บ้านทับเขือแห่งแรกนำร่องโฉนดที่ดินชุมชน

บ้านทับเขือแห่งแรกนำร่องโฉนดที่ดินชุมชน

บ้านทับเขือแห่งแรกนำร่องโฉนดที่ดินชุมชน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รัฐบาลนำร่องโฉนดชุมชนแห่งแรกบ้านทับเขือ ให้สิทธิ์ชาวบ้านจัดสรร-กำหนดกติกากันเอง เผยครม.สั่งชะลอประกาศเขตอุทยานฯเพิ่ม สั่งทส.สำรวจใหม่หลังชาวบ้านร้องไม่กันแนวเขต "ถาวร"ทวงที่สปก. 20 ล้านไร่จัดสรรคนจน นายกฯวอนผู้นำท้องถิ่นหนุนโครงการกระตุ้นศก.

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดิน ทีมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการฯด้านต่างๆเกี่ยวกับปัญหาที่ดินได้ประชุมมีความคืบหน้าหลายเรื่อง โดยในเรื่องการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งกระทรวงทรัพยาธรรมชาติและส่งแวดล้อม(ทส.)จะมีการประกาศเพิ่มอีก 38 แห่ง ได้ขอให้ชะลอไปก่อนเพราะยังมีปัญหาร้องเรียนว่าทับที่ดินทำกินของชาวบ้าน ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาแล้ว ซึ่งครม.ได้ขอให้ถอนเรื่องออกไปก่อน เพื่อชะลอเรื่องเอาไว้ และขอให้ทส.กลับไปพิจารณาตรวจสอบดูว่า ยังมีปัญหาเรื่องทับซ้อนที่ดินทำกินของชาวบ้านอยู่หรือไม่ ส่วนอีก 30 กว่าแห่งที่เหลือก็ให้สั่งการให้ชะลอไปก่อนด้วยเช่นเดียวกัน

นายสาทิตย์ กล่าวว่า ส่วนปัญหาเกี่ยวกับกรณีที่ชาวบ้านถูกภาครัฐฟ้องร้องเกี่ยวกับเรื่องที่ดินนั้น ได้การตั้งคณะทำงานขึ้นมาโดยมีผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเข้าร่วม เพราะขณะนี้มีชาวบ้านที่ถูกฟ้องคดีแพ่งจำนวนมากนอกเหนือจากคดีอาญาแล้ว โดยในส่วนที่เกี่ยวกับคดีแพ่งนั้น เท่าที่ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังกระทรวงการคลัง ว่าคดีฟ้องแพ่งยังติดใจอยู่หรือไม่ เพราะเงินที่ได้ต้องส่งกระทรวงการคลัง ซึ่งถ้ากระทรวงการคลังไม่ติดใจ ก็จะมีมาตรการซึ่งจะไปบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านได้ นอกจากนี้ยังได้มีอนุกรรมการชุดที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับปัญหาที่ดินสหกรณ์ และอนุกรรมการที่ว่าด้วยเรื่องของที่ราชพัสดุ รวมถึงอนุกรรมการแก้ปัญหาเรื่องของที่ดินที่อยู่ป่าที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ

"เรื่องหลักๆที่น่าที่จะเดินหน้าก่อน คือโฉนดชุมชนเพราะมีความพร้อมสามารถที่จะทำได้ก่อน ปัญหาเรื่องการโต้แย้ง เรื่องของการถือสิทธิ์ในที่ดินมันค่อนข้างที่จะลงตัว ความจริงแล้วที่ดินที่ชาวบ้านเข้าไปอยู่แล้วก็มีปัญหากับหน่วยราชการมีหลายประเภทมาก แต่เราจะทำโครงการร่องมาเป็นที่แรกที่บ้านทับเขือ จ.ตรังเพราะตรงนั้นองค์ของชาวบ้านค่อนข้างเข้มแข็งสูง เท่าที่ไปตรวจสอบสภาพพื้นที่ดู ก็คือว่ามีการวมตัวกันมาระยะหนึ่ง แล้วก็มีการวางกติกาชุมชนกันค่อนข้างที่ดี สามารถที่สืบสาวที่มาที่ไป และกรมอุทยานฯเองเมื่อมีการพิสูจน์แผนที่ทางอากาศแล้วพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีการทำกินก่อนมีการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติจริง โดยมีการกันพื้นที่เอาไว้ประมาณ 3000 กว่าไร่ ทีนี่ผมเอาทางสำนักนายกรัฐมนตรีไปตรวจราชการเมื่อช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา" นายสาทิตย์ กล่าว

นายสาทิตย์ กล่าวว่าคำว่า โฉนดชุมชน ในความคิดเห็นของชาวบ้านตรงกับแนวคิดของรัฐบาลคือวคำว่าโฉนดชุมชนก็คือเป็นการับรองสิทธิ์ในที่ดินทำกินแปลงใหญ่ เพื่อรับรองว่าที่ดินผืนนี้ ชาวบ้านสามารถเอาไปทำกินได้โดยไม่ทับซ้อนกับเขตที่เป็นเขตป่าหรือเขตอุทยาน เพื่อป้องกันการเข้ามาดำเนินการของทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ และสิทธิ์ในโฉนดชุมชนนี้จะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมขององค์กรชุมชน จะต้องไม่มีการจำหน่ายจ่ายโอนในกรณีใดทั้งสิ้น ใครที่เข้าไปทำกินในโฉนดชุมชนนี้ ก็จะมีคณะกรรมการองค์กรชุมชนเป็นผู้จัดสรรที่ดินโดยมีกฎกติกาที่วางเอาไว้ ในกรณีที่ใครคนใดคนหนึ่งสละที่ทำกิน เขาก็จะกลับไปเป็นของส่วนกลางเพื่อรอผู้ที่มาทำกินคนต่อไป

นายสาทิตย์ กล่าวว่า ได้ปรึกษากับนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับกฎหมายที่นำมาใช้ในครั้งนี้ ซึ่งหากออกกฏหมายใหม่นานเป็นปีก็ไม่จบ ดังนั้นอาจจะใช้ตามหลักกฎหมายเดิมที่มีอยู่ ตอนนี้ก็ได้ให้เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปดูอยู่ ว่าน่าจะออกได้ด้วยวิธีการใดบ้าง แต่ปัญหาที่ต้องเผชิญในอนาคตนี่น่าจะมี 3 ข้อ 1. หลักเกณฑ์การออกโฉนดชุมชนที่เป็นหลักความยั่งยืนในทางข้อกฎหมาย จะออกยังไงให้มีความยั่งยืนปลอดภัย 2. ที่ดินที่มีข้อโต้แย้งกับทางเจ้าหน้าที่และหน่วยราชการทั้งหลาย จะมีข้อยุติอย่างไรซึ่งอันนี้คงต้องอาศัยคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีนายกฯเป็นประธานเป็นผู้พิจารณาซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายต่างๆ 3. ถ้าใช้หลักโฉลดชุมชนนี้ องค์กรของชาวบ้านจะต้องเข้มแข็งมาเพียงพอ และจะต้องมีความยั่งยืนในการดำเนินการ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะเกิดสภาพของการไม่ยอมรับกติกาแล้วก็บุกป่า และนำมาเป็นกรรมสืทธิ์ส่วนตัว

นายถาวร เสนเนียม รัฐ มนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกำกับดูแลกรมที่ดิน กล่าวว่า ขณะนี้มีที่ดินสาธารณะที่ทับซ้อนกับที่ดินทำกินของชาวบ้านนับแสนไร่ เฉพาะที่จ.สงขลาเอง ซึ่งมีอยู่ 7-8 พันไร่ได้สั่งการให้ออกเอกสารอนุญาตให้ชาวบ้านที่อยู่มาก่อนได้ทำกิน

นายกฯวอนผู้นำท้องถิ่นหนุนโครงการกระตุ้นศก.

ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 15.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปิดโครงการสัมมนาหัวข้อ "การเสริมสร้างความเข้าใจในทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แก่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ปกครองท้องที่" รุ่นที่ 4 ประกอบด้วยผู้เข้าร่วมสัมมนาจาก จ.เชียงใหม่ นครพนม และสงขลา ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับรัฐสภาและสถาบันพระปกเกล้า จัดขึ้น

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนต้องการให้การสัมมนาครั้งนี้เป็นเวทีที่ผู้นำชุมชนสามารถสะท้อนปัญหาได้ พูดคุยแลกเปลี่ยนกับสมาชิกรัฐสภา และฝ่ายบริหาร เพื่อให้มีความเข้าใจอันดีต่อกัน ที่สำคัญเพื่อสร้างความรู้รักสามัคคี

นายกฯกล่าวว่า สิ่งที่ผู้นำชุมชนแสดงความเป็นห่วงในระหว่างการสัมมนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าตอบแทน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เรียนฟรี 15 ปี ค่อนข้างที่จะล่าช้านั้น ขอชี้แจงว่าเรื่องต่างๆ นี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเข้ามาสะสาง และขอยืนยันว่าค่าตอบแทนที่จะได้เพิ่มขึ้นเท่าตัวนั้นจะเริ่มได้ในปีงบประมาณปี 2553 และปีงบประมาณ 2554 ส่วนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขณะนี้รัฐได้โอนเงินลงไปในท้องถิ่นครบถ้วนแล้ว ซึ่งพื้นที่ใดยังไม่ได้รับกรุณาแจ้งได้ที่โทร. 1579

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจประเทศที่ได้รับผลกระทบจากระบบเศรษฐกิจโลก ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องตัดลดงบประมาณสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นจึงอยากขอความร่วมมือผู้นำชุมชนทั้งหลายร่วมมือช่วยดูโครงการต่างๆ ของรัฐบาลที่จะกระจายไปยังชุมชนได้ถึงมือประชาชนเร็วขึ้น และเป็นไปด้วยความโปร่งใส กรณีที่มีบางพื้นที่ระบุว่ายังไม่จ่ายในตอนนี้ แต่จะไปจ่ายในช่วงใกล้เลือกตั้ง ตนอยากขอร้องอย่างทำอย่างนั้น ขณะเดียวกันขอให้ทุกฝ่ายช่วยกันลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นด้วย

นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ส่วนประเด็นการเมืองที่มีการกล่าวกันมากในการสัมมนา และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายลดทิษฐินั้น ตนขอยืนยันว่าตลอด 5 เดือนที่ทำหน้าที่มาไม่เคยทะเลาะกับใคร และพยายามรักษาบรรยากาศของบ้านเมือง อีกทั้งประเด็นที่มีผู้ระบุในการสัมมนาว่ามีผู้แทนนำประชาชนมาตายในการชุมนุมนั้น ขอยืนยันไม่มีประชาชนมาตายแทนแต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงท้ายของการกล่าวปิดสัมมนา นายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวถึงผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นรายจังหวัด โดยกล่าวว่า สำหรับ จ.เชียงใหม่ ถือว่าได้รับผลกระทบทางด้านการท่องเที่ยวมากที่สุด ซึ่งก็เป็นผลมาจากปัญหาของการชุมนุม ซึ่งตนอยากเข้าไปสะสาง และกระตุ้นการท่องเที่ยว และทุกคนต้องช่วยลดอารมณ์ความรู้สึก แล้ว จ.เชียงใหม่ จะกลับมาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีในสายตาของนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ ส่วน จ.นครพนม มีโครงการสำคัญหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องแหล่งน้ำ หากมีโอกาสตนจะเดินทางไปพบปะกับประชาชนในพื้นที่ และ จ.สงขลา ขณะนี้รัฐบาลมีแผนพัฒนา 5 จังหวัดภาคใต้ โดยในสัปดาห์หน้า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เตรียมลงพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้อีกครั้ง เพื่อนำแผนโครงการไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook