แม่ 2 เด็กลูกครึ่งเปิดใจทั้งน้ำตา ยันไม่เคยทำร้ายลูก เล่าอีกมุมเหมือนหนังคนละม้วน

แม่ 2 เด็กลูกครึ่งเปิดใจทั้งน้ำตา ยันไม่เคยทำร้ายลูก เล่าอีกมุมเหมือนหนังคนละม้วน

แม่ 2 เด็กลูกครึ่งเปิดใจทั้งน้ำตา ยันไม่เคยทำร้ายลูก เล่าอีกมุมเหมือนหนังคนละม้วน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีสองพี่น้องลูกครึ่งไทย-สวิส อายุ 12 ปี และ อายุ 11 ปี ที่เคยตกเป็นข่าวประสบอุบัติเหตุพลัดตกจากห้องพักย่านรามคำแหง หายออกไปจากบ้านย่านซอยรามคำแหง 34 จนเมื่อช่วงเวลาประมาณ 19.30 น. ของวันที่ 30 มี.ค. ก่อนเจ้าหน้าที่จะพบตัวว่าปลอดภัย โดยเด็กอ้างว่าจะเดินไปตามหาพ่อ เพราะถูกแม่ทำร้าย

>> เด็กลูกครึ่ง 2 พี่น้องเล่าเอง แผลตกตึกยังไม่หายดี แม่ทำร้าย-กระทืบซ้ำจนต้องหนี

ล่าสุดวันที่ 2 เม.ย. รายการโหนกระแส โดย หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย ทางช่อง 28 ได้เปิดใจสัมภาษณ์แม่เด็ก จอย รัตติกาล ประกายแก้ว รวมทั้งคุณยายแอ๊ด ยายของเด็กๆ และ นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์ จิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.พญาไท 

น้องออกเดินทางหาคุณพ่อ เกิดอะไรขึ้น?
แม่จอย : “แม่ไม่ทราบ วันนั้นไปทำงานยังกอดกัน วันที่ 29 มี.ค. แม่ออกไปทำงานประมาณเที่ยง ก็ยังกอดเขาปกติ หอมเขาบอกว่าไปทำงานแล้วนะ ย้ำให้เขาปิดประตู ตอนบ่ายโทรมาเขาไม่รับ ก็โทรมาบ่ายสองก็คุยเล่นกันปกติ ก็บอกเขาว่าสามทุ่มหม่าม๊าเลิกงานนะ ค่อยเจอกัน เขาก็บอกว่าโอเค เดี๋ยวเจอกัน รักหม่าม๊า เขาก็ยังส่งเกรดให้ดู ได้เลื่อนชั้นนะ ดีดี้ขึ้น ม.2 แล้วนะ ต้นกล้าขึ้น ป.6 แล้ว”

ลูกหายได้ยังไง?
แม่จอย : “ตอนบ่ายสามเขาไม่รับสายก็คิดว่าเขาคงเล่นกัน หรือเก็บของที่เขารื้อ แต่สักสี่โมงเย็น คุณยายโทรมาว่าน้องหายไป”

สุดท้ายแล้วคุณแม่ทราบมั้ยว่ามีคนพบเด็กไปตามหาคุณพ่อ?
แม่จอย : “แม่ไม่ได้อ่านข่าวแต่พอได้ยินมาบ้าง”

แม่โพสต์หาลูก?
แม่จอย : “ใช่ เพราะดูจากกล้องวงจรปิด น้องผู้หญิงใส่ชุดเดรสสีดำแม่ออกไป น้องต้นกล้าแต่งตัวเหมือนเขาออกไปเที่ยว เขาจะเขียนคิ้ว น้องผู้หญิงแต่งหน้าปกติ”

ประเด็นคือหลังคนเจอน้อง เขาบอกอยากไปอยู่กับพ่อ ไม่อยากอยู่กับแม่ แม่ตีเขา ธรรมดาตีลูกมั้ย?
แม่จอย : “ถ้าทำผิดก็มีตี แต่หลังเขาเกิดอุบัติเหตุไม่ได้ตีเลยค่ะ”

รอยช้ำบนตัวลูกเกิดจากอะไร?
แม่จอย : “ไม่ได้มีการตีเลยค่ะ ไม่ได้แตะตัวลูก เห็นข่าวออกมา แม่ไม่ได้แตะเลยค่ะ”

กรณีน้องเขาบอกมาคุณแม่ไม่เคยพาเขาไปหาหมอทำกายภาพเลย หนำซ้ำเวลาตีก็ตีตรงจุดเดิมๆ ที่เขาบาดเจ็บ?
แม่จอย : ” ไม่เคยตีเขาค่ะ เห็นเด็กอื่นถูกตีเขาก็ยังพูดเลย เขาก็บอกว่าอย่ามาตีพวกหนู ยืนยันว่าไม่เคยตี”

คุณยาย แม่เขาตีมั้ย?
ยาย : “แม่ไม่เคยตีค่ะ เขาดุ มากๆ ก็ด่า ใช้คำพูดแบบดุ เสียงแข็งกับลูกหน่อย แต่ไม่ได้ตวาด ไม่ใช่”

แผลน้องที่ขาเป็นหนอง น้องบอกแม่ไม่เคยดูแลเลย?
แม่จอย : “ทำแผลให้ แต่ถ้าไปทำงานก็บอกให้เขาเอาอุปกรณ์ทำแผลไปด้วย เพราะแผลเขามีติดเชื้อ ถ้าไม่เปลี่ยนผ้าจะแย่ เพราะมีน้ำหนองไหลตลอดเวลาค่ะ”

แม่ยืนยันว่าพาไปหาหมอ ทำไมแผลเป็นหนอง?
แม่จอย : “น่าจะเกิดจากวันที่หายไปแล้วไม่ได้ทำแผล ปกติหนองจะไหลอยู่แล้ว มีกลิ่นตลอดเวลา ถ้าถามคุณหมอที่รักษาจะรู้อยู่แล้ว”

นพ.ธีรนันท์ : “ถ้าแผลติดเชื้อมีหนองออกได้ แต่ถ้าเป็นมานานต้องไปดูความรุนแรงของการติดเชื้อ”

แม่จอย : “กระดูกติดเชื้ออยู่ข้างใน ต้องเอากระดูกชิ้นนั้นออก ซึ่งเอาออกไม่ได้เพราะน้องไม่แข็งแรง น้องโดนการผ่าตัดมาหลายครั้งแล้ว”

กรณีน้องบอกว่าน้องต้องทำกายภาพ แต่แม่ไม่พาไปทำเลย?
แม่จอย : “พาไปประจำ พาไปก่อนเรียน หลังเลิกเรียน แต่เขาติดเรียน เพราะกายภาพเขาปิดบ่ายสามโมง บางทีเขาติดกิจกรรมก็ไปไม่ได้ ก็พาไปอีกวัน บางทีเขาก็บอกว่าเขาไม่อยากไป เขาทำโน่นทำนี่ ก็โอเค ไม่ไปก็ต้องทำที่บ้าน ถ้าไม่ได้ไปที่ รพ. ต้องทำเองที่บ้าน วันไหนไม่ติดเรียน ก็พาไปทำกายภาพค่ะ”

คุณแม่ยืนยันว่าไม่เคยตีน้องแรง?
แม่จอย : “ไม่เคยตีน้องแรง ถ้าทำผิดก็ต้องว่าต้องสอนตามปกติ”

น้องบอกไม่เคยพาไปทำกายภาพ หรือแผลไม่เคยดูดำดูดี มียา มีที่ล้างแผล แต่แม่ไม่เคยทำให้?
แม่จอย : “ถ้าแม่อยู่บ้านแม่ทำให้ตลอดค่ะ นอกจากแม่ออกไปทำงาน ก็จะโทรมาถามทุกชม.อยู่แล้วว่าทำแผลมั้ย แผลเป็นยังไงบ้าง”

กรณีของยา ที่น้องๆ เห็นเป็นยาสีเหลืองหรือสีชมพูไม่แน่ใจ เขียน WY หลายคนบอกว่าเหมือนยาบ้าหรือยาเสพติด?
แม่จอย : “ที่เห็นในลิ้นชัก ตร.ไปเรียบร้อยแล้วค่ะ เป็นไอบรูโพรเฟน ยาแก้ปวดที่แม่ได้มาจากรพ.แพทย์ปัญญาตอนไปหาหมอค่ะ WY ไม่แน่ใจ มีตัวอักษรภาษาอังกฤษ เรากินยาเราไม่ได้ดู ที่ตร.ถ่ายรูปไป เป็นเม็ดสีเหลืองที่หมอให้มา”

แม่มีอาการโรคซึมเศร้า?
แม่จอย : “มีค่ะ ตอนน้องสองคนเสียไปก็มีอาการ แต่คุณหมอวินิจฉัยว่าเราเป็นครั้งคราว เพราะเรามีลูกสองคนอยู่ด้วย เราก็กินยาโรคซึมเศร้า แต่ตอนหลังไม่ได้กิน เพราะตอนหลังเรารู้สึกว่าเรากินแล้วดูแลลูกไม่ได้ ไม่ได้กินประมาณเดือนสองเดือน กินแล้วนอนตลอด ไม่ได้ดูน้อง”

กระแสสังคมมองว่าแม่ตีลูก ทำในสิ่งไม่ถูกไม่ควร ทำให้เด็กไม่สบายใจหนีไป มีเรื่องสิ่งเสพติด ถ้าวัดให้ไปตรวจสิ่งเสพติดในร่างกาย แม่กล้าตรวจมั้ย?
แม่จอย : “แม่กินยาลดความอ้วนเยอะมาก เป็นยาลดความอ้วนที่ไม่ได้ผ่านอย.ค่ะ”

กล้าตรวจมั้ย?
แม่จอย : “คุยกันแล้วขอทำงานก่อนค่ะ”

ในมุมคุณยายล่ะ?
ยาย : “ไม่ได้เป็นแบบนั้นค่ะ ส่วนมากจะเห็นลูกสาวกินยาที่เขารีวิว ยาลดความอ้วนเยอะ และยาจากซองรพ.ตำรวจ แล้วยารพ.อะไรอย่างนี้ เขาเอามาวางเรียงกันแล้วหยิบกินๆ”

ยายอยู่ชั้นไหน?
ยาย : “อยู่เลยไปอีกสักสองห้อง แต่ตึกเดียวกัน ก็เข้าไปอยู่กับหลานตลอดเวลาเขาไปทำงาน แม่ลูกอยู่ด้วยกันเราก็เห็น เขาหยอกล้อเล่นกัน เราก็ออกมาทำงานบ้านของเรา”

กรณีที่ครั้งหนึ่ง มีเรื่องน้องที่เกิดอุบัติเหตุตกตึกลงมา มีเรื่องเงินบริจาค แม่เอาไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกบ้างมั้ย?
แม่จอย : “ไม่ค่ะ ใช้เป็นค่ายา ค่ารถเข็นน้อง ค่าไม้เท้า วอล์กเกอร์”

ตอนนี้หมดหรือยัง?
แม่จอย : “หมดแล้วค่ะ เป็นค่ารักษาพยาบาลน้องหมดเลย”

แสดงหลักฐานได้ม้ั้ย?
แม่จอย : “ได้ค่ะ มีบิลค่ะ พวกรถเข็น วอล์กเกอร์ยังอยู่ที่บ้านอยู่เลย”

แม่เอาไปใช้นอกเหนือจากรักษาลูกมั้ย?
แม่จอย : “ไม่ค่ะ ลูกก็รู้อยู่ ยืนยันได้ค่ะ”

พูดคุยกับ “ดร.สมคิด สมศรี” อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน เป็นคนดูแลเด็กสองคน อยู่ในสาย ตอนนี้เด็กอยู่ในความดูแลของท่าน?
ดร.สมคิด : “ใช่ครับ น้องๆ ไม่มีปัญหาอะไร น้องๆ ร่าเริงและสุขภาพดี ไม่ได้ถูกทำร้ายแต่อย่างใด แม่ก็ไม่ได้ทำร้ายแต่อย่างใด จริงๆ สื่อลงไปว่าแม่ทำร้าย แต่เราวิเคราะห์ดูแล้วเป็นการเลี้ยงดูตามวัฒนธรรมประเพณีคนไทย ดุด่าว่ากล่าว ตีด้วยมือบ้าง ไม้เล็กๆ บ้าง ไม่ใช่ไม้ใหญ่แต่อย่างใด เรายืนยันว่าไม่ได้ทำร้ายร่างกาย”

ไม่ได้ทำร้ายร่างกาย?
ดร.สมคิด : “ใช่ครับ ไม่มีบาดแผล ไม่มีอะไร รอยฟกช้ำดำเขียวก็ไม่มี”

เรื่องที่เด็กเจอยาเสพติด?
ดร.สมคิด : “เรื่องนั้นเราไม่อยากให้กระทบกระเทือน เราไมได้พูดถึง แต่พูดตรงๆ ทั้งกรมได้วิเคราะห์แล้ว การเลี้ยงดูบุตร แม่ดูแลตามวัฒนธรรมของคนไทย ส่วนลูกเป็นลูกครึ่งทางสวิส ชาวต่างชาติที่เป็นพ่อเขาก็เลี้ยงดูเอาใจหน่อย ธรรมดาคนต่างชาติเลี้ยงดูบุตรโดยไม่ตี ไม่ว่ากล่าวตักเตือน”

เด็กอยากไปอยู่กับพ่อเพราะสบายใจที่พ่อไม่ดุไม่ว่าเหรอ?
ดร.สมคิด : “ใช่ๆ วัฒนธรรมประเพณีไทย แม่ใช่ถูบ้าน ก็อาจจะดุว่ากล่าว อาจรุนแรงหน่อย แต่ภาษาชาวบ้านเด็กไม่ค่อยชอบตรงนั้น พ่อจะพูดดี เพราะเป็นชาวต่างชาติ”

ณ วันนี้ทางทีมงานได้พูดคุยกับเด็กหรือยัง เด็กอยากอยู่กับพ่อหรือกับแม่?
ดร.สมคิด : “ถ้าเลือกได้ เด็กยืนยันว่าอยากอยู่กับคุณพ่อ แต่เราไกล่เกลี่ยว่าไม่ได้นะ เพราะยังไงคุณแม่คลอดมา ก็ต้องดูแลทั้งพ่อทั้งแม่ ความกตัญญูก็ต้องดูทั้งสองอย่าง แต่วันนี้เด็กยืนยันจะอยู่กับพ่ออยู่ แต่เรายังไม่ตกลง ถ้าพ่อมาก็ต้องตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่ายก่อนนะ”

ตอนนี้แม่เจอเด็กไม่ได้?
ดร.สมคิด : “จริงๆ เรายินดี ไม่ขัดข้องว่าแม่เจอได้ แต่ลูกยังไม่อยากเจอแม่ รอให้พ่อมาก่อน”

ถ้าคุณแม่โทรคุยกับเด็กได้มั้ย?
ดร.สมคิด : “ไม่ขัดข้อง แต่ลูกๆ จะรับสายหรือไม่ เราบังคับไม่ได้ เพราะน้องบอกเรายังไม่อยากเจอ ไม่อยากคุยแม่ อยากรอพ่อมาก่อน ไปหาก็ได้เราไม่ขัดข้อง แต่เอาเด็กเป็นตัวตั้ง”

มุมมองยังไง?
ดร.สมคิด : “มุมมองสังคม บางทีเราใช้สื่อสาร ใช้คำพูดผิด คำว่ารุนแรง คำนิยามรุนแรงต้องมีบาดแผล ต้องกระทำรุนแรง ให้เห็นเป็นบาดแผล แต่ตรงนี้น้องๆ ไม่ได้กระทบ ด้านจิตใจก็ไม่กระทบ ด้านร่างกายก็ไม่กระทบ ก็ถือไม่เป็นความรุนแรงในครอบครัว”

การนำเสนอของสื่อบางสื่อทำให้มีความผิดเพี้ยนในสังคม?
ดร.สมคิด : “ก็เป็นไปได้ ตอนนี้ก็ได้คุยกับสื่อ และฝากประชาสัมพันธ์ว่าต้องดูแลแม่ด้วย เพราะแม่ได้รับผลกระทบจากลูกที่เสียชีวิตไปสองคน วันนี้ลูกออกจากบ้านไปสองคน สภาพจิตใจเขาก็แย่อยู่แล้ว ต้องให้ความเป็นธรรมเขาด้วย เราพูดความจริงวันนี้แม่ไม่ได้ทำร้ายลูก ไม่เกิดความรุนแรงในครอบครัว ฝากดูแลแม่ด้วยครับ”

แม่จอย : “(ร้องไห้) ขอบคุณมากค่ะ”

กรณีนี้ ทางแม่บอกว่าไม่เคยตี หรืออาจมีบ้างที่ลูกดื้อ ท่านอธิบดีบอกว่าดูแล้วเด็กไม่ได้ถูกทำร้ายร่างกาย ในมุมเด็กพูดออกมา เป็นไปได้เหรอเด็กพูดเอง?
นพ.ธีรนันท์ : “เด็กโกหกหรือเปล่า ง่ายสุดเลยสามารถเป็นไปได้หลายๆ เหตุการณ์ อาจเกิดเหตุการณ์จริงหรือเกิดนิดๆ หน่อยๆ เด็กเซนซิทีฟเยอะ เช่นบางคนตีนิดเดียวแต่เจ็บเยอะไปเลย และกลัวไปเลย สมัยใหม่น่ากลัวกว่าการตีคือการใส่อารมณ์ลงไป เด็กเกิดความกลัวและหวาดระแวงได้ อีกส่วนคือเด็กโกหกหรือเปล่า ตรงนั้นไม่อยากให้คิดว่าน้องโกหก อยากให้เข้าใจทั้งน้องและคุณแม่ว่าเกิดอะไรขึ้นถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ จะสามารถปรับให้กลับมาสู่ปกติได้”

เด็กอาจมีมุมมองของเขา อาจพูดในมุมที่เป็นเรื่องใหญ่สำหรับชีวิตเขา แต่การตีเขาอาจมองในมุมใหญ่โตเหรอ?
นพ.ธีรนันท์ : “ครับ อาจเป็นความรู้สึก มีหลายทางที่จะออกมาแบบนั้น”

เด็กอยากอยู่กับพ่อ ถ้ามีการตกลงกันเด็กต้องอยู่กับแม่ มีปัญหานี้เกิดขึ้นอีกจะทำยังไง?
นพ.ธีรนันท์ : “ตอนนี้คำถามคือเด็กเจอแม่ได้มั้ย เราต้องไปเช็กก่อน น้องมีปัญหาทางจิตใจหรือเปล่า เด็กบางคนกลัวหวาดผวาไปเลย ให้เขาเผชิญสิ่งที่กลัวจะยิ่งกระตุ้นความกลัวมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าป่วยก็ต้องรักษาก่อน”

เด็กกลัวเพราะแม่เคยตี?
นพ.ธีรนันท์ : “อาจจะมีเหตุการณ์ที่ไปเชื่อมต่อความรู้สึกนี้ เช่น แม่ตี น้องอาจคิดว่าน้องทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง แม้จะสั่งสอนเบาๆ ก็ตาม ถ้าแม่รับรู้ เหตุการณ์ถึงขั้นชีวิตหรือเจ็บปวดหนักๆ ก็อาจเกิดภาวะแบบนี้ได้”

มีเวลาน้อยในการดูแลลูก เพราะแม่ทำงานหนัก ทำให้เด็กรู้สึกว่าแม่ไม่ดูแลเขา ตรงนี้ทำไง?
นพ.ธีรนันท์ : “เป็นปัญหาในหลายๆ ครอบครัว เด็กที่อยู่บ้านเฉยๆ มีเวลาเยอะ เขาก็ต้องการพ่อแม่อยู่ด้วย เขาไม่เข้าใจว่าทำไมแม่กลับดึก ไม่มีเวลา ไม่รู้ว่าแม่มีภาระเยอะ เด็กแค่รู้สึกว่ายังไม่พอ แม่ต้องเรียนรู้วิธีการใช้เวลาให้มีคุณค่า มีเวลาน้อยแต่ทำไงให้รู้สึกว่าพอ”

ในมุมแม่ วันนี้ถ้าเป็นอย่างที่เด็กพูด แม่จะทำยังไงต่อไป เป็นจำเลยสังคมแบบนี้ จะทำยังไง?
นพ.ธีรนันท์ : “อยากให้สังคมเข้าใจคุณแม่ก่อน ถ้าแม่ทำจริง สังคมอย่ารุมว่าคุณแม่ เพราะที่เหลือคุณแม่ต้องมาเรียนรู้วิธีเลี้ยงลูกแบบใหม่ สังคมต้องช่วยให้คุณแม่ดีขึ้น เยียวยาซึ่งกันและกัน ทั้งคุณแม่และคุณลูก”

ถ้าลูกอยากไปอยู่กับพ่อ?
แม่จอย : “ต้องเจรจา”

ยอมมั้ย?
แม่จอย : “เอาน้องเป็นที่ตั้งค่ะ จะปล่อยเขามั้ยขอคุยกับลูกก่อนค่ะ”

>> รวมทุกประเด็นข่าว 4 พี่น้องตกตึก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook