สุดยอด จีนติดเกราะสนามบินใหม่กรุงปักกิ่ง ด้วย “เรดาร์” ตรวจอากาศล้ำสมัย

สุดยอด จีนติดเกราะสนามบินใหม่กรุงปักกิ่ง ด้วย “เรดาร์” ตรวจอากาศล้ำสมัย

สุดยอด จีนติดเกราะสนามบินใหม่กรุงปักกิ่ง ด้วย “เรดาร์” ตรวจอากาศล้ำสมัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ต้าซิง (Beijing Daxing International Airport) ซึ่งเป็นสนามบินแห่งใหม่ของนครหลวงแดนมังกรที่คาดว่าจะคว้าสถิติขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ได้ติดตั้งระบบเรดาร์ล้ำยุคที่จะช่วยพยากรณ์อากาศได้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น

รายงานระบุว่า ส่วนหนึ่งของระบบใหม่เป็นเรดาร์ตรวจอากาศที่มีความยาวคลื่นระดับมิลลิเมตร และพัฒนาโดยสถาบันวิจัยในเครือบริษัทวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมการบินและอวกาศแห่งประเทศจีน (CASIC)

เรดาร์ระบบใหม่สามารถติดตามสภาพเมฆ หมอก หิมะ และละอองฝนภายในรัศมี 60 กิโลเมตรรอบสนามบิน ซึ่งจะยกระดับการพยากรณ์อากาศให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึงแจ้งข้อมูลแบบเรียลไทม์และเตือนสภาพทัศนวิสัยต่ำล่วงหน้า

รายงานเสริมว่า สนามบินปักกิ่ง ต้าซิง ยังจะติดตั้งระบบเรดาร์ตรวจขอบเขตลมอีกสองตัวและระบบเรดาร์ตรวจลมชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ตอนล่าง ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันวิจัยในเครือบริษัทซีเอเอสไอซีในเร็วๆ นี้ด้วย

นอกจากนั้นบริษัท ไชน่า อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี กรุ๊ป คอร์เปอเรชั่น (CETC) ได้พัฒนาระบบเรดาร์ตรวจอากาศด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ซึ่งมีความเร็วในการวิเคราะห์ข้อมูล ความแม่นยำ และการตรวจสอบดีกว่าระบบเรดาร์ทั่วไป

เรดาร์ระบบใหม่จะใช้เวลาเพียง 1 นาทีในการวิเคราะห์ข้อมูล ขณะเรดาร์ระบบก่อนหน้าต้องใช้เวลาราว 6 นาที และระบบใหม่สามารถทำงานต่อเนื่องนาน 3,000 ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าระบบเรดาร์ทั่วไปถึง 5 เท่า

ทั้งนี้ ทีมนักพัฒนาเผยว่าเรดาร์ระบบใหม่สามารถตรวจสอบสภาพอากาศเลวร้ายอย่างพายุฝนฟ้าคะนองและกระแสลมแรงได้รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น

>> เครื่องบินโดยสารทดสอบลงจอดสนามบินปักกิ่ง “ต้าซิง” ครั้งแรกสำเร็จ

>> ได้ฤกษ์แล้ว จีนเตรียมเปิด “ต้าซิง” สนามบินหงส์ไฟก่อนฉลองวันชาติปีนี้

>> สมศักดิ์ศรีว่าที่สถิติโลก สนามบินใหม่กรุงปักกิ่ง ติดตั้งอลังการงานหลังคา

>> ปักกิ่งสร้างสนามบินใหม่ จ่อเป็นศูนย์การบินใหญ่สุดในโลก

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ สุดยอด จีนติดเกราะสนามบินใหม่กรุงปักกิ่ง ด้วย “เรดาร์” ตรวจอากาศล้ำสมัย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook