ชาวโลกสนใจภารกิจกู้ชีวิต 13 หมูป่าอีกครั้ง เผยเบื้องหลังจำเป็นต้องใช้ "ยาเค"

ชาวโลกสนใจภารกิจกู้ชีวิต 13 หมูป่าอีกครั้ง เผยเบื้องหลังจำเป็นต้องใช้ "ยาเค"

ชาวโลกสนใจภารกิจกู้ชีวิต 13 หมูป่าอีกครั้ง เผยเบื้องหลังจำเป็นต้องใช้ "ยาเค"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรื่องราวของ 13 ชีวิตทีมหมูป่าได้รับความสนใจอีกครั้ง หลังทีมงานกู้ภัยได้เขียนรายงานสรุปการปฏิบัติการช่วยเหลือขึ้น ในบทความที่เผยแพร่ลงในวารสารการแพทย์ชื่อ New England Journal of Medicine เกี่ยวกับขั้นตอนการช่วยเหลือ

โดยบทความชิ้นนี้ถูกเขียนโดย พ.ต.นพ.ชาญฤทธิ์ ล้อทวีสวัสดิ์ ร่วมด้วย นพ.ริชาร์ด แฮร์ริส ชาวออสเตรเลีย และ พล.ต.วุฒิไชย อิศระ และ ผศ.นพ. กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ ตีพิมพ์ลงในวารสารฉบับเดือนเมษายน 2562 ในชื่อว่า “Prehospital Care of the 13 Hypothermic, Anesthetized Patients in the Thailand Cave Rescue”

สำหรับส่วนที่กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจและถูกพูดถึงกันในขณะนี้ เป็นท่อนบทความที่เกี่ยวกับเรื่องการตัดสินใจใช้ โดยเป็นยาสลบในกลุ่มเคตามีน ให้กับสมาชิกทีมฟุตบอลทั้ง 12 คนพร้อมทั้งโค้ชอีก1คน ก่อนจะใส่หน้ากากออกซิเจนเต็มหน้าให้พวกเขาและนำตัวออกมาจากถ้ำ โดยระหว่างเส้นทางการนำตัวผู้ประสบภัยออกมานั้น ทีมกู้ภัยต้องให้เคตามีนระหว่างทางเป็นระยะๆทำให้ตัวผู้ประสบภัยรู้สึกตัวไม่เท่ากันในแต่ละช่วง

อย่างไรก็ตาม ในรายงานสรุปยังระบุอีกด้วยว่า ผู้ประสบภัยคนที่ 2 ได้เกิดอาการ hypothermia หรือ ภาวะที่ร่างกายเสียความร้อน จนทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายลดต่ำลงกว่า 35 องศาเซลเซียส โดยระบุว่าเกิดจากการประสานงานกันไม่เพียงพอ หลังจากนั้นทีมกู้ภัยได้ให้วิสัญญีแพทย์ตรวจอุณหภูมิของผู้ประสบภัยที่ได้รับการช่วยเหลือออกมาจากถ้ำ

ทั้งนี้ เคตามีน เป็นยาที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2505 และถูกนำมาใช้โดยทีมแพทย์ในกองทัพสหรัฐเพื่อช่วยเหลือบรรดาทหารอเมริกันที่ร่วมรบในสงครามเวียดนาม ในฐานะเป็นยาบรรเทาปวดและยากล่อมประสาท แต่มีผลข้างเคียงเล็กน้อยคือผู้รับยาจะมีอาการประสาทหลอน ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงเตือนผู้ป่วยที่ใช้ยาชนิดนี้ถึงผลข้างเคียงที่จะตามมา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook