วิเคราะห์ซีพี กับ รถไฟความเร็วสูง อธิบายชัดๆว่า ทำไมต้องมีเงื่อนไข!!!

วิเคราะห์ซีพี กับ รถไฟความเร็วสูง อธิบายชัดๆว่า ทำไมต้องมีเงื่อนไข!!!

วิเคราะห์ซีพี กับ รถไฟความเร็วสูง อธิบายชัดๆว่า ทำไมต้องมีเงื่อนไข!!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากการที่มีสื่อหลายฉบับหยิบยกการเจรจาการประมูลรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบินระหว่างซีพี กับ การรถไฟ ออกมาวิเคราะห์ในหลายแง่มุม ในขณะที่ซีพีเองก็เหมือนอยู่ในภาวะน้ำท่วมปาก ยังคงไม่กล้าออกมาอธิบายวิธีคิด หรือให้รายละเอียดในการเจรจาสัญญา ร่วมกับการรถไฟ เพราะถือว่าผิด TOR ที่ระบุว่าห้ามนำเงื่อนไข

และการเจรจาออกมาเปิดเผยต่อสาธารณะ ในขณะที่ข่าวยิ่งบอกว่าลับ ก็ยิ่งรั่ว ออกมาผ่านพรายกระซิบ ทำให้เราหาข่าวหลุด อ่านได้ทุกวัน ทำให้หลายคนบ้างก็สับสนและบ้างก็ตีความไปต่างๆนานา เช่น เจรจาส่อแววล่ม ทำไมถึงคุยเงื่อนไขไม่จบ เป็นต้น

ดังนั้น เรามาลองรวบรวมการวิเคราะห์ จากผู้รู้กันว่า การเจรจาสัญญา โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีความน่าสนใจอย่างไร และทำไมการเจรจาต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ เพราะจะมีผลไปตลอดโครงการ 50 ปี เลยทีเดียว

1. ระยะเวลาการเจรจา: ซึ่งมาถึงวันนี้เจรจาไปแล้ว โดยวันที่ 1 กพ.เป็นการเจรจาครั้งที่ 2 ซึ่งความกดดันและความคาดหวังไปอยู่ที่ซีพีว่า ต้องตกลงเงื่อนไขทุกอย่างให้จบในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งที่กรอบทีโออาร์ ให้เวลาเจรจาถึง 6 เดือน แต่ดูเหมือนทุกคนจะเร่งวัน เร่งคืน ให้จบดิวให้ได้ในครึ่งเดือน ในขณะที่ปกติโครงการขนาดแสนล้าน เช่นรถไฟไทยจีนใช้เวลาในการเจรจาเกือบสองปี คุยกันมากกว่า 20 รอบ

2. เป็นการเจรจาที่หลายเงื่อนไข ถูกนำมาเปิดเผยนอกห้องเจรจา: สิ่งที่กระทบทันทีคือ ความเชื่อมั่นของคนปล่อยเงินกู้กับโครงการระดับชาติแบบนี้ แน่นอนว่าอัตราดอกเบี้ยขึ้นกับอัตราความเสี่ยง แต่เงื่อนไขการเจรจาที่นำออกมาทุกวันนี้ ทำให้ตัวแปรการเจรจาเพิ่มขึ้นมาก นอกจากนี้ยังทำให้บีทีเอสเองก็ลำบากไปด้วย เพราะเมื่อเงื่อนไขซีพีถูกนำมาเปิดเผย บีทีเอสเองก็อาจถูกกล่าวหาว่าทราบข้อมูลคู่แข่ง ทำให้ไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน

3. โครงการนี้เป็น ppp ไม่ใช่สัมปทาน ดังนั้น การลงทุนแบบ PPP เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยโดยทั้งสองฝ่ายจะมีการจัดสรรผลประโยชน์และความเสี่ยงร่วมกัน แต่ดูเหมือนวลีที่หลายคนกดดันโครงการนี้ว่า “กลัวรัฐเสียค่าโง่”ทำให้รัฐพยายามผลักทุกความเสี่ยงให้เอกชน ทำให้เงื่อนไขหลายอย่าง ทำให้นักลงทุนต้องคิดหนักว่า รับไปก่อนแล้วโครงการเจ๊ง หรือ จะเจรจาให้รู้เรื่องกันก่อนเริ่มโครงการ

4. หลายคนออกมาตั้งคำถามว่า บีทีเอส ยังมีลุ้นหรือไม่ จริงๆอธิบายง่ายๆว่า กรอบเงินสนับสนุนจากรัฐบาลคือไม่เกิน 1.2 แสนล้าน ซึ่งบีทีเอสเสนอมาเกินกรอบที่ครม อนุมัติแต่แรก ถือว่าผิด ทีโออาร์ไปตั้งแต่แรก ตกรอบไปทันที …ส่วนซีพี เสนอเงินอยู่ในกรอบที่ได้รับอนุมัติ แต่ดันมีเงื่อนไข ดังนั้นหากเงื่อนไขที่ซีพีขอ รัฐบาลรับไม่ได้ เท่ากับว่า ทั้งสองรายเสนอไม่เข้ากรอบทีโออาร์ทั้งคู่ เท่ากับตกรอบทั้งคู่ ต้องประมูลใหม่ เพราะเงื่อนไขทีโออาร์เดิม ไม่มีใครทำได้จริง!!!

5. ทำไมซีพีต้องเสนอเงื่อนไข ประกอบการเสนอราคา นั่นเป็นเพราะกรอบเงินที่ครมให้มานั้น หากจะทำได้จริง เงินกู้จากธนาคาร ต้องมีดอกเบี้ยไม่สูงมาก แต่โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เสี่ยงต่อเรื่องจำนวนผู้โดยสารจะน้อย โดยเฉพาะ 10 ปีแรก ทำให้ธนาคารจะให้กู้ในดอกเบี้ยสูงมาก เพราะเสี่ยงมาก

และรัฐบาลมาลงเงินในปีที่ 5 ซึ่งธนาคารผู้ให้กู้จะมองว่า รัฐบาลไทย มีอายุรัฐบาลละ 4 ปี หากสัญญาว่ารัฐจะร่วมลงเงินตั้งแต่ปีที่ 5 นั่นหมายถึง ต้องเสี่ยงกับการเลือกตั้งถึง 2 ครั้ง ไม่รู้ว่าตอนนั้นใครจะเป็นรัฐบาล และจะจ่ายเงินจริงหรือไม่ อันนี้ธนาคารต้องคิด

6. รัฐบาลประกันกำไร ที่6% คืออะไร หลายคนสับสนกับคำนี้ จริงๆต้องอธิบายว่าคือ IRR (interrest rate of return) หรือ เปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนโครงการ หากรัฐบาลไม่รับประกันตรงนี้ ธนาคารจะไม่มองว่าเป็นรัฐร่วมทุนกับเอกชน แต่มองว่าเอกชนเสี่ยงตนเดียว รัฐไม่ต้องร่วมรับผิดชอบ

ดังนั้น หากประเมินโครงการนี้ว่าจะกำไร 6% ทั้งรัฐ และเอกชน จะต้องออกมาประกันกำไร กับธนาคาร เพื่อร่วมกันรับผิดชอบ มิเช่นนั้น ธนาคารจะมองว่า เอกชนรับความเสี่ยงคนเดียว หากรัฐยกเลิกโครงการในปีต่อๆมา ก็จะกลายเป็นโฮปเวลล์ ตัวอย่างมีให้เห็น เอกชนจึงถูกธนาคารบีบให้รัฐร่วมรับความเสี่ยงกับเปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนโครงการ

7. เอกชนไทยทุกรายที่เข้ามาร่วมประมูลล้วนไม่มีกำลังพอที่จะทำคนเดียว ทำให้ต้องดึงพันธมิตรต่างชาติระดับโลกเข้ามาร่วมลงทุน ดังนั้น ผู้ร่วมลงทุนต่างประเทศ ต่างก็ต้องมั่นใจในโครงการ และต้องการลดความเสี่ยงด้านต่างๆ ไม่ใช่เพียงแค่การตัดสินใจของรายใดรายหนึ่งเท่านั้น

ทั้งหมดนี้เป็นคำอธิบายที่ผู้ร่วมประมูลคงออกมาพูดไม่ได้ แต่นักวิเคราะห์หลายสำนักออกมาบอกเป็นเสียงเดียวว่า เจรจาไม่ง่าย ต้องให้เวลา เพราะ ถ้าเป็นเงินเราแสนล้าน เอาไปลงทุนร่วมกับเพื่อน เราจะคุยกับเพื่อนเดือนเดียว แล้วลงเงินแสนล้านหรือไม่

ดังนั้น นักธุรกิจ เค้ามักเลือกที่จะรอบคอบ คุยกันให้ละเอียดจะได้ไม่ทะเลาะกันที่หลัง ดังนั้น ผู้ชม นักวิจารณ์ข้างสนามอย่างเราๆ คงต้องใจเย็นๆ และมาลุ้นกันว่า จะจบลงตัว หรือ สุดท้ายต้องประมูลใหม่

ยังไงก็เอาใจช่วยทุกฝ่ายว่าจะหาข้อสรุปที่ทำได้จริงในระยะยาว ไม่ใช่แค่ระยะสั้นๆ เพราะโครงการนี้วัดความสำเร็จและความล้มเหลวยาวกันไปถึง 50 ปีเลยทีเดียว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook