คุมเข้ม "ตู้น้ำหยอดเหรียญ" หลังตรวจพบสารแขวนลอย-เชื้ออีโคไล

คุมเข้ม "ตู้น้ำหยอดเหรียญ" หลังตรวจพบสารแขวนลอย-เชื้ออีโคไล

คุมเข้ม "ตู้น้ำหยอดเหรียญ" หลังตรวจพบสารแขวนลอย-เชื้ออีโคไล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาธารณสุขบุรีรัมย์ จับมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 200 แห่ง คุมเข้มตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ หลังสุ่มตรวจพบสารแขวนลอย เชื้ออีโคไลปนเปื้อน และมีกรดด่างเกินค่ามาตรฐาน ทำให้เสี่ยงอันตรายต่อผู้บริโภค ขณะ อปท.ออกเทศบัญญัติควบคุมดูแลแล้ว 11 แห่ง หากพบผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานมีโทษตามกฎหมาย

วันที่ 25 ม.ค. 62 สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ติวเข้มให้ความรู้บุคลากรในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกว่า 200 แห่งทั้งจังหวัด ที่ห้องประชุมลี้ลอย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายและมาตรการในการควบคุมดูแลตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน หลังมีการออกสุ่มตรวจตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2556 เฉลี่ยปีละครั้ง แล้วพบสารละลายแขวนลอย และเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ที่ส่วนใหญ่จะพบในอุจจาระของมนุษย์ปนเปื้อนในน้ำตู้หยอดเหรียญ ทั้งยังพบค่าความเป็นกรด-ด่างในน้ำตู้หยอดเหรียญจำนวนหลายตู้ ซึ่งเสี่ยงเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาทิ โรคท้องร่วง หรืออาจถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดได้

ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจพบว่าจังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ประกอบธุรกิจติดตั้งตู้น้ำหยอดเหรียญให้บริการตามจุดต่างๆ ทั้งจังหวัดจำนวน 572 ตู้ ซึ่งนอกจากทางสาธารณสุขจะมีการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญเป็นประจำทุกปีแล้ว ยังได้มีการผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกเทศบัญญัติ เพื่อเป็นอีกกลไกหนึ่งในการควบคุมดูแลน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติดังกล่าวด้วย ซึ่งขณะนี้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ออกเทศบัญญัติฯ แล้ว 11 แห่ง เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะสามารถควบคุมกำกับให้ผู้ประกอบธุรกิจน้ำตู้หยอดเหรียญ ดำเนินการให้มีคุณภาพมาตรฐาน หากไม่ปฏิบัติตามหรือมีผู้ร้องเรียนก็ต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย

นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ปัจจุบันประชาชนนิยมบริโภคน้ำจากตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น เพราะความสะดวกสบาย ดังนั้นเพื่อดูแลความปลอดภัยของผู้บริโภค ทางสาธารณสุขจึงได้ต้องมีการคุมเข้มตู้น้ำหยอดเหรียญ ทั้งการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำตรวจหาสารปนเปื้อนอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการตรวจพบสารแขวนลอย และสารอีโคไลปนเปื้อนในน้ำตู้หยอดเหรียญหลายตู้ ซึ่งก็ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้งนี้ยังได้ผลักดันให้ อปท.ทั้งจังหวัด ออกเทศบัญญัติเพื่อควบคุมกำกับตู้น้ำหยอดเหรียญที่ไม่ได้มาตรฐานในอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook