นักวิจัยเผย “การอุ้มบุญ” อาจช่วยแรดขาวเหนือจากการสูญพันธุ์ได้

นักวิจัยเผย “การอุ้มบุญ” อาจช่วยแรดขาวเหนือจากการสูญพันธุ์ได้

นักวิจัยเผย “การอุ้มบุญ” อาจช่วยแรดขาวเหนือจากการสูญพันธุ์ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิธีการที่ผู้หญิงหลายล้านคนเคยใช้ในการตั้งครรภ์อาจเป็นสิ่งที่ช่วยปกป้องแรดขาวเหนือจากการสูญพันธุ์ได้ โดยนักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีคัดแยกไข่ออกมาจากแรดขาวใต้ในสวนสัตว์ยุโรป และใช้กระบวนการผสมเทียมหลอดแก้ว (IVF – In Vitro Fertilization)

นักวิจัยวางแผนเก็บไข่จากแรดขาวเหนือ และสร้างตัวอ่อนโดยใช้แรดขาวใต้ทำหน้าที่เป็น “แม่อุ้มบุญ” วิธีนี้อาจจะเป็นโอกาสเดียวที่จะสามารถช่วยสัตว์สายพันธุ์นี้ไว้ได้

แรดขาวใต้ที่มีชื่อว่า “โฮป” อาจเป็นความหวังที่จะสามารถช่วยลูกพี่ลูกน้องแรดขาวเหนือจากการสูญพันธุ์ได้

“โฮป” อาศัยอยู่ในเมือง Chorzow ของโปแลนด์ นักวิจัยเก็บไข่บางส่วนของเธอ และพยายามใช้เทคนิคที่สมบูรณ์แบบในการผสมพันธุ์และฝังไข่ลงในแม่แรดอุ้มบุญ

Jan Stejskal แห่งสวนสัตว์ซาฟารี Dvur Kralove กล่าวว่า กระบวนการนับตั้งแต่วันนี้ไปเป็นอะไรที่ยากลำบากเสมือนกับไปทำการทดลองนี้กับแรดขาวเหนือที่เคนยาเลยทีเดียว

ปัจจุบันมีแรดขาวใต้อยู่ประมาณ 17,000 ตัว แต่มีแรดขาวเหนืออยู่เพียง 2 ตัวเท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเมียทั้งคู่จึงไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้

>> เศร้า "ซูดาน" แรดขาวเหนือเพศผู้ตัวสุดท้ายของโลก ตายแล้ว

>> “แรดขาวใต้” ผสมเทียม-ตั้งท้องสำเร็จ นักวิทย์ฯ หวังต่อยอดอนุรักษ์ “แรดขาวเหนือ”

ซูดาน แรดเหนือขาวเพศผู้ตัวสุดท้าย ตายลงเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว / AFP / Getty Images

วิธีเดียวที่จะสามารถช่วยแรดขาวเหนือจากการสูญพันธุ์ได้ ก็คือการเรียนรู้วิธีการที่จะนำตัวอ่อนฝังเข้าไปในแม่แรดอุ้มบุญ และศึกษาเทคนิคนี้เพิ่มเติมกับแรดตัวเมียในสวนสัตว์ยุโรป

อย่างไรก็ตาม การทดลองทั้งหมดนี้เป็นเพียงการซักซ้อมเพื่อให้กระบวนการดังกล่าวมีความสมบูรณ์แบบ ก่อนที่จะนำไปใช้กับแรดขาวเหนือตัวเมียทั้งสองตัว

Jan Stejskal โฆษกสวนสัตว์ซาฟารี Dvur Kralove กล่าวว่า “โฮป” คือผู้บริจาคที่ดีที่สุดที่มีในยุโรปตอนนี้ ดังนั้นหวังว่าจำนวนไข่ที่เราเก็บได้จะมีประมาณสิบฟองหรืออาจจะมากกว่านั้น และถ้าหากมีมากกว่าสิบฟองจะถือว่าเป็นตัวเลขที่ดีมาก

คณะนักวิจัยสามารถเก็บไข่ที่แข็งแรงได้เก้าฟอง และพวกเขาสามารถเรียนรู้วิธีการปฏิสนธิไข่เหล่านั้นนอกมดลูกได้สำเร็จ แต่สิ่งที่ยากกว่านั้นก็คือการฝังไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเข้าไปในตัวแรด

Thomas Hildebrandt จากสถาบันวิจัยสวนสัตว์และสัตว์ป่า Leibniz กล่าวว่า ในตอนเริ่มต้นนักวิจัยมีแนวคิดบางอย่างที่ใช้ไม่ได้ผล ดังนั้นจึงมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ และเปลี่ยนขั้นตอนให้เหมาะสม แต่ในตอนนี้นักวิจัยค่อนข้างมั่นใจว่ามีเทคนิคที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากในการเก็บเซลล์ไข่ของสัตว์ขนาดใหญ่อย่างเช่นแรดขาวใต้หรือแรดขาวเหนือ และหวังว่ากระบวนการปลูกถ่ายตัวอ่อนจะสมบูรณ์แบบในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

ทั้งนี้ ตัวผู้ตัวสุดท้ายของเผ่าพันธุ์นี้ตายลงเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ดังนั้นจึงทำให้แรดขาวเหนือตัวเมียสองตัวที่เหลือ เป็นแรดขาวเหนือสองตัวสุดท้ายบนโลกใบนี้

ถ้าหากการทดลองนี้ประสบผลสำเร็จ ก็อาจนำไปใช้ในการแพร่พันธุ์สัตว์ชนิดใหญ่ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ชนิดอื่นๆ ได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook