เลือกตั้ง 2562: จับขั้วตั้งรัฐบาลยังไม่ถึงฝั่งฝัน "อนุทิน" ภูมิใจไทย คือตัวแปรสำคัญ

เลือกตั้ง 2562: จับขั้วตั้งรัฐบาลยังไม่ถึงฝั่งฝัน "อนุทิน" ภูมิใจไทย คือตัวแปรสำคัญ

เลือกตั้ง 2562: จับขั้วตั้งรัฐบาลยังไม่ถึงฝั่งฝัน "อนุทิน" ภูมิใจไทย คือตัวแปรสำคัญ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิชาการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ "อนุทิน ชาญวีรกูล" จะพาพรรคภูมิใจไทยไปอยู่ขั้วไหน ตอนที่ทำให้เขากลายเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญของการเมืองไทย

(29 มี.ค.) การจับขั้วตั้งรัฐบาลยังคงอยู่ในช่วงที่ยังไม่มีอะไรเป็นที่แน่นอนนัก ข้อมูลผลคะแนนการเลือกตั้งครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ก็เริ่มทำให้หลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็น รวมทั้งยังมีประเด็นเรื่องการแจกใบเหลือง-ใบแดงของการเลือกตั้งครั้งนี้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ทำให้ยังไม่มองภาพไม่ได้ชัดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ ใครจะกลายเป็นผู้นำทางการเมือง

สำนักข่าวอมรินทร์ ทีวี ได้วิเคราะห์และสอบถามความเห็นจากนักวิชาการหลายคนเกี่ยวกับมุมมองทางการเมืองในปัจจุบัน ภายหลังจากการเลือกตั้ง 2562 เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีพรรคการเมือง 7 พรรค นำโดย พรรคเพื่อไทย ที่ครองเก้าอี้ ส.ส.แบ่งเขตได้มากที่สุด ได้ประกาศจับมือจัดตั้งรัฐบาล ในขณะนี้ 2 พรรคที่ได้อันดับที่ 4 กับ 5 อย่าง พรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคภูมิใจไทย ยังไม่ประกาศท่าทีที่ชัดเจนออกมา ทำให้กลายเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญ

ทั้งนี้ หากตั้งสมมติฐานว่า พรรคเพื่อไทยและพรรคพลังประชารัฐ ต่างรวบรวมเสียง ส.ส. จากพรรคการเมืองที่มีแนวทางเดียวกัน โดยไม่นับรวมพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย จะทำให้พรรคเพื่อไทยจะมีจำนวน ส.ส. 246 คน ขณะที่พรรคพลังประชารัฐจะมีจำนวน ส.ส. 203 คน

นักวิชาการได้วิเคราะห์ว่า หาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ประกาศเข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทย จำนวน ส.ส. ที่รวบรวมได้หฌจะมี 297 คน ซึ่งถือว่าเกินครึ่งหนึ่งของสภาฯ ในกรณีนี้ นายอนุทิน อาจจะได้เสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี

ผศ.วันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่าแนวคิดนี้มีความเป็นไปได้ เพราะนายอนุทินคือคนกลางระหว่างคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคอนาคตใหม่

news06-1

ขณะที่ อาจารย์สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง มองว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะเชื่อว่านายอนุทินมองเกมขาด ว่าหากไปร่วมกับพรรคเพื่อไทย สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จะไม่โหวตตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี

ทางด้าน รศ.อัษฎางค์ ปาณิกบุตร อดีตคณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มองว่ามีโอกาสเป็นไปได้ ส่วน รศ.พรชัย เทพปัญญา นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์ มองว่าเป็นไปไม่ได้ นายเอกชัย ไชยนุวัติ เชื่อว่านายอนุทินมีสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีได้

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากนายอนุทินไม่เข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ ก็มีโอกาสที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการโหวตจากเสียงข้างมากเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ หากได้รับการสนับสนุนจาก ส.ว. 250 เสียง

แต่หาก นายอนุทิน เข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ จะทำให้พรรคพลังประชารัฐมีคะแนนเสียง 254 เสียง ซึ่งนักวิชาการก็มองว่า จำนวน ส.ส. ที่เกินครึ่งในสภาฯ เพียงเล็กน้อยเช่นนี้ จะทำให้การบริหารประเทศเป็นไปด้วยความยากลำบาก เช่น การอภิปรายงบประมาณแผ่นดิน หรือการที่ต้องมีเสียงลงมติอย่างน้อย 251 เสียง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook