ยกนิ้วให้! หนูน้อย ป.3 ประดิษฐ์เครื่องเปลี่ยนฝุ่น PM 2.5 เป็นออกซิเจนในบ้าน

ยกนิ้วให้! หนูน้อย ป.3 ประดิษฐ์เครื่องเปลี่ยนฝุ่น PM 2.5 เป็นออกซิเจนในบ้าน

ยกนิ้วให้! หนูน้อย ป.3 ประดิษฐ์เครื่องเปลี่ยนฝุ่น PM 2.5 เป็นออกซิเจนในบ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ให้คะแนนเต็มไปเลยลูก เด็กหญิงวัย 8 ขวบ ทำโครงการวิทยาศาสตร์ส่งครูได้สุดทึ่ง ผลิตเครื่องฟอกอากาศ เปลี่ยนฝุ่น PM 2.5 เป็นออกซิเจนภายในบ้าน พ่อวิศวกรยังต้องประหลาดใจ

น้องยินดี เด็กหญิงวัย 8 ขวบ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวารีเชียงใหม่ ได้สาธิตวิธีการเลี้ยงมอสพันธุ์คริสต์มาสและการประยุกต์ทำเป็น "เครื่องไบโอฟิลเตอร์" สำหรับดูดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ใช้ดูดซับฝุ่นควันและฟอกอากาศ พร้อมกับอธิบายการทำงานของไบโอฟิลเตอร์ เป็นภาษาอังกฤษและแปลเป็นภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว

น้องยินดี ได้อธิบายว่า หากเครื่องดูดควันบุหรี่ หรือ ฝุ่นขนาดเล็กขนาด 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เข้าไป มอสจะเป็นตัวกรองและคอยดูดฝุ่นเอาฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าไป ก่อนจะคายออกซิเจนออกมาแทน ลักษณะการทำงานเหมือนกับเครื่องกรองอากาศ หากนำไปไว้ในห้องนอนก็จะทำหน้าที่กรองฝุ่นให้คุณภาพอากาศดีขึ้น

สำหรับโครงงานนี้ น้องยินดีได้นำวิธีการเลี้ยงมอสส่งให้กับคุณครูในการวิชาวิทยาศาสตร์ด้วย ทำให้ได้คะแนนเต็มและน้องยินดียังได้ค้นคว้าหาความรู้ จุดประกายความคิด โดยในการเลี้ยงมอสพันธุ์คริสต์มาสนี้น้องยินดีค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งทั้งหมดข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ ก่อนจะนำมาทดลองเลี้ยงเองจนมีความเชี่ยวชาญและประยุกต์มาเป็นเครื่องไบโอฟิลเตอร์ที่ใช้การได้ดีอย่างที่เห็น

ขณะที่ นายวันปิติ พ่อของน้องยินดี ซึ่งเป็นวิศวกร เห็นแนวคิดของลูกสาวเป็นประโยชน์และสามารถใช้ได้จริง จึงให้คำแนะนำและช่วยกันทำกล่องฟิลเตอร์ หรือ เครื่องไบโอฟิลเตอร์ กรองฝุ่นขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ภายในบ้าน ให้กับน้องยินดีที่เป็นโรคภูมิแพ้ด้วย

นายวันปิติ ยังบอกด้วยว่า ก่อนหน้านี้ได้พาน้องยินดีไปเที่ยวชมสวนมอส เมื่อกลับมาน้องยินดีจึงมีแรงบันดาลใจในการเลี้ยงมอส จึงนำแนวคิดของลูกสาวมาทำเครื่องดูดฝุ่นละอองที่บ้าน โดยนำมอสมาทำเป็นแผ่นกรองฟิลเตอร์หลายชั้น นำไปใส่ในตู้กระจกและติดตั้งที่ดูดอากาศ

จากนั้นทดลองจุดธูปให้ควันธูปลอยเข้าไปในตู้กระจกทิ้งไว้และเปิดใช้เครื่อง ทำการวัดค่า PM 2.5 ซึ่งในตอนแรกค่าจะขึ้นสูงถึงกว่า 600 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากนั้นใช้เครื่องวัดเป็นระยะ พบว่า มอสจะทำหน้าที่ดูดกินฝุ่นละเอียดขนาดเล็ก ภายใน 15 นาที ค่า PM 2.5 ลดค่าลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

หลังจากนี้จะนำแนวคิดของน้องยินดีไปจดสิทธิบัตรและทำวิจัยกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ในการพัฒนาการดูดกินฝุ่นขนาดเล็กของมอส เพื่อเป็นการต่อยอดต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook