เลือกตั้ง 2562: รู้จัก 4 ใบต้อง (ห้าม) ทำผิดกฎหมาย ตัวแปรสำคัญของการเลือกตั้ง

เลือกตั้ง 2562: รู้จัก 4 ใบต้อง (ห้าม) ทำผิดกฎหมาย ตัวแปรสำคัญของการเลือกตั้ง

เลือกตั้ง 2562: รู้จัก 4 ใบต้อง (ห้าม) ทำผิดกฎหมาย ตัวแปรสำคัญของการเลือกตั้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำความรู้จักกับ 4 ใบต้อง (ห้าม) ทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง โดยการ เลือกตั้ง 2562 ถ้าหากมีการตรวจสอบพบว่า ผู้สมัคร ส.ส.คนใด กระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ก็มีสิทธิที่ได้รับ ใบเหลือง, ใบส้ม, ใบแดง, ใบดำ โดยไม่มีการยกเว้น โดยแต่ละใบก็จะมีขอบเขตข้อบัญญัติความผิดและบทลงโทษต่างออกไป โดยแบ่งได้ดังนี้

ใบเหลือง (เลือกตั้งใหม่เฉพาะเขต)

  • เมื่อ กกต. ทำการสืบสวนไต่สวน แล้วพบเห็นการกระทำที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริต มีอำนาจสั่งระงับ ยับยั้ง แก้ไข เปลี่ยนแปลง ยกเลิกการเลือกตั้ง และสั่งให้ดำเนินการเลือกตั้งใหม่ หรือนับคะแนนเลือกใหม่ในหน่วยเลือกตั้งบางหน่วยหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง
  • รวมทั้งในกรณีหลังประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว กกต. มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าการเลือกตั้งนั้นไม่สุจริต สามารถยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาขอให้สั่งเลือกตั้งใหม่ได้
  • หรือ กรณีที่ กกต. ยื่นขอให้ศาลพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งจากกรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำทุจริต หรือรู้เห็นการกระทำของบุคคลอื่น แต่ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้สมัครไม่ได้กระทำทุจริต หรือรู้เห็นการกระทำทุจริตของบุคคลอื่น ศาลอาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ ซึ่งก็ให้สมาชิกสภาพของ ส.ส.ในเขตนั้นสิ้นสุดลง

vote1.2

ใบส้ม (ถอนสิทธิเลือกตั้ง 1 ปี)

  • ถ้าหาก กกต. พบว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนอยู่ในลำดับที่ได้รับการเลือกตั้ง เป็นผู้ไม่มีสิทธิสมัคร ให้ กกต. สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ และสั่งระงับสิทธิการรับสมัครของผู้นั้น หรือมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งกระทำ หรือรู้เห็นการกระทำบุคคลอื่น เป็นเหตุให้การเลือกตั้งนั้นไม่สุจริต มีการนับคะแนนไม่ถูกต้อง ให้ กกต.ระงับสิทธิสมัคร รับเลือกตั้งของผู้นั้นไว้ชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี โดยให้คำสั่ง กกต. ถือเป็นที่สุด

ใบแดง (ถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี)

  • จะใช้ก็ต่อเมื่อหากช่วงหลังเลือกตั้ง กกต.พบว่า ผู้ที่เป็น ส.ส.นั้น เป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลนั้น นอกจากกรณี กกต.มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการทุจริตเลือกตั้ง หรือรู้เห็นการกระทำของบุคคลอื่นที่ทำให้การเลือกตั้งนั้นไม่สุจริต ก็ให้ยื่นต่อศาลฎีกาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 10 ปี และสั่งเลือกตั้งใหม่ กรณีผู้นั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง พร้อมให้รับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งด้วย

ใบดำ (ถอนสิทธิเลือกตั้งไม่มีกำหนด)

  • เป็นการกำหนดให้มีโทษการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่ได้มีกำหนดระยะเวลารับโทษว่าจะนานกี่ปี เพิ่มเติมเข้ามานอกเหนือจากโทษของการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ที่จะมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า 5 หรือ 10 ปี จึงเทียบเท่าว่า หากผู้สมัคร หรือ ส.ส.คนใด ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแล้วนั้น ก็จะถือว่าเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีพ ซึ่งการถูกเพิกถอนสิทธิ สมัครรับเลือกตั้ง เป็นลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ทางการเมือง และกรรมการองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook