ดราม่ากรมศิลป์ฯ บูรณะเพนียดคล้องช้าง ชาวบ้านทวงคืนหัวเสาตะลุงหวั่นอาถรรพ์

ดราม่ากรมศิลป์ฯ บูรณะเพนียดคล้องช้าง ชาวบ้านทวงคืนหัวเสาตะลุงหวั่นอาถรรพ์

ดราม่ากรมศิลป์ฯ บูรณะเพนียดคล้องช้าง ชาวบ้านทวงคืนหัวเสาตะลุงหวั่นอาถรรพ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้ใหญ่บ้านสะอื้นไห้ จวกยับกรมศิลป์ฯ บูรณะหรือทำลาย วอนขอเสาตะลุงกลับไปสภาพเดิม ชาวบ้านหวั่นอาถรรพ์ลบหลู่ต้องมีคนตาย

จากกรณีที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้บูรณะซ่อมแซมเพนียดคล้องช้าง ม.3 ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งชาวบ้านพบว่า การบูรณะซ่อมแซมครั้งนี้ มีการตัดหัวเสาตะลุงที่อยู่ด้านนอกเพนียด หรือที่เรียกว่าปีกกาออกทั้งหมด ทำให้สภาพเพนียดคล้องช้างเปลี่ยนไป จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ถึงการตัดหัวเสาตะลุงครั้งนี้ ชาวบ้านทนไม่ได้รวมตัวออกมาประท้วง

ล่าสุด รายการโหนกระแสวันที่ 28 พ.ค. โดย "หนุ่ม-กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัดออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 13.45 – 14.25 น. ทางช่อง 28 ได้เปิดใจสัมภาษณ์ "นพพร ขันธนิกร" ผู้ใหญ่บ้าน มาพร้อมกับ "เสรี ขันธนิกร" อดีตผู้ใหญ่บ้าน "อ.สายัณห์ ขันธนิยม" ตัวแทนชาวบ้าน และ "จงกล ชินวัตร" ชาวบ้าน

นพพร ขันธนิกร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 สวนพริกนพพร ขันธนิกร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 สวนพริก

ผู้ใหญ่อัดอั้นยังไง?

นพพร : "เรื่องมันเกิดจากว่ากรมศิลป์เข้ามาบูรณะ แต่คำว่าบูรณะครั้งนี้ ใช้กับเสาตะลุงหรือเพนียดคล้องช้างของเราไม่ได้"

กรมศิลป์เขามีนโยบายว่าต้องบูรณะเพนียดคล้องช้าง มีงบประมาณมาเท่าไหร่?

นพพร : "งบประมาณผมไม่ทราบหรอก เพราะผมไม่มีการเข้าประชุมประชาคมหรือเป็นตัวแทนชาวบ้านมาประชุมประชาคมครั้งนี้ ผมไม่สามารถรับรู้ตรงนี้เลย เพราะการประชุมประชาคม ผู้รับเหมามาประชุมบนพลับพลาเพนียดมีการบวงสรวง แต่สิ่งที่ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำท้องถิ่นหรือชาวบ้านก็แล้วแต่ ไม่มีการรับรู้ในส่วนตรงนั้น"

แว่วมาว่าน่าจะกว่า 30 ล้าน?

นพพร : "ใช่"

สิ่งที่ต้องทำ มีอะไรบ้าง?

นพพร : "มีปรับปรุงพลับพลาเพนียด เชิงเทิน ปีกกา เสาตะลุงทั้งหมด เสาโตงเตงทั้งหมด เสาโตงเตงจะใหญ่กว่าเสาตะลุงสักประมาณ 3 เท่า ถ้ามองตรงๆ ณ ตอนนี้ไม่ใช่เสาตะลุงแล้ว เป็นเสาตะพาน

สรุปแล้ว มีมติออกมาให้มีการบูรณะเพนียด ?

นพพร : "คำว่าบูรณะจริงๆ แล้วพวกผม ชาวบ้าน เราดีใจ มีการปรับปรุงแก้ไข ชาวบ้านก็ดีใจ แต่ไม่ทราบว่าสิ่งที่ผมพูดออกไปจะเป็นประโยชน์หรือเป็นภัย แต่สิ่งที่ได้กลับมาตอนนี้ผมไม่ได้เสาตะลุง ผมได้เสาตะพานหรือหลักกิโลก็ยังไม่รู้ ผมมองไม่ออก วันนี้ผมได้พบท่านผอ.อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ผมก็บอกว่าขอทางแก้ไข ขอปรึกษา ทบทวน ชี้แจงให้หน่อยว่าที่จะปรับปรุงนี่ปรับปรุงอะไรบ้าง  แต่ที่มองเห็น ณ ตอนนี้ ไม่ใช่ผมมองคนเดียว ชาวบ้านก็มอง มันไม่ใช่การแก้ไขแล้ว ผมมองว่าทำลายหรือเปล่า ตอนนี้เสาตะลุงเป็นเสาพิการแล้วนะ"

อ.สายัณห์ ขันธนิยม ตัวแทนชาวบ้าน (เสื้อดำ)อ.สายัณห์ ขันธนิยม ตัวแทนชาวบ้าน (เสื้อดำ)

อ.สายัณห์  เรื่องราวมันเกิดอะไรขึ้น ผู้ใหญ่เขาเดือดจัดเลยนะ?

อ.สายัณห์ : "เรื่องปีกกาที่ดั้งเดิม ที่เขาเรียกว่าหัวเม็ด เป็นหัวกลมเหมือนกับบัว"

สรุปกรมศิลป์เขาเข้ามาทำไปแล้ว ทำไปนานหรือยัง?

อ.สายัณห์ : "ทำนานแล้ว เป็นปี ซึ่งเราไม่สามารถเห็นได้ เพราะเขาเอาสังกะสีล้อมรั้วอยู่ เราขับรถผ่านทุกวันก็ไม่เห็น แต่วันนึงเราเห็นแล้วว่าเสาไม่มีหัว ก็คิดว่าหัวจะมาทีหลัง พอเสร็จมีชาวบ้านมาคุยกัน ขับรถมาจะไปดู ปรากฎว่าเสาตะลุงไม่มีหัวแล้ว ซึ่งรับไม่ได้ สองในเรื่องคนไทยเราชอบทำอะไรทุกอย่างต้องมีความคิด การเอาเสาไปตัดกลางแจ้ง เสาตัดฝนตกลงมา เนื้อไม้จะแตก ฝนตกก็ซึมไปด้านใน คนไทยเราก็กลึงมา รักความสวยงามก็ก็ทำเป็นศิลปะ กลึงหัวให้เรียบร้อย"

นพพร : "ก่อนทำเป็นหัวบัวตูม ฝนตกจะไหลออกด้านข้าง เป็นความชาญฉลาดของคนโบร่ำโบราณ"

แต่นี่ตัดหัวเลย มันถูกมั้ย?

เสรี : "ไม่ถูกหรอกครับ ประวัติเก่าแก่ หัวก็ต้องเป็นแบบดอกบัวตูม มีคั่นคอ แล้วเสาตะลุงเป็นไม้คาด ยึดเหยียดยาวไปเลย กันล้ม ข้างล่างมีเป็นร่อง ตีนเสาตะลุงก็เจาะน็อตร้อยแล้วขันน็อตล็อกเสาตะลุง แล้วไปคาดบนอย่างนี้ คอก็ต้องคาดเป็นดอกบัวตูม"

วันนี้หัวตัด?

นพพร : "มันงงจนคำตอบเราไม่มี ทั้งที่เราเกิดที่นี่ แต่เราจะตายที่นี่เปล่าไม่รู้ แต่ถ้าเลือกได้ก็คงตายที่นี่อยู่แล้ว จะให้ผมไปตายโคนเสาตะลุงหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่สิ่งที่ผมพูดเป็นตัวแทนชาวบ้านที่ต้องพูด เสาตะลุงมันกลายเป็นเสาตะพานหรือหลักกิโล ผมไม่รู้จะโดนฟ้องหรือเปล่า แต่ผมเป็นตาสีตาสา หาเช้ากินค่ำ แต่ผมก็เป็นหนึ่งในประชาชนตรงนี้ แต่สิ่งที่ได้รับแค่สายตาก็ทำร้ายจิตใจแล้ว"

ขอย้อนกลับไป เสาตะลุงปีกกาด้านนอก มีเอาไว้ทำอะไร ?

นพพร : "เอาไว้ต้อนช้าง เพื่อทำพิธีคล้องช้าง ตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณแล้ว อันนี้ปู่ย่าตายายสั่งสอนมา เราอธิบายให้ฟังมาตลอดว่าตรงนี้เป็นที่ต้อนช้างให้เข้ามาในซองเล็กๆ เพื่อทำพิธีคล้องช้าง"

เสรี : "ธรรมดาเลยเดิม สมัยก่อนปู่ผมไปต้อนช้างป่ามา แกเป็นกรมช้างหลวง แกก็ต้อนมาก็เข้าปีกกา แล้วเข้าผ่านเสาโตงเตงไปเพนียด แล้วนำไปคล้องในเพนียด"

เอาง่ายๆ เราต้องเอาช้างไปอยู่ในนี้แล้วไปคล้องช้างในนี้ เสาพวกนี้ ลักษณะเหมือนเป็นคอกที่ล้อมเอาไว้ เสาตะลุงทำเหมือนคอกที่ตั้งเรียงๆ กัน ช้างก็อยู่ในคอก เราก็ไปคล้องกันในนั้น แต่ทีนี้ประเด็นคือฝั่ง ผอ.อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา เขาบอกว่าสมัยก่อน ร.4 เคยมีภาพถ่ายออกมา เพนียดคล้องช้างตรงเสาตะลุงหัวมันตัดอยู่ กรมศิลป์บอกว่าพยายามทำให้เหมือนสมัย ร.4?

เสรี : "ที่ไหนล่ะครับ หัวตัดแบบนี้ เพราะเพนียดประวัติศาสตร์ยังไงก็ไม่เคยมี"

นพพร : "ไม่เคยมี เกิดมาก็เห็นมีบัวแล้ว ปู่ย่าตายายที่เกิดมาเป็นร้อยๆ ปีก็มีบัวแล้ว ปู่ย่าตายายสอนมา เล่าให้ฟังก็มีบัวแล้ว"

จงกล : "ไม่ใช่อย่างนี้เด็ดขาด ของเราเดิมๆ"

เสรี : "ถ้าสมัย ร.4 พลับพลาอยู่ที่ไหน อาจไม่ใช่อยุธยาก็ได้ ตรงนี้อาจเป็นการทำชั่วคราวไว้เพื่อการแสดง ไม่ใช่ของแท้"

อ.สายัณห์ : "ประเด็นที่กรมศิลปิ์บอกคือเสาหัวตัด ขณะนี้ ถ้าเปรียบเทียบภาพนี้ คือภาพนี้คือเสาปีกกา แต่ผมอ่านในหนังสือ ใน ร.5 คล้องช้างให้กับมกุฎราชกุมารของรัสเซีย เป็นการคล้องช้างกลางเพนียด เสาตะลุงอันนี้อาจสร้างมาชั่วคราว สร้างมาใหม่ เห็นการปักมั้ยครับว่าเอียงเข้า การเอียงเข้าคือการช้างดัน สองอาจป้องกันน้ำไม่ให้ไหลลงตรงๆ"

กำลังจะบอกว่า ผอ.ผิดพลาด?

อ.สายัณห์ : "ผมไม่รู้ว่าผิดพลาดหรือไม่ผิดพลาด กรมศิลป์เขาก็ยอมรับของเขาว่าเขาทำตามระบบระเบียบ แต่เพนียดบูรณะมาสามสี่ครั้งแล้ว แต่ทำไมเพิ่งมาพลิกตรงนี้ ตรงนี้คือประเด็นที่เราสงสัย"

ในอดีตก็มีบูรณะเรื่อยๆ เป็นหัวบัวหมด?

อ.สายัณห์ : "ตั้งแต่ 30 แล้ว 40 จนครั้งนี้ แล้วทำไมครั้งนี้ถึงคิดจะเป็นหัวแบบนี้ ประเด็นนี้ทำไมกรมศิลป์ถึงมาคิดได้ว่าสมัย ร.4 ถึงตอนนี้ยังไม่ได้ดู เพราะเราเข้าไม่ได้"

นพพร : "เข้าไม่ได้เลย"

จงกล : "เขาปิดไม่ให้หายใจเลย"

นพพร : "ทำเป็นหัวกลม แต่ตัวคานรับความแน่นหนา ที่กลึงน็อตเพื่อสร้างความแน่นหนาก็ไม่มี"

ไปดูหอพระพิฆเนศหรือยัง?

นพพร : "ยัง เขาไม่ให้เข้า ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ ไม่มีโอกาสเลย"

อ.สายัณห์ : "เสาโตงเตงก็คานหายไป เสาตะลุงข้างในก็เห็นแต่ภาพ"

ธรรมดาต้องมีคานยึดคาดกลางเพื่อให้เสาแข็งแรง?

อ.สายัณห์ : "ถ้าช้างดันเข้าไปเสาจะไม่ขาด"

นพพร : "เขายังไม่มีคำตอบให้ที่ชัดเจน แต่ผมถามว่าชาวบ้านสอบถามว่าเราจะมีการต่อหัวบัวมั้ย เขาบอกว่าไม่มี จะใช้ของในส่วน ร.4"

ไปฟัง ผอ.พูดสักนิด?

ผอ. : "ขออนุญาตและชี้แจงในจุดนี้ ขออธิบายก่อน กับพ่อแม่พี่น้องเรื่องการบูรณะ หลักของเราคือกลับไปหาของแท้ดั้งเดิม ทีนี้ของแท้ดั้งเดิม ที่นี่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งแต่สมัยพระมหาธรรมราชาโน่นหลายร้อยปีที่แล้ว"

ยังไงครับ?

นพพร : "ตั้งแต่สมัย ผอ.กล่าวมา ผมไม่ทัน หรือผมตายไปแล้วมาเกิดใหม่ผมก็ตอบไม่ได้ แต่ที่ผมพูดเนี่ยชาวบ้านขอแค่กลับมาในสภาพเดิมก่อนที่ทำ ปรับปรุงแต่ไม่ใช่ทำลาย ถ้าได้ทุกสิ่งทุกอย่างกลับมาในรูปแบบเดิม ชาวบ้านก็ไม่มีปัญหาอะไรเพราะเราอยากให้สถานที่ท่องเที่ยวเพนียดคล้องช้างของเรา ได้เป็นมรดกโลก"

จงกล ชินวัตร ชาวบ้าน (เสื้อเหลือง)จงกล ชินวัตร ชาวบ้าน (เสื้อเหลือง)

พี่จงกลยอมมั้ย?

จงกล : "ไม่ยอม ป้าไม่ยอม เพิ่งจะรู้เมื่อเช้านี้ ปิดไม่ให้เราดูแม้แต่นิดเดียว"

อ.สายัณห์ : "ไม่ยอม ไงก็ต้องเอาของเดิมไว้ เราเข้าใจว่ากรมศิลป์ทำตามระบบระเบียบ แต่ต้องดูความรู้สึกชาวบ้านด้วย คำว่าเสาตะลุงต้องมีหัวแบบนี้"

เสรี : "จะเปลี่ยนไปเป็นหัวตัดแบบนี้ไม่ได้"

เขาบอกว่ามีอาถรรพ์ ถ้าเสาตะลุงไม่มีหัว เป็นสิ่งที่ไม่ดี?

เสรี : "เหมือนคนหัวขาด ลุงไม่ยอม อะไรผิดแผกไป ดั้งเดิมมายังไงก็ขอให้เป็นอย่างนั้น"

เสรี ขันธนิกร อดีตผู้ใหญ่บ้านเสรี ขันธนิกร อดีตผู้ใหญ่บ้าน

มีอาถรรพ์มั้ยเสาหัวขาด?

เสรี : "เหมือนบุคคลหัวขาด ที่นั่นมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์นะครับ มีศาลเจ้าอยู่สองหลัง ศาลกรมหลวงเทพ อีกศาลพุทธเจาเสือ ศักดิ์สิทธิ์มาก ทุกปีวันเทศกาลต้องทำบุญทุกปี แล้วต่อไปตั้งเสาหัวขาดแบบนี้ คนก็ไม่เลื่อมใสเหมือนแต่ก่อน เหมือนหัวไม่มี เขาถือกัน"

จงกล : "เรื่องนี้เขาถือ เหมือนเสาหัวขาด มีคนเอาเสาตะลุงไปไว้ที่บ้านตัวเองก็ตายเลย ตอนแรกไม่เชื่อ แต่ยืนยันว่าศักดิ์สิทธิ์ ต้องทำให้เหมือนเดิม วุ่นวายคอยดู ชาวบ้านเขาไม่ยอม เมื่อเช้าเกือบร้อยคน หัวเด็ดตีนขาก็ไม่ยอม ต้องทำบัวตูมให้เราเหมือนเดิม"

นพพร : "ถ้าเราไม่ได้ข้าราชการหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่จะช่วยเราได้เราก็ขอดลจิตดลใจให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำให้สิ่งที่เราตั้งใจกลับมาให้ได้ (ร้องไห้) ยังไงนี่ก็คือสิ่งศักดิ์ของเราแล้ว เราต้องใช้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าช่วย (ร้องไห้)"

ชาวบ้านเสียใจกันมาก?

นพพร : "เสียใจมาก สองวันที่ผ่านมาชาวบ้านเครียดมากกับเสาตะลุง"

ในมุมอาจารย์ล่ะ?

อ.สายัณห์ : "กรมศิลป์เราก็เข้าใจ การทำแบบนี้กรมศิลป์ก็เข้าใจระบบราชการ พยายามยึดประเพณีเดิม แต่ประเพณีเดิมอันนี้เสาที่มีหัวก็เกือบร้อยปีแล้ว ที่เราเห็นมาทั้งเสาตะลุง ข้างใน ตัวเพนียด เสาตะลุงปีกกาที่ศอกเข้ามาต้อนช้างมาที่แคบๆ เพื่อเข้าเพนียดผ่านเสาโตงเตงเข้าไป ตรงนี้ที่เราเห็นมาก็ร้อยกว่าปี เราหกเจ็ดปี พ่อแม่เขาเล่ามาว่ามีหัวเสามา"

พ่อแม่คุณตาเล่ามั้ยเสามีหัว?

เสรี : "เล่ามาตลอดครับ ว่าดั้งเดิมเขามีอย่างนี้ ตอนนี้ผมอายุ 70 กว่า ปู่ผมอายุเท่าไหร่ เป็นกรมช้างหลวงด้วย เขาก็บอกว่าต้องมีหัว"

อาจารย์ยืนยันว่าภาพหัวขาดน่าจะเกิดในสมัย ร.5 มันก็มีการทับซ้อนกันนิดนึง เพราะกรมศิลป์อ้างว่าน่าจะเป็นภาพใน ร.4 แต่อาจารย์บอกว่า ร.5?

อ.สายัณห์ : "เดี๋ยวผมจะหาภาพมาให้ดูอีก เขาเขียนบรรยายไว้ว่า คล้องช้างกับช้างกลางแปลง ไม่ได้อยู่ในเพนียด เป็นการทำชั่วคราว ผมเคยดูภาพวาดของวัดสุวรรณดาราราม ซึ่งเป็นวัดประจำราชวงศ์จักรี ร.1 สร้างมา ในภาพนั้นก็มีหัวบัว คล้ายปลัดขิก"

จงกล : "ถึงปีต้องเอาปลัดขิกถวาย ถ้าไม่ถวายไม่ได้ แล้วต้องทาสีแดงด้วย โบร่ำโบราณทำแบบนี้ ต้องแห่ให้เจ้าพ่อด้วย ชาวบ้านเขาเลยไม่ยอม"

ถ้าสุดท้ายทาง ผอ. บอกว่าไม่ได้ กรมศิลป์ตัดสินใจมาแล้วเอาแบบนี้แหละ เสาหัวขาด ทำยังไง?

เสรี : "ก็ร้องเรียนให้ถึงที่สุด"

นพพร : "เราก็ต้องไปให้ถึงที่สุด เพราะสิ่งถูกต้องก็คือสิ่งถูกต้อง แต่ ณ ตอนนี้ยังไม่มีแนวทางว่าจะไปไหนต่อ แต่บอกโดยความรู้สึกชาวบ้านที่มีความรักต่อเพนียดก็ต้องไปให้สุด สุดแค่ไหนก็ต้องไป"

อาจารย์ล่ะ?

อ.สายัณห์ : "เราเคยเป็นข้าราชการ ข้าราชการทำงานตามระบบ ถ้าเขายืนยันตามนั้นเราก็ต้องยอมไปก่อน เพราะราชการแก้ไขลำบาก แต่ความรู้สึกชาวบ้านเขาไม่ยอมแน่นอน"

อาจารย์มีอะไรมาหักล้าง อาจารย์ก็บอกว่าภาพวาดในวัด สร้างสมัย ร.1 มีภาพเพนียดหัวบัว?

อ.สายัณห์ : "คำว่ายืนยันตรงนี้ เสาตะลุงมีสองตอน ตอนในเพนียดและนอกเพนียด แต่ที่มีปัญหาคือเสาปีกกา ที่ถามว่ายอมมั้ย ใจจริงๆ เราไม่ยอมอยู่แล้ว เพราะภาพของเพนียดต้องมีเสาหัวบัว แต่ ระบบราชการเราก็ต้องยอมตรงนี้ แต่ก็จะหาทางอื่นเข้าไปคุยขอร้องกับคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจที่จะปรับมันได้ ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้กลับมาเป็นแบบนี้"

อยากบอกอะไร?

เสรี : "ผมอยากขอร้องให้ทำหน่อยเถอะ เพราะใช้เงินงบประมาณไปทำ ยังไงก็ทำให้เขามีสภาพเดิม ผมขอแค่นี้ ถ้าหัวขาดแบบนี้ไม่ยอม"

จงกล : "ไม่เอา ไม่ยอม ขอให้ทำของเราเหมือนเดิม ทำหัวบัวของเราเหมือนเดิมแล้วกัน กลัวอาถรรพ์นี่แหละ เพราะมันเป็นหัวขาด  ต้องมีคนตายอยู่แล้วล่ะ จะเป็นนายช่างหรือใคร คอยดูสิ คนทำอ่ะ เรื่องจริง เขาตายกันมาเยอะแล้ว"

นพพร : "ผูกคอตายกันมาแล้ว อาถรรพ์แบบนี้แหละ"

จงกล : "เอาเสาตะลุงเขาไป ตายหลายศพแล้วนะ สามสี่ศพแล้ว ผูกคอ"

นพพร : "ในต้นไม้ใหญ่หลังเพนียดก็ตายมากี่คนแล้ว เก่าไปใหม่มา ใครอยากเป็นรายต่อไปก็เอา ลองดู"

จงกล : "3-4 ศพแล้ว"

กลัวความเดือดร้อน อาถรรพ์มาตกสู่ชาวบ้าน?

เสรี : "ทุกคนนับถือ เราอยากให้ทำเหมือนเดิม เรากลัวผู้ที่กระทำนั่นแหละจะเดือดร้อนจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้จะตอบสนองพวกท่านในเมื่อทำแบบนี้"

ผู้ใหญ่อยากฝากอะไร?

นพพร : "ผมก็ฝากให้ผู้หลักผู้ใหญ่เห็นใจชาวบ้าน เราเกิดมาพร้อมเสาตะลุงและเพนียด ถ้าเราจะต้องสูญเสียเสาตะลุงไป ยังไงเราก็ไม่ยอม ขอเสาตะลุงกลับมาเหมือนเดิม"

ผู้ใหญ่จะร้องไห้ตลอดเวลาเพราะอะไร?

นพพร : "เสียใจ (เสียงสั่นเครือ) ผมเกิดมาครึ่งคนแล้วเห็นมาตลอด ไม่อยากสูญเสียไป วันนี้ขอแค่ทบทวนว่าจะมีการแก้ไขปัญหายังไง ผอ.บอกว่าเดินหน้าทำต่อไปยึดโบราณที่สุด ประวัติศาสตร์ที่สุดคือร. 4 ที่ไม่มีหัว ผอ.คนนี้มาจากไหน ผมไม่ได้ว่า ผอ. แต่มาตัดสินใจได้ยังไง แล้วเวลาประชุมประชาคมทำไมไม่ชี้แจงชาวบ้านว่าต้องตัดหัวออกให้เหมือน ร.4 ถ้าตัดหัวออก ปล่อยให้ชำรุดผุพังไปทีละต้นสองต้นไม่ดีกว่าเหรอ คุณมาตัดหัวบัวที 700-800 ต้นพร้อมๆ กันอย่างนี้คุณไม่เสียใจเหรอ ต้นไม้ต้นเดียวเขายังอนุรักษ์หวงแหนเลย แต่เสาตะลุง 700-800 ต้น คุณใช้อะไรคิด ถ้าคุณมีจิตสำนึกพอ"

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ ดราม่ากรมศิลป์ฯ บูรณะเพนียดคล้องช้าง ชาวบ้านทวงคืนหัวเสาตะลุงหวั่นอาถรรพ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook