ส่องความสามารถ “สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า” ต้านพายุไต้ฝุ่นได้อย่างไร
ส่องความสามารถในการต้านพายุไต้ฝุ่นของสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า สะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลก
(5 มี.ค.) สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า เป็นสะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลก เชื่อมต่อฮ่องกง มาเก๊า เข้ากันกับมณฑลกว่างตงของจีน ถูกออกแบบให้ใช้งานได้นานถึง 120 ปี สามรถทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวขนาด 8 แมกนิจูด และความรุนแรงจากพายุไต้ฝุ่นได้ รวมถึงมีเกาะเทียมที่ต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างขั้นสูง
โดยเกาะเทียมแห่งนี้มีพื้นที่มากกว่า 100,000 ตารางเมตร ความยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกอยู่ที่ 625 เมตร และมีความกว้างประมาณ 200 เมตร ถูกออกแบบให้มีลักษณะเพรียวลมหรือไม่ต้านลมและน้ำ ลดพื้นที่ที่ต้องถมดินให้เหลือน้อยที่สุด
เจ้าหน้าที่กล่าวว่า หากพายุไต้ฝุ่นพัดมาจากทิศใต้ ผลกระทบของคลื่นลมจะถูกลดทอนด้วยอุปกรณ์กันคลื่นซึ่งเป็นคอนกรีตทรงเรขาคณิตที่ติดตั้งอยู่รอบเกาะ ที่จะช่วยสลายพลังงานของคลื่นและลดผลกระทบที่จะเกิดกับเกาะ
>> มันช้าไป! จีนเล็งอัปเกรด “สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า” สู่ระบบ 5G
>> รวดเร็ว! ตม. “ฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า” ตรวจไม่เกิน 30 วินาทีต่อคน รองรับได้กว่าแสนคนต่อวัน
นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งเขื่อนกันลมคลื่นที่สูง 9.5 เมตรในฝั่งทิศใต้ของเกาะเทียม ในขณะที่เขื่อนกันคลื่นทางตอนเหนือสูง 8.5 เมตร อันเนื่องมาจากลมทางทิศใต้ที่พัดมามีความแรงมากกว่า ซึ่งยากมากที่คลื่นจะซัดข้ามกำแพงกั้นนี้ได้ อีกทั้งความสูงของเขื่อนก็ถูกออกแบบมาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ของพายุไต้ฝุ่นที่ร้ายแรงที่สุด เท่าที่เคยเกิดขึ้นในรอบ 300 ปี
ในกรณีที่คลื่นสามารถซัดข้ามกำแพงขึ้นมาได้ เกาะเทียมก็ยังมีระบบคูระบายน้ำที่สามารถระบายน้ำฝนออกจากเกาะ และยังมีสถานีสูบน้ำหลายแห่ง ที่ช่วยระบายน้ำลงสู่ท้องทะเล
พร้อมกันนั้นก็ยังมีสิ่งอุปกรณ์ด้านการเก็บกักน้ำที่ติดตั้งไว้ในอุโมงค์ใต้ทะเล ที่จะช่วยซับน้ำที่ซึมเข้าสู่อุโมงค์ และสูบน้ำออกไปจากเกาะ โดยอุปกรณ์และการออกแบบต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เกาะเทียมปลอดภัย ในยามที่ภูมิภาคแถบนี้ถูกโจมตีด้วยพายุที่รุนแรงหรือพายุไต้ฝุ่น
>> เปิดแล้ว “สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า” สะพานข้ามทะเลยาวสุดในโลก
>> เกรงกระทบเจ้าถิ่น สะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ใช้ “นักอนุรักษ์” ประกบวิศวกรตลอดการก่อสร้าง
>> จีนได้ฤกษ์เปิดสะพานเชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ยาวสุดในโลก 55 กม.