นักวิชาการ ถอดบทเรียนไฟไหม้เซ็นทรัลเวิลด์ ห้างใหญ่ต้องเข้มงวดเรื่องบ่อบำบัดน้ำเสีย

นักวิชาการ ถอดบทเรียนไฟไหม้เซ็นทรัลเวิลด์ ห้างใหญ่ต้องเข้มงวดเรื่องบ่อบำบัดน้ำเสีย

นักวิชาการ ถอดบทเรียนไฟไหม้เซ็นทรัลเวิลด์ ห้างใหญ่ต้องเข้มงวดเรื่องบ่อบำบัดน้ำเสีย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(14 เม.ย. 62) นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Sonthi Kotchawat กล่าวถึงกรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยระบุว่า เรื่องนี้ถือเป็น ...บทเรียนจากการเกิดเพลิงไหม้ที่ระบบบำบัดน้ำเสียของโครงการขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่กับการจัดการที่ดีและปฎิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดของเจ้าของโครงการและความเข้มงวดกับการตรวจสอบของหน่วยราชการ

>> ปภ.คาดต้นเพลิง ไฟไหม้เซ็นทรัลเวิลด์ มาจากตะกอนชั้นใต้ดิน

กรณีที่เกิดเพลิงไหม้ที่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งทราบสาเหตุว่ามาจากที่บ่อบำบัดน้ำเสียที่ตั้งอยู่ชั้นใต้ดิน มีข้อสังเกตถึงสาเหตุของการเกิดปัญหาและการจัดการดังนี้

1.ระบบบำบัดน้ำเสียตั้งอยู่อาคารชั้นใต้ดินที่มีลักษณะค่อนข้างแคบโดยมีการระบายอากาศออกด้วยพัดลมดูดอากาศระบายไปที่ปล่องสู่บรรยากาศที่ชั้นบนของอาคาร การบำบัดน้ำเสียใช้ระบบตะกอนเร่ง (SBR) มีบ่อรวบรมน้ำเสีย บ่อเติมอากาศและบ่อตกตะกอน สามารถคาดการณ์ของการเกิดเพลิงไหม้จากบ่อน้ำเสียดังนี้

1.1.บ่อเติมอากาศมีออกซิเจนน้อยและบ่อตกตะกอนมีตะกอนสะสมอยู่นานเกินไปไม่มีการดูดไปกำจัดจึงทำให้เกิดปฎิกริยาAnoxic (อากาศมีน้อย) และ Anaerobic (ไม่มีอากาศ)ทำให้ เกิดก๊าซไวไฟต่างๆ เช่นก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซมีเทนและก๊าซไข่เน่าจำนวนมากขังอยู่ในตะกอนชั้นล่าง เมื่อมีความร้อนมากขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิในบรรยากาศที่ร้อนจัดในช่วงนี้ และความร้อนจากใต้ดินจนทำให้มีความร้อนในตะกอนมีอุณหภูมิสูงเกิน 55องศาจะยิ่งเร่งให้ก๊าซไวไฟดังกล่าวลอยขึ้นมาสะสมจนความเข้มข้นสูงขึ้นในบริเวณปากบ่อตกตะกอนและบรรยากาศใกล้เคียง ประกอบกับระบบระบายอากาศ เช่นพัดลม (Blower) ขัดข้องหรือมีประสิทธิภาพต่ำทำให้การระบายก๊าซไวไฟดังกล่าวออกไม่ดีนัก จนทำให้มีก๊าซมีเทนสะสมสูงถึง50,000ส่วนในล้านส่วนของอากาศหรือมีค่าLELเกินร้อยละ5 ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ต่ำสุดที่จะทำให้เกิดการระบิดหรือติดไฟได้เมื่อมีความร้อนและออกซิเจนเพียงพอ ดังนั้นหากมีประกายไฟเกิดขึ้น เช่นไฟฟ้าลัดวงจร เกิดประกายไฟจากปั๊มสูบน้ำ เป็นต้น ก็ทำให้เป็นสาเหตุของเกิดการระเบิดและเกิดเพลิงไหม้ได้

1.2.การจัดการเพื่อป้องกันการระเบิดจากก๊าซมีเทนคือ ต้องมีระบบระบายก๊าซมีเทนออกจากระบบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันโครงการทั่วไปจะถูกกำหนดให้ระบายไปกำจัดที่บ่อดินขนาดไม่เกิน10ตารางเมตร, ต้องทำการขุดลอกหรือดูดตะกอนออกสม่ำเสมอตามที่ออกแบบไว้, อุปกรณ์ต่างๆในพื้นที่สำหรับบำบัดน้ำเสียจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ป้องกันการเกิดประกายไฟ (fire proof),ต้องมีการตรวจสอบระบบระบายอากาศให้สามารถทำงานได้ตลอดเวลาและกำหนดให้มีก๊าซออกซิเจนในพื้นที่ดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ19.5 ,ต้องติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย เช่นตรวจจับความร้อน ตรวจจับควัน ตรวจจับไอระเหยของสารติดไฟ เป็นต้น,ที่สำคัญต้องจัดให้มีบุคคลากรควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียทำหน้าที่ดูแลอยู่ประจำและต้องปฎิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

2.โครงการได้ดำเนินการตามกฎกระทรวงตามมาตรา 80 แห่งพรบ.ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535หรือไม่ กล่าวคือ ตามกฎหมายได้กำหนดให้แหล่งกำเนิดมลพิษ เช่นโรงแรม ห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ต้องจดบันทึกรายละเอียด สถิติ ข้อมูลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ลงในแบบ ทส.1 เป็นประจำทุกวัน เก็บไว้ ณ สถานที่ตั้งของแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นเป็นระยะเวลา 2 ปี นับรวมทั้งต้องจัดทำรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละเดือนลงในแบบ ทส.2 และเสนอรายงานดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป..กรุงเทพมหานครต้องไปตรวจสอบอย่างเคร่งครัดว่าดำเนินการหรือไม่มีผลคุณภาพน้ำที่ปล่อยออกเกินค่ามาตรฐานหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook