ชาวบ้านฮือฮา เจอสัตว์ประหลาดคล้ายงูผสมกิ้งก่า ก่อนใช้ชีววิทยาไขคำตอบ

ชาวบ้านฮือฮา เจอสัตว์ประหลาดคล้ายงูผสมกิ้งก่า ก่อนใช้ชีววิทยาไขคำตอบ

ชาวบ้านฮือฮา เจอสัตว์ประหลาดคล้ายงูผสมกิ้งก่า ก่อนใช้ชีววิทยาไขคำตอบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม่ค้าร้านของชำย่านคลองสาม พบเจอสัตว์ประหลาดเข้าบ้าน ลักษณะคล้ายงูผสมกิ้งก่า เกิดมาไม่เคยพบเคยเห็น เปิดตำราชีววิทยาไขปริศนา พบว่าคือ "สางห่า" สัตว์ตระกูลจิ้งเหลนน้อยหางยาว

(7 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าผู้พักอาศัยที่บ้านหลังหนึ่งในหมู่บ้านพฤกษา 64/2 ต.คตลองสาม อ.คลองหลวงจ.ปทุมธานี สามารถจับสัตว์แปลกประหลาด คล้ายงูกับจิ้งเหลน แต่เมื่อลองสืบค้าข้อมูลทางสัตววิทยา ก็พบว่าคือ "สางห่า" สัตว์เลื้อยคลานชนิดคล้ายกับงูและกิ้งก่า อยู่ในวงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว

เมื่อเดินทางไปตรวจสอบ บริเวณร้านขายของชำได้พบ น.ส.ธรรมสรณ์ อายุ 36 ปี เจ้าของบ้าน ได้ยกกะละมังที่ภายในมีสัตว์ประหลาดคล้ายกิ้งก่าและงูในตัวเดียวกัน ลักษณะปากเรียวแหลม ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว ตัวเล็กหัวจรดปลายหางยาวถึง 40 เซนติเมตร ลักษณะเชื่อง ไม่กลัวคน และไม่ทำร้ายคน

ขณะที่ผู้พบเห็นสัตว์ดังกล่าวได้นำแมลงที่ร่วงอยู่ภายในบ้านตั้งแต่คืนที่ผ่านมา ที่มีฝนตกและแมลงเข้ามาเล่นไฟให้กิน แต่เจ้าสัตว์ตัวนี้ก็ไม่กิน ขณะที่บริเวณท้องมีลักษณะปล่องออก คล้ายกับกำลังตั้งท้องอยู่

น.ส.ธรรมสรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเที่ยงวันที่ผ่านมา ลูกสาววัย 2 ขวบ นั่งอยู่ในร้าน ก็พบเห็นสัตว์ดังกล่าวคลานเข้ามาภายในบ้าน ตนก็กลัวจะเกิดอันตรายจึงอุ้มลูกหนี แล้วใช้ไม้กวาดไล่ใส่กะละมังเอาไว้ ก่อนจะมานั่งพิจารณาดูก็พบว่าเป็นสัตว์ที่แปลกประหลาดมาก ไม่เคยพบเห็นมาก่อน

ต่อมาจึงได้ถ่ายภาพและแชร์ลงในกลุ่มแชทของหมู่บ้าน เพื่อสืบหาข้อมูลและตรวจสอบ กระทั่งทราบว่าสัตว์ตัวนี้คือ สางห่า หรือ จิ้งเหลนน้อยหางยาว ซึ่งหลังจากนี้จะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เพราะเกรงว่าหากเลี้ยงเอาไว้อาจจะตายได้ เพราะไม่รับประทานอาหาร

news07-1

ทั้งนี้ จากข้อมูลทางชีววิทยา พบว่าสัตว์ตัวนี้คือ "สางห่า" หรือ "จิ้งเหลนน้อยหางยาว" มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Takydromus sexlineatus เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่จัดอยู่ในอันดับ Squamata เช่นเดียวกับงูและกิ้งก่า จัดอยู่ในวงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว (Lacertidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับจิ้งเหลนในวงศ์ Scincidae หรือจิ้งเหลนทั่วไป แต่มีขนาดลำตัวเรียวยาวเล็กกว่า

จุดเด่นของมันคือ หางที่ยาวเรียวประมาณ 5 เท่าของขนาดลำตัว มีเกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลังและด้านท้องรูปร่างกลมและเรียบเป็นมัน เกล็ดเรียงซ้อนเหลื่อมกันและมีกระดูกในชั้นหนังรองรับ โดยมีลักษณะจำเพาะคือ เกล็ดแต่ละแผ่นมีกระดูกในชั้นหนังหลายชิ้น และมีเพดานปากแบบทุติยภูมิเจริญขึ้นมา

โดยปกติ สางห่าจะลำตัวมีสีน้ำตาลหรือสีเทา หรือเทาอมเขียว ขาหน้าและขาหลังค่อนข้างยาว นิ้วตีนยาว ทุกนิ้วมีเล็บ และตัวเล็บโค้งลงทางด้านล่าง ตัวผู้ที่ข้างลำตัวมีจุดกลมสีขาวอมเขียว 10–12 จุด ส่วนหัวของตัวเมียบนต้นไม้มีขนาดความยาวจากปลายปากถึงรูก้น 65 มิลลิเมตร และหางยาว 300 มิลลิเมตร

สัตว์ประเภทนี้พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชียในหลายประเทศ เช่น อินเดีย, ตอนใต้ของจีน, เกาะไหหลำ, ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ทั้งแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะต่างๆ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แม้แต่พื้นที่กรุงเทพมหานครก็อาจจะมีให้พบเห็นได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook