"หมอแล็บแพนด้า" ไขปริศนา ผู้ป่วยรับเลือดติดเชื้อ HIV ได้อย่างไร

"หมอแล็บแพนด้า" ไขปริศนา ผู้ป่วยรับเลือดติดเชื้อ HIV ได้อย่างไร

"หมอแล็บแพนด้า" ไขปริศนา ผู้ป่วยรับเลือดติดเชื้อ HIV ได้อย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณี นายทาเครุ หนุ่มลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น อายุ 24 ปี ผู้ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย ได้เข้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนดัง หมดค่ารักษาพยาบาลไปกว่า 7 ล้าน แต่ต่อมากลับพบว่าติดเชื้อ HIV ซึ่งคาดว่ามาจากการถ่ายเลือดระหว่างการรักษา โดยหลังจากผู้ป่วยหันไปพึ่งสมุนไพร 2-3 ปี พอกลับมารักษาที่โรงพยาบาลกลับถูกปฏิเสธ บอกให้ไปใช้สิทธิ์ 30 บาทแทน ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น

ล่าสุด (10 พ.ค.) นายภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ หรือ หมอแล็บแพนด้า ได้มาโพสต์อธิบายถึงข้อสงสัยของใครหลายคนว่าเลือดที่นำไปให้ผู้ป่วยมีการตรวจหาเอชไอวีหรือไม่ หมอแล็บแพนด้าย้ำว่าก่อนให้เลือดกับผู้ป่วย ทางห้องแล็บจะมีการตรวจหาเชื้อเอชไอวีทุกถุงด้วยหลักการตรวจ 2 หลักการ คือ

วิธีที่ 1 วิธีที่ตรวจหาเชื้อเอดส์โดยการตรวจหาโปรตีนของเชื้อ และตรวจหาภูมิคุ้มกันที่ร่างกายคนสร้างขึ้น

วิธีที่ 2 เป็นวิธีที่ดีที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน ก็คือการตรวจหา DNA ของเชื้อ HIV

ส่วนสาเหตุที่ทำไมผู้ป่วยถึงติดเชื้อ HIV ได้นั้น เพราะการตรวจหาเชื้อ HIV มีข้อจำกัดคือจะตรวจเจอเชื้อได้เร็วที่สุดประมาณ 11 วัน โดยเฉลี่ย ต้องรอให้ขยายพันธุ์ หรือเพิ่มปริมาณในร่างกายเราก่อน ประมาณวันที่ 11 หลังจากรับเชื้อจึงจะตรวจเจอ

หมอแล็บแพนด้า ระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าว อาจจะเกิดขึ้นเพราะมีคนตีเนียนอยากตรวจ HIV ฟรี เพราะไม่กล้าไปตรวจที่โรงพยาบาล เมื่อทำแบบสอบถามก่อนบริจาคเลือดถึงความเสี่ยง ก็มักจะตอบว่าไม่เสี่ยง 

ทั้งนี้ หมอแล็บแพนด้า วิงวอนว่าพฤติกรรมดังกล่าวไม่ควรทำ และขอให้เห็นแก่เด็กๆ หรือผู้ป่วยที่ต้องรับเลือด เพราะเครื่องไหนก็ตรวจหาเชื้อ HIV ไม่เจอ ต้องรอประมาณ 11 วัน พร้อมแนะนำให้คนที่สงสัยว่าตัวเองติดเชื้อไปคลินิกนิรนาม ที่มีเครื่องมือและมียาฟรี รวมถึงจำหน่ายยาในราคาถูกจะดีกว่า

>> หนุ่มลูกครึ่งป่วยลูคีเมีย หมดเงินรักษา รพ.ดัง 7 ล้าน ช็อกติดเชื้อ HIV หลังถ่ายเลือด

>> โรงพยาบาลดังชี้แจงแล้ว ดราม่ารักษาหนุ่มลูกครึ่งป่วยลูคีเมีย ถ่ายเลือดติดเชื้อ HIV

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook