รพ.ดังยืดอกรับผิดชอบดูแล "เด็กมือใกล้เน่า" ยังไม่ชัดปมเสียบเข็มน้ำเกลือพลาด

รพ.ดังยืดอกรับผิดชอบดูแล "เด็กมือใกล้เน่า" ยังไม่ชัดปมเสียบเข็มน้ำเกลือพลาด

รพ.ดังยืดอกรับผิดชอบดูแล "เด็กมือใกล้เน่า" ยังไม่ชัดปมเสียบเข็มน้ำเกลือพลาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ตั้งโต๊ะแถลงชี้แจงดราม่า เด็กน้อยมือใกล้เน่า เพราะเสียบเข็มน้ำเกลือพลาด ไม่เข้าเส้นเลือด ทำให้กลายมีตุ่มน้ำและอักเสบ ครอบครัวเครียดจัดต้องโพสต์แฉ

จากกรณีที่ นายปัญญา อายุ 31 ปี ได้โพสต์เฟซบุ๊กร้องเรียนระบุว่า ลูกชายวัย 1 ปี 6 เดือน เข้ารักษาอาการผื่นคันที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ทำการเจาะสายน้ำเกลือผิดพลาด น้ำเกลือไม่ได้เข้าเส้นเลือด แต่กลับไปอยู่ใต้ผิวหนังของเด็กแทน ทำให้มีอาการผิวหนังอักเสบและมีตุ่มน้ำตามมือกับแขน ตามข่าวที่นำเสนอไปแล้วนั้น

ล่าสุดเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ที่ห้องประชุม 2 ชั้น 7 อาคารกิตติวัฒนาระยะที่ 2 รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้มีการแถลงข่าวกับสื่อมวลชน โดยมี นายปัญญา พ่อของเด็กชายที่มีอาการป่วยและบาดเจ็บจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ร่วมอยู่ในที่แถลงข่าวด้วย

>> พ่อลูกอ่อนสุดทน รพ.ดังทำชุ่ย เสียบเข็มน้ำเกลือพลาด ทำมือเด็กใกล้เน่า

รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดเผยว่า ตนรู้สึกเสียใจและเห็นใจทางครอบครัวของน้องที่เกิดเหตุการณ์ภาวะแทรกซ้อนในการรักษา ทำให้เกิดผิวหนังตายที่บริเวณมือ ซึ่งเหตุการณ์นี้ผู้ป่วยได้มาตรวจรักษาเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2562 เวลาประมาณ 20.00 น. โดยมาด้วยอาการผื่น

เบื้องต้นคิดว่าเป็นเรื่องของการแพ้ยา เพราะผู้ป่วยมีการทานยาปฏิชีวนะมาส่วนหนึ่งจึงรับเข้าดูแลรักษา เวลาประมาณ 00.20 น. วันที่ 8 เมษายน 2562 มีการเข้ารับการให้น้ำเกลือ เพื่อสังเกตอาการ หลังจากที่แทงน้ำเกลือแล้ว ถึงเวลา 08.00 น. โดยผู้ป่วยมีอาการกระสับกระส่าย บ่งบอกถึงความไม่สบายกาย จึงพบประเด็นสายน้ำเกลือที่เคลื่อนหลุด ทำให้เกิดอาการบวมที่ผิวหนัง ต้องทำการถอดน้ำเกลือออก

สาเหตุหลักคือ น้ำเกลือหลุดออกนอกเส้น ทำให้แผลกระจายไปทั่ว หลังจากนั้นแล้วเป็นแผลแทรกซ้อนจากน้ำเกลือไหลออกมาตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน ถึงวันที่ 10เมษายน โดยการที่น้ำเกลือเข้าไปแทรกนั้นคือการขาดเลือดของผิวหนัง ทำให้ผิวหนังมีสีคล้ำก่อนจะเป็นถุงน้ำเกิดขึ้นเหมือนผิวหนังที่ตาย

ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยมีทีมเข้าไปดูแล จากการประสานงานมาตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน โดยทางพ่อของผู้ป่วยยังไม่ได้รับคำตอบที่น่าพอใจ แต่ยืนยันว่าตั้งแต่วันเกิดเหตุผู้ป่วยได้รับการดูแลอยู่แล้ว ทางโรงพยาบาลมีความยินดีที่จะดูแลรักษาต่อ ค่าใช้จ่ายจากประวัติแทรกซ้อนให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายของทางโรงพยาบาลไป

จากการประสานจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า อาการบวมของผู้ป่วยปัจจุบันได้เริ่มยุบลงไปแล้ว เหลือเฉพาะจุดที่มีเนื้อตาย ที่ผ่านมา 3 วัน ทำให้รู้ขอบเขตของโรคแล้ว ผิวหนังที่ตายส่วนใหญ่ ถ้าเราทำแผลและทำการสมานแผลค่อนข้างจะหายรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มคนไข้ที่ยังเป็นเด็ก น่าจะขอเวลาอีกสัก 2 สัปดาห์ จึงจะสามารถบอกได้ว่า ควรจะดำเนินการรักษาต่อไปอย่างไร

ทั้งนี้ จากการพูดคุยกับพ่อของเด็กชาย ทราบว่า อยากให้ผู้ป่วยดูแลในห้องเดี่ยวพิเศษที่ผู้ป่วยรักษาอยู่แล้วก่อนหน้าทางโรงพยาบาลก็ยินดี ส่วนค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนเกิน ซึ่งเป็นภาระหนักของครอบครัว ทางโรงพยาบาลนั้นยินดีดูแลประสานต่อจนจบการรักษา

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ยังไม่ได้สรุปชัดเจนว่า เกิดขึ้นจากสาเหตุใด เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นห่างกัน 8 ชั่วโมง โดยได้มีการพูดคุยกันในทีมความเสี่ยงและทีมพยาบาลว่า การที่เราจะไปตรวจพบหรือพบภาวะแทรกซ้อนเร็วเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยแน่นอน เช่น เวลาตั้งแต่แทงค์น้ำเกลือ ไปจนถึงเวลา 08.00 น. อาจจะเกิดจากการแทงค์เข็มน้ำเกลือเลื่อนหลุด หรือว่าผู้ป่วยขยับแล้วเลื่อนหลุดเอง ซึ่งเวลาตรงนี้จะมีผลกระทบมาก หากทราบได้เร็ว ภาวะแทรกซ้อนก็จะน้อยลง ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลจะนำไปประสานการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook