปุ่น ถึงแม้ลูกจะป่วยเป็นโรคออทิสติกแต่ก็รักและห่วงใยอยู่เสมอ ถ้าหากว่าพ่อของน้องเสียชีวิตไปแล้วก็อยากจะเห็นเอกสารยืนยันอย่างเป็นทาง การเพื่อที่จะได้แน่ใจว่าฉันกับลูกไม่ได้ถูกทอดทิ้งอย่างโดดเดี่ยว แต่หากมีชีวิตอยู่ก็ขอแค่ให้โทร.มาคุยกันบ้าง อย่าหายไปเฉย ๆ ลูกชายจะมีกำลังใจในการใช้ชีวิตและเล่าเรียนหนังสือ ตอนนี้น้องโชตะอายุ 15 ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ พูดก็ไม่เป็นคำไม่ชัดเจน"นางสายฝนกล่าว

นางสายฝนยังกล่าวอีก ตนยังรักและเป็นห่วงสามีชาวญี่ปุ่นว่าจะใช้ชีวิตอยู่แบบไหน อยู่สบายดีหรือเปล่า หากทางสถาณทูตยืนมือเข้าช่วยเหลือก็จะเป็นพระคุณอย่างมากและสิ่งที่อยากรู้ ในใจตอนนี้คือสามีชาวญี่ปุ่นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ไม่อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลือกปฏิบัติ อยากให้ช่วยเหลือทุกคน

โผล่อีก"ยามาโตะ"วัย10ขวบที่ร้องสื่อตามหาพ่อญี่ปุ่น

ที่ จ.เชียงใหม่ มีเหตุการณ์ลูกตามหาพ่อญี่ปุ่นเพิ่มเข้ามาอีกรายคือ ด.ช.ยามาโตะ นิอึมือระ หรือน้อง"แต่แต๊" อายุ 10 ปี เด็กนักเรียนชั้นป.4 โรงเรียนเทศบาลวัดพวกช้าง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีนางปิยะฉัตร อาหมัด อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 31/2 ถ.เวียงพิงค์ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ชาวบ้านที่เลี้ยงดูอุปการะเด็กชายรายดังกล่าวเอาไว้ตั้งแต่ยังเด็กเป็นผู้พา ตัวมาร้องเรียนต่อสื่อมวลชน เพื่อให้ช่วยตามหาพ่อชาวญี่ปุ่นที่ชื่อนายมาซาโตะ นิอึมือระ อายุประมาณ 30 ปี ซึ่งได้ทิ้งลูกไปตั้งแต่อายุได้เพียง 2 เดือน

หลังทราบเรื่องเมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้(22 พ.ค.) นางชญาดา กาวีวงศ์ นักสังคมสงเคราะห์ผู้ชำนาญการ ประจำสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จ.เชียงใหม่ พร้อมสื่อมวลชน ได้ไปตรวจสอบที่โรงเรียนเทศบาลวัดพวกช้างเมื่อพบกับด.ช.ยามาโตะและน.ส.เขมิ กา วงศ์ศาโรจน์ ครูฝ่ายข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนวัดพวกช้างซึ่งแจ้งว่าทางครูเป็นผู้แนะนำ ให้ผู้เลี้ยงดูพาเด็กไปร้องเรียนต่อสื่อมวลชน เนื่องจากเกิดความสงสารเพราะเห็นว่า ด.ช.ยามาโตะนั้นเป็นเด็กที่ร่าเริงมีผลการเรียนปานกลาง แต่เกิดจากแม่ที่เป็นชาวไทยใหญ่และพ่อที่เป็นคนญี่ปุ่นและเด็กเกิดมายังเป็น ผู้ไม่มีสัญชาติ

ต่อมานางปิยะฉัตร ในฐานะผู้อุปการะเด็กได้เดินทางมาพบกับเจ้าหน้าที่และได้พาตัว ด.ช.ยามาโตะออกเดินทางไปที่บ้านเพื่อตรวจเยี่ยมสภาพความเป็นอยู่และสอบ ประวัติตรวจดูหลักฐานการเกิดของเด็กรายดังกล่าวอย่างละเอียด โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.เชียงใหม่ได้มอบเงินฉุกเฉินช่วยเหลือให้เป็นจำนวนเงิน 2,000 บาท นอกจากนี้ทางศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่13 จ.เชียงใหม่ยังได้มอบเงินเป็นทุนการศึกษาช่วยเหลือให้อีก 1,500 บาท

นางปิยะฉัตร อาหมัด ผู้อุปการะด.ช.ยามาโตะ เปิดเผยว่า ครอบครัวของตนประกอบอาชีพรับหั่นเนื้อวัวส่งขายให้กับร้านเนื้อกระทะใน จ.เชียงใหม่ มีฐานะปานกลางอาศัยอยู่รวมกัน 8 คน ที่ต้องมาอุปการะเลี้ยงดู ด.ช.ยามาโตะนั้น เนื่องจากเมื่อ 9 ปีกว่าที่ผ่านมา แม่ของเด็กชายยาโมโตะซึ่งเป็นหญิงชาวไทยใหญ่ชื่อ น.ส.รัตนา ขันทอง อายุประมาณ 25 ปี ไม่มีสัญชาติไทยได้มาอาศัยอยู่กินกับนายมาซาโตะ ซึ่งทำงานเป็นกรรมกรชาวญี่ปุ่น โดยทั้งสองได้เช่าบ้านอยู่หลังใกล้กันกับมารดาของตน

ต่อมาแม่ของ ด.ช.ยาโมโตะได้เสียชีวิตลงด้วยโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี ขณะที่เด็กชายเพิ่งเกิดมาได้ 2 เดือน โดยบิดาของ ด.ช.ยามาโตะ ยังได้จัดงานศพให้และเลี้ยงดูบุตรชายจนอายุได้ 2 ขวบครึ่ ตอนแรกจะเอา ด.ช.ยามาโตะกลับไปที่ญี่ปุ่นด้วย

นางปิยะฉัตร กล่าวว่า แต่ทางกงสุลญี่ปุ่นแจ้งว่าทางบิดาไม่มีการเซ็นรับรองบุตรทำให้เด็กไม่มี สัญชาติจึงไม่สามารถนำไปญี่ปุ่นได้ ทางบิดาต้องไปแจ้งศาลเพื่อทำเรื่องขอสัญชาติญี่ปุ่นก่อน จากนั้นนายมาซาโตะจึงได้กลับประเทศญี่ปุ่นไป โดยขณะนั้นมีอาการป่วยเป็นโรคประสาทด้วยเนื่องจากเสียใจที่ภรรยาเสียชีวิต โดยก่อนไปได้แจ้งกับตนว่าขอฝากลูกชายไว้ 2 เดือนเพื่อไปทำเรื่องขอสัญชาติจากนั้นจะกลับมารับไปอยู่ด้วย แต่หลังจากนั้นก็ขาดการติดต่อไปเลย มีเพียงจดหมายฉบับสุดท้ายที่เขียนมาถึงลูกขณะที่ยังเป็นเด็กเล็กมาก เมื่อทางครูแนะนำให้ไปร้องเรียนต่อสื่อจึงได้ดำเนินการและทาง พม.ก็เดินทางมาช่วยเหลือดังกล่าว

ด.ช.ยามาโตะ กล่าวว่า ตนทราบดีว่ามีพ่อเป็นคนญี่ปุ่น แต่จำหน้าไม่ได้เคยเห็นแต่ในภาพ ในตอนนี้หากพบพ่อก็ดีใจแต่ไม่ต้องการที่จะไปอยู่กับพ่อญี่ปุ่นเพียงแต่ได้ อยู่กับครอบครัวและสัญชาติไทยก็พอใจแล้ว

ด้านนางชญาดา กล่าวว่า การให้เงินฉุกเฉินและทุนการศึกษาสงเคราะห์ช่วยเหลือนั้นเป็นเพียงมาตรการ เบื้องต้นที่มอบให้ควบคู่ไปกับการส่งนักสังคมสงเคราะห์และนักจิตวิทยาเข้ามา ดูแลเด็กอย่างเร่งด่วน เพราะไม่อยากให้อยู่ในภาวะซึมเศร้า แต่กรณีของด.ช.ยามาโตะนี้จะเแตกต่างไปจากกรณีของน.ส.นารูมิ ฮามาดะ และด.ช.เคอิโงะ ซาโต เนื่องจากเป็นเด็กไม่มีสัญชาติทางพม.จะได้ประสานกับสถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นจ. เชียงใหม่ โดยจะมีการทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเสนอเรื่องไปให้ช่วยติดตามหา พ่อ

หลังจากนั้นหากเด็กได้พบพ่อแล้วจึงจะเป็นขั้นตอนต่อไปว่าเด็กจะเลือกถือ สัญชาติใดระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ซึ่งในเรื่องของการยื่นขอสัญชาตินั้นจะต้องเสนอเรื่องให้นักกฎหมายของหน่วย งาน พม.เข้ามาจัดการดูแลช่วยเหลือ แต่เบื้องต้นต้องหาตัวพ่อเด็กให้พบก่อน เพื่อที่จะเรียกกลับมา แต่หากไม่พบก็จะได้พิจารณากันต่อว่าจะตามกฎหมายแล้วใครจะเป็นผู้เข้ามาทำ หน้าที่เป็นผู้ปกครองในการยื่นเรื่องร้องขอสัญชาติไทยต่อไป

นางชญาดา กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีของ น.ส.นารูมิที่ทาง พม.ได้เข้าไปตรวจเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือก่อนหน้านี้นั้น ล่าสุดยังทราบว่าทางสถานกงสุลญี่ปุ่นยังไม่ได้แจ้งผลความคืบหน้าในการตามหา ตัวพ่อชาวญี่ปุ่นตามข้อมูลที่ได้ยื่นเรื่องไว้ ส่วนทางพม.นั้นในช่วง 12.00น. วันนี้(22 พ.ค.)จะมีการนำเงินสงเคราะห์ฉุกเฉินไปมอบให้เป็นจำนวนเงิน 2,000 บาทเพื่อช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางศึกษาเล่าเรียน และติดตามความคืบหน้าในการประสานตามหาพ่อต่อไป

"สมมาตร ทรอย"แนะรัฐตั้งหน่วยงานดูแล

นาง สมมาตร ทรอย ผู้ริเริ่มจุดประกายการต่อต้านโรคเอดส์ในประเทศไทย และศึกษาวิจัยทางด้านการทำแท้งในเชิงลึก กล่าวถึงกรณีที่เด็ก ๆได้ออกมาเรียกร้องสื่อ และหน่วยงานรัฐ ให้ช่วยติดตามหาพ่อชาวญี่ปุ่นเป็นจำนวนหลายราย อย่างเช่นกรณีของ ด.ช.เคอิโงะ ซาโต น.ส.นารูมิ ฮามาดะ และด.ช.ยามาโตะ นิอึมือระนั้นว่า เรื่องนี้ตนมองว่า เมื่อกระแสออกไปเช่นนี้ อาจมีเด็กลูกครึ่งชาติต่าง ๆที่ถูกทิ้งให้เกิด แล้วพ่อหนีหายกลับต่างประเทศไปออกมาร้องสื่ออีกเป็นจำนวนมาก และหน่วยงานอย่างพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ คงติดตามไปช่วยเหลือในรูปของการหาที่อยู่อาศัยและการมอบเงินคราวละ 1,500-2,000 บาทไม่ไหว

ในการแก้ปัญหาในลักษณะดังกล่าว มองว่า ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาสังคมในระยะยาว ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นปัญหาที่ซับซ้อน การพาเด็กไปตามหาจนพบพ่อของเขา ซึ่งอยู่ต่างแดนนั้น ไม่มีหลักประกันว่าพ่อจะยอมรับในตัวเด็กทุกรายไปหรือไม่ แต่ถ้าหากเพิกเฉยปล่อยไว้ เด็กๆที่เกิดออกมาในลักษณะดังกล่าวอาจเติบโตไปเป็นเด็กทำงานในบาร์ หรือเข้าสู่วงจรของการค้ามนุษย์ ซึ่งจะเป็นปัญหาสังคมในระยะยาวได้ ดังนั้น จึงต้องอาศัยนักจิตวิทยาบำบัดให้เข้าไปดูแลร่วมด้วยอย่างจริงจังในทุกกรณี

นางสมมาตร กล่าวว่า ปัญหาเด็กเกิดมาไม่มีพ่อ หรือไข่ทิ้งไว้ในประเทศไทย ยังพบมากในหลายพื้นที่ ซึ่งยังไม่ปรากฏเป็นข่าวออกมา อย่างเช่นแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศที่หลายหมู่บ้านมีหญิงไทยที่ เป็นเมียจีไอ. แล้วท้องถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก

ดังนั้น ตนจึงอยากจะเสนอแนะให้รัฐบาล จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมา สำหรับดูแลเรื่องดังกล่าว เพื่อช่วยจัดหาผู้ปกครองซึ่งดูแลตามกฎหมาย เพื่อช่วยพิทักษ์ดูแลสิทธิเด็กทั้งเรื่องการเลี้ยงดูที่เหมาะสม สิทธิที่เด็กควรจะได้รับ เช่นเ)นลูกที่เกิดจากจีไอตามหลักแล้วเขามีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจาก รัฐบาลอเมริกันหลายอย่างซึ่งคนไทยยังขาดความรู้ รวมไปถึงการจัดการกับเงินบริจาคที่มีผู้บริจาคให้มา เนื่องจากทางพม.นั้นมีงานรับผิดชอบอยู่หลายด้านและล้นมืออาจทำให้การดูแลทำ งานไม่ทั่วถึง อีกอยากในส่วนขององค์กรส่วนท้องถิ่นควรที่จะออกมาทำการสำรวจขึ้นทะเบียน จำนวนเด็กไทยที่เกิดจากการถูกไข่ทิ้งไว้อย่างเป็นระบบในพื้นที่ของตน เพื่อที่จะเป็นฐานข้อมูลในการประสานการทำงานเข้าไปร่วมดำเนินการดูแลช่วย เหลือกันอย่างจริงจังเร่งด่วน

 

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ เคอิโงะ"ดีใจได้คุยกับพ่อชาวญี่ปุ่นแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook