พระราชพิธีบรมราชาภิเษก: การออกพระนามพระมหากษัตริย์
การออกพระนามพระมหากษัตริย์
ตั้งแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถือเป็นธรรมเนียมว่าพระนามของพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงรับบรมราชาภิเษกนั้น จะออกพระนามเดิมและต่อท้ายด้วยคำว่า “ซึ่งทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน”
ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พบหลักฐานในหนังสือแสดงกิจจานุกิจของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ [ทิ-พา-กอ-ระ-วง] (ขำ บุนนาค) ว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสวรรคตแล้ว ได้ออกพระนามพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวร” ทันที มิได้รอไว้จนทรงรับบรมราชาภิเษก
ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์จึงทรงเห็นพ้องกันให้เปลี่ยนคำออกพระนามพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้นจาก “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชผู้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน” เป็น “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ตั้งแต่วันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓
และถือปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบันว่าให้ออกพระนามพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้รับบรมราชาภิเษกว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”