ปฏิวัติของจริงต้อง "อิหร่าน" ครบรอบ 40 ปี สู้ภัยใน-นอกประเทศอยู่หมัด!

ปฏิวัติของจริงต้อง "อิหร่าน" ครบรอบ 40 ปี สู้ภัยใน-นอกประเทศอยู่หมัด!

ปฏิวัติของจริงต้อง "อิหร่าน" ครบรอบ 40 ปี สู้ภัยใน-นอกประเทศอยู่หมัด!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้มีการเฉลิมฉลองครบ 40 ปีการปฏิวัติอิหร่านที่ประเทศอิหร่าน เป็นงานใหญ่โตซึ่งจัดว่าการปฏิวัติของอิหร่านเมื่อ 40 ปีที่แล้วเป็นการปฏิวัติทางการเมืองที่สมบูรณ์ที่สุดครั้งสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 เลยทีเดียว

การปฏิวัติอิหร่านหรือที่เรียกว่าการปฏิวัติอิสลาม เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 เป็นเหตุการณ์ที่โค่นล้มราชวงศ์ปาห์ลาวีของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี อันเป็นระบอบที่ได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกาอย่างเปิดเผย โดยถูกแทนที่ด้วยสาธารณรัฐอิสลามภายใต้ อายะตุลลอฮ์ รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำการปฏิวัติซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การฝ่ายซ้ายและอิสลามหลายแห่ง รวมทั้งขบวนการนักศึกษาอิหร่านด้วย

จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติคือการเดินขบวนต่อต้านพระเจ้าชาห์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2520 พัฒนาเป็นการรณรงค์การดื้อแพ่งซึ่งมีทั้งภาคประชาชนและภาคศาสนา แล้วเพิ่มความรุนแรงขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2521 ขณะที่ในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2521 เกิดการนัดหยุดงานทั่วประเทศและการเดินขบวนขนาดใหญ่ทำให้ประเทศอิหร่านหยุดชะงัก พระเจ้าชาห์ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2522 ฝ่ายค้านที่ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลชั่วคราวได้เชิญ อายะตุลลอฮ์ รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี กลับประเทศอิหร่าน และกลับสู่กรุงเตหะรานซึ่งมีชาวอิหร่านหลายล้านคนรอต้อนรับ 

การทรงราชย์สิ้นสุดหลังวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เมื่อกองโจรและทหารกบฏเอาชนะกองกำลังซึ่งภักดีต่อชาห์ในการสู้รบด้วยอาวุธตามถนน ทำให้โคมัยนีเถลิงอำนาจอย่างเป็นทางการ อิหร่านออกเสียงลงคะแนนการลงประชามติทั่วประเทศให้เป็นสาธารณรัฐอิสลามเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2522 และรับรองรัฐธรรมนูญศาสนา-สาธารณรัฐนิยมฉบับใหม่ โดยโคมัยนีได้เป็นผู้นำสูงสุดของประเทศอิหร่าน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522

AFPฮัสซัน รูห์ฮานี ประธานาธิบดีอิหร่านกล่าวปาฐกถาในระหว่างพิธีฉลองปฏิวัติครบ 40 ปี

อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติดังกล่าวแปลกจนสร้างความประหลาดใจไปทั่วโลก เพราะขาดสาเหตุการปฏิวัติดังที่เคยมีมา อาทิ การแพ้สงคราม เกิดวิกฤตการณ์การเงิน กบฏชาวนาหรือกองทัพไม่พอใจ เกิดในชาติที่มีความมั่งคั่งทางวัตถุและเจริญรุ่งเรืองค่อนข้างดี มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและใหญ่หลวงมากจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นิยมตะวันตกมาเป็นระบอบศาสนาอำนาจนิยมต่อต้านตะวันตก และเป็นการปฏิวัติที่ไม่รุนแรงมากนัก พร้อมกับสามารถยืนยงต่อต้านการโจมตีครั้งแล้วครั้งเล่าจากทั้งภายในและภายนอกประเทศได้อย่างมั่นคง

การปฏิวัติคือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบหน้ามือเป็นหลังมือโดยเปลี่ยนแปลงตั้งแต่รากฐานของโครงสร้างของอำนาจทางการเมืองในระยะเวลาอันสั้นเมื่อประชาชนได้พร้อมใจกันลุกขึ้นปฏิวัติต่อผู้ที่กุมอำนาจทางการเมืองอยู่ในขณะนั้น

ทั้งนี้ ปฏิวัติตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานคือ การหมุนกลับ การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล ซึ่งตรงกับความหมายของภาษาอังกฤษของคำว่า Revolution ที่มาจากภาษาละตินว่า Revoutio ก็คือการหมุนกลับเหมือนกัน

อริสโตเติ้ลได้เขียนอธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง Politics เล่มที่ 5 ว่าเขาได้ศึกษารัฐธรรมนูญในสมัยกรีซโบราณถึง 158 ฉบับ จนช่วยทำให้เขาเข้าใจถึงความหมายต่างๆ ของการปฏิวัติในระบบการเมืองหนึ่งๆ ซึ่งจากผลของการศึกษานี้ อริสโตเติ้ลให้ความหมายของการปฏิวัติไว้ว่า คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงหรือบางส่วนในรัฐธรรมนูญ เช่นเปลี่ยนจากกษัตริย์ที่ปกครองโดยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นคณาธิปไตย เป็นต้น

ในประวัติศาสตร์โลกคำว่าการปฏิวัติถูกใช้เป็นครั้งแรกในอังกฤษที่ทำการเปลี่ยนแปลงนิกายศาสนาจาก คาทอลิกไปสู่นิกายอังกฤษเป็นการถาวรเมื่อปี พ.ศ. 2231–2232 และทำการถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองจากกษัตริย์มาสู่รัฐสภาของอังกฤษ ซึ่งเรียกการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ว่าเป็นการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution) ต่อจากนั้นก็เกิดการปฏิวัติอเมริกาใน พ.ศ. 2319 คือ อาณานิคม 13 แห่งในทวีปอเมริกาทำการต่อสู้เพื่อแยกตัวออกจากการปกครองของอังกฤษ

ต่อจากนั้นอีก 13 ปีใน พ.ศ. 2332 จึงมีการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส (The Great French Revolution) ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยสมัยใหม่เป็นครั้งแรกและเป็นจุดเริ่มต้นของการนำมาตราเมตริกมาใช้จากผลของการปฏิวัติครั้งนี้

การปฏิวัติรัสเซีย พ.ศ. 2460 การปฏิวัติจีน พ.ศ. 2492 และการปฏิวัติอิหร่าน พ.ศ. 2522 จัดเป็นการปฏิวัติที่แท้จริงในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ขณะที่การปฏิวัติของไทยที่เกิดขึ้นโดยคณะรัฐประหารหลายครั้งนั้นไม่จัดว่าเป็นการปฏิวัติตามคำนิยามแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook