"เสือดำ" เคนยายังมีอยู่จริง กล้องสามารถจับภาพได้ในรอบ 110 ปี

"เสือดำ" เคนยายังมีอยู่จริง กล้องสามารถจับภาพได้ในรอบ 110 ปี

"เสือดำ" เคนยายังมีอยู่จริง กล้องสามารถจับภาพได้ในรอบ 110 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังมีเสียงบอกเล่ากล่าวขานสะพัดไปทั่วทั้งเคนยาว่ามีผู้พบเห็น “เสือดำ” ตามธรรมชาติ ที่ร้อยวันพันปีแทบไม่เคยมาปรากฏตัวให้เห็น ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ออกมายืนยันชัดเจนแล้วว่ามีเสือดำตัวที่ว่านี้จริงๆ พร้อมเปิดเผยชุดภาพถ่ายหายากจากกล้องดักถ่ายสัตว์ป่า

ภาพถ่ายของเสือดำที่สวยสง่าและทรงคุณค่าอย่างมากเหล่านี้ ถูกถ่ายโดยนักวิจัยหลายคนจากสวนสัตว์ซานดิเอโก ที่ได้ทำการศึกษาเสือดาวในเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าลอยซาบา (Loisaba) รวมถึงช่างภาพอิสระที่ทำงานอยู่ในภูมิภาคนี้ในช่วงเวลาเดียวกัน

เสือดาวสีดำหรือบางครั้งถูกเรียกกว้างๆ ว่า “เสือดำ” หมายถึงเสือที่มีภาวะเมลานิสซึม (Melanism) หรือการกลายพันธุ์ทางธรรมชาติที่ทำให้ร่างกายผลิตเม็ดสีมากเกินปกติ จึงส่งผลให้สัตว์มีผิวหรือขนสีดำ

ผลการศึกษา ภายใต้การนำของ Nicholas Pilfold นักวิจัยจากสวนสัตว์ซานดิเอโก ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารนิเวศวิทยา African Journal of Ecology เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ระบุว่าภาพถ่ายเหล่านี้เป็นหลักฐานการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกในรอบศตวรรษของแอฟริกาที่แสดงถึงการปรากฏตัวของเสือดาวดำ

เพราะภาพถ่ายเสือดำก่อนหน้านี้ คือภาพเสือดำที่ถ่ายได้ในกรุงแอดดิส อะบาบา (Addis Ababa) เมื่อปี 1909 หรือ 110 ปีก่อน ซึ่งปัจจุบันภาพถ่ายใบนี้ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกา

แม้ว่าในเคนยาจะเคยมีการจับภาพเสือดำตัวหนึ่งได้เมื่อปี 2013 ในขณะที่ภาพอื่นๆ ที่ถ่ายได้จากเฮลิคอปเตอร์ถูกปล่อยออกมาในปี 2018 อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายล่าสุดถือเป็นหลักฐานการบันทึกทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรก

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ "เสือดำ" เคนยายังมีอยู่จริง กล้องสามารถจับภาพได้ในรอบ 110 ปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook