คืนนี้รอชม "ดาวเคียงเดือน" ดาวเสาร์ปรากฏเคียงดวงจันทร์ ห่างประมาณ 2.8 องศา

คืนนี้รอชม "ดาวเคียงเดือน" ดาวเสาร์ปรากฏเคียงดวงจันทร์ ห่างประมาณ 2.8 องศา

คืนนี้รอชม "ดาวเคียงเดือน" ดาวเสาร์ปรากฏเคียงดวงจันทร์ ห่างประมาณ 2.8 องศา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนชม “ดาวเคียงเดือน” คืน 22 พฤษภาคม ถึง รุ่งเช้า 23 พฤษภาคม 2562 “ดาวเสาร์ปรากฏเคียงดวงจันทร์” ห่างประมาณ 2.8 องศา

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2562 จะเกิดปรากฏการณ์ “ดาวเคียงเดือน” ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ปรากฏบนท้องฟ้าเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทั่วประเทศ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2562 “ดาวพฤหัสบดีปรากฏเคียงดวงจันทร์” สังเกตได้ตั้งแต่เวลา 20:30 น. เป็นต้นไป และวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 “ดาวเสาร์ปรากฏเคียงดวงจันทร์” เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 22:20 น. เป็นต้นไป ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ห่างประมาณ 2.8 องศา และจะปรากฏใกล้กันมากที่สุดประมาณ 1 องศา ในช่วงรุ่งเช้าของวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 หากใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4 นิ้ว มีกำลังขยาย 50 เท่าขึ้นไป ช่วยสังเกตการณ์ จะมองเห็นวงแหวนดาวเสาร์ได้อย่างชัดเจน ผู้สนใจสามารถรอชมความสวยงามของปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนดังกล่าว ดูได้ด้วยตาเปล่าทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

“ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน” ถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจากดวงจันทร์และดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ ตามคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดังนั้น การที่ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกัน หรือเคลื่อนที่มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันจึงถือเป็นเรื่องปกติ  

ทั้งนี้ นายศุภฤกษ์กล่าวปิดท้ายว่า หลังจากนี้ โลกจะโคจรเข้าใกล้ดาวเคราะห์ทั้งสองมากขึ้นเรื่อยๆ ดาวพฤหัสบดีจะอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี วันที่ 10 มิถุนายน 2562 และดาวเสาร์จะอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี วันที่ 9 กรกฎาคม 2562 ส่งผลให้ดาวเคราะห์ทั้งสองมีขนาดปรากฏใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และจะสามารถสังเกตการณ์ได้ยาวนานขึ้นตลอดทั้งคืน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook