เปิดประมวลจริยธรรมผู้พิพากษา “ผมเพื่อนโชค” เหมาะสมหรือไม่
เปิดประกาศ “จริยธรรมของข้าราชการตุลาการ” หมวด 5 ข้อ 35 ต้องเคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ถามหาความเหมาะสมคนในคลิปฉาว “ผมเพื่อนโชค”
จากเหตุการณ์คลิปฉาว “ผมเพื่อนโชค” นำไปสู่การถามหาการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมและเป็นแบบอย่างของคนในคลิป ที่กระแสสังคมออนไลน์กำลังวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของผู้ที่อ้างว่าอยู่ในตำแหน่งผู้พิพากษา ว่าการปฏิบัติตนเช่นนั้นควรหรือไม่ควรอย่างไร
แน่นอนเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะนี้มีความคืบหน้าเมื่อ ผบช.ภ.8 ได้มีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง เป็นการเคลียร์ภาพ สะสางความสะอาดของวงการสีกากี ขณะเดียวกันในส่วนของอีกฝ่ายที่อ้างมีตำแหน่งเป็นถึงผู้บริหารฝ่ายตุลาการในคลิปนั้นยังคงมีเครื่องหมายคำถามที่ปรากฏเป็นภาพคลุมเครือในสู่สายตาประชาชนอยู่
>> ผบช.ภ.8 สั่งขีดเส้น 5 วัน สางปมคลิป "ผมเพื่อนโชค"
สำหรับเรื่องการปฏิบัติตนของผู้พิพากษานั้น มีระบุไว้ตาม "ประกาศคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม เรื่อง จริยธรรมของข้าราชการตุลาการ พ.ศ.2552 ณ วันที่ 29กันยายน พ.ศ.2552 ในหมวด5 เกี่ยวกับจริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว มาให้เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยในบทบัญญัติ ข้อ 35 ผู้พิพากษาจักต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด อยู่ใน กรอบของศีลธรรม และพึงมีความสันโดษ ครองตนอย่างเรียบง่าย สุภาพ สำรวมกิริยามารยาท มีอัธยาศัย ยึดถือจริยธรรมและประเพณีอันดีงามของตุลาการ ทั้งพึงวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธา ของบุคคลทั่วไป
ขณะที่ในบทบัญญัติ ข้อ 35/1 ผู้พิพากษาไม่พึงร้องเรียน กล่าวหา ฟ้องร้อง หรือดำเนินคดีแก่บุคคล หนึ่งบุคคลใดโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ทั้งไม่พึงใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหาย แก่บุคคลอื่น การร้องเรียน กล่าวหา ฟ้องร้อง หรือดำเนินคดีแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยอาศัย ประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ของตนจะกระทำ
เชื่อว่าขณะนี้สังคมยังคงรอคอยคำตอบที่มาจากฝ่ายผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นตุลาการ ซึ่งตั้งมั่นทำหน้าที่รักษาความยุติธรรมให้กับสังคมไทย พร้อมกับตั้งความหวังว่าในกรณีดังกล่าวจะไม่มีเหตุมวยล้มต้มคนดูออกมาให้
>> ผมเพื่อนโชค คืออะไร ทำไมคนเตรียมทำเป็นสติ๊กเกอร์ติดรถ หวังแคล้วคลาดทุกด่านตรวจ