ทำความรู้จักผู้อยู่เบื้องหลัง "พ.ร.บ.ไซเบอร์" หลังชาวเน็ตแขวะแรง "เปิดเน็ตเป็นหรือยัง?"

ทำความรู้จักผู้อยู่เบื้องหลัง "พ.ร.บ.ไซเบอร์" หลังชาวเน็ตแขวะแรง "เปิดเน็ตเป็นหรือยัง?"

ทำความรู้จักผู้อยู่เบื้องหลัง "พ.ร.บ.ไซเบอร์" หลังชาวเน็ตแขวะแรง "เปิดเน็ตเป็นหรือยัง?"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภายหลังจากที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติในวาระที่ 3 เห็นสมควรประกาศใช้ ร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ร.บ.ไซเบอร์) เป็นกฎหมาย ออกมาเป็นมติชัดเจน 133 เสียง โดยที่ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จากมติดังกล่าวทำให้เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก บ้างจะรู้สึกหวาดระแวงและกังวลว่าเข้าข่ายเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลจนเกินไปด้วย

>> "กลับไปใช้นกพิราบ" ถึง "ย้ายประเทศหนี" ฟีดแบคโซเชียล หลัง "พ.ร.บ.ไซเบอร์" ผ่าน

>> สนช.แจง "พ.ร.บ.ไซเบอร์" ไม่ได้จำกัดสิทธิประชาชนหรือสื่อมวลชน

ล่าสุด ได้มีชาวเน็ตกลุ่มหนึ่งที่โพสต์ภาพข้อความถึง สนช. ซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ ในทางลบ โดยมีข้อครหาเรื่องอายุ และความสามารถในด้านการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เปิดคอมฯเป็นหรือไม่ ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นหรือเปล่า รู้จักสาย LAN หรือยัง และอื่นๆ อีกมากมาย

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก ห่วยตูน ได้โพสต์ถึงคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าว โดยระบุถึงประสบการณ์ทั้งการศึกษา การทำงาน และผลงานที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละคนมีทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ ต่างจากที่ชาวเน็ตตั้งข้อครหา

นางเสาวณี สุวรรณชีพ

สำหรับผู้หญิงที่ยืนตรงกลาง คือ นางเสาวณี สุวรรณชีพ ประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ( ป.ม. ) และ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ( ท.ช. )

ประสบการณ์การทำงาน 

  • ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย 
  • คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
  • ที่ปรึกษา/ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) 
  • ที่ปรึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย 
  • รองประธานมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์

ผลงานที่โดดเด่นคือการบุกเบิกงานด้านไอทีเป็นครั้งแรกให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย และสามารถขับเคลื่อนให้ระบบการชำระเงินในเมืองไทยก้าวสู่มาตรฐานสากล รวมถึงระบบเอทีเอ็มและอินเตอร์เนตแบงค์กิ้งที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน


พล.ร.อ.ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์

ลำดับที่ 2 จากด้านซ้าย พล.ร.อ.ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  ปัจจุบันยังเป็นเป็นประธานอนุกรรมาธิการเทคโนโลยีอวกาศ จบการศึกษาโรงเรียนเตรียมทหาร, วิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายเรือ , รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผ่านการอบรม การป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) Transnational Security Cooperation (TSC) Course ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ( ม.ป.ช. ) และมหาวชิรมงกุฎ ( ม.ว.ม. )

ประสบการณ์การทำงาน
ผู้บังคับการเรือหลวงคีรีรัฐ พ.ศ. 2532

  • ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2 พ.ศ. 2546
  • ผู้อำนวยการการท่าเรือสัตหีบ
  • เจ้ากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ พ.ศ. 2552
  • ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ พ.ศ. 2553
  • รองเสนาธิการทหารเรือ พ.ศ. 2554
  • ที่ปรึกษาพิเศษ กองทัพเรือ
  • เสนาธิการทหารเรือ พ.ศ. 2556

 

ภาพ : สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ พล.อ.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล

เสื้อสีฟ้าลำดับที่ 4 จากซ้าย คือ พล.อ.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  จบการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ( ม.ป.ช. ) และ มหาวชิรมงกุฎ ( ม.ว.ม. )

ประสบการณ์การทำงาน

  • หัวหน้านายทหารประสานงานการพัฒนาระบบราชการส่วนประสานงานการพัฒนาระบบราชการกลาโหม
  • เจ้ากรมการเงินกลาโหม
  • ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม
  • โฆษกคณะกรรมาธิการ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
  • ประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-ออสเตรีย

 

พล.อ.ทวีป เนตรนิยม

เสื้อสีเขียวด้านขวาสุด พล.อ.ทวีป เนตรนิยม สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เชี่ยวชาญด้านการข่าว (สายลับ) และเทคโนโลยี จบการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต Computer science, Naval Postgraduate School, U.S.A. วิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยฟิลิปปินส์

ประสบการณ์การทำงาน

  • 2558 - ปัจจุบัน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
  • 2557 - 2558 ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
  • 2556 - 2557 หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • 2554 - 2556 ปลัดบัญชีทหาร

 

ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร

ส่วนผู้หญิงคนแรกทางซ้ายสุดคือ ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร  ศุภมิตร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นทั้งนักวิชาการ นักเขียน อาจารย์สอนวิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล และเป็นผู้เสนอร่างกฎหมายหลายฉบับ อาทิ ร่างกฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกเด็กที่จะช่วยปกป้องเยาวชนจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ และกำจัดหนึ่งในสาเหตุที่เป็นต้นตอของการค้ามนุษย์ทั้งในระดับประเทศ ไปจนถึงระดับภูมิภาคเอเชียและระดับโลก

โดย  ดร.จินตนันท์ ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่ถูกชาวเน็ตกล่าวถึงนี้ผ่านเฟซบุ๊ก ดร.จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ข้อความส่วนหนึ่งว่า 

"ชาวเน็ตเอ๋ย....คนที่ท่านคิดว่าแก่ เปิดเน็ตไม่เป็นไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์....

ขอย้ำว่า....พรบ.ไซเบอร์ ไม่เกี่ยวกับชาวเน็ต ย้ำ...ไม่เกี่ยวกับชาวเน็ต.....

ท่านจะเชียร์ใคร ด่านายกฯหรืออะไร มีป.อาญาฯ หมิ่นประมาท กับพรบ.คอมฯ คุมอยู่แล้ว พวกบิดเบือนข้อมูลพรบ.นี้ เช่นเพจที่เต้าข้อมูลเท็จขึ้นมาโจมตี ทั้งๆที่ชื่อก็เป็นเพจกฏหมาย และสาวกสื่อที่ลอกข้อมูลที่มาแชร์ต่อ กำลังจะโดนดำเนินคดี ส่วนพรบ.นี้ฟัดแฮกเกอร์ ก่อการร้ายทางไซเบอร์อย่างเดียว ทุกขั้นตอนต้องหมายศาล ยกเว้นระบบคมนาคม การเงินการธนาคาร สาธารณูปโภคล่ม คนตาย ถึงจะมีคนเข้ามาควบคุมให้ทันเวลา มัวแต่ขอหมายศาลก็คงไม่ทัน แต่ต้องแจ้งศาลโดยเร็วที่สุด

กรรมาธิการวิสามัญที่ทำหน้าที่ครั้งนี้ เป็นคณะไปคุยกับจีนและเป็นผลให้ตั้ง Chinese Academy of Science (CAS) ที่กรุงเทพฯ เป็นผลให้มีความพยายามที่จะทำให้ไทยมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นของตัวเองรวมทั้งซอฟท์แวร์ต่างๆ ทำให้เกิดกระทรวงที่จะทำหน้าที่เฟ้นหานักวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขึ้น กำลังทำเรื่อง Big Data smart city และเทคโนโลยีอวกาศ"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook