ยูเอ็นคาดประชากรโลก อาจจะพุ่งทะลุเกินหมื่นล้านคน ภายในศตวรรษนี้

ยูเอ็นคาดประชากรโลก อาจจะพุ่งทะลุเกินหมื่นล้านคน ภายในศตวรรษนี้

ยูเอ็นคาดประชากรโลก อาจจะพุ่งทะลุเกินหมื่นล้านคน ภายในศตวรรษนี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สหประชาชาติคาดจำนวนประชากรโลก จะพุ่งทะลุ 11,000 หมื่นล้านคน ก่อนจะสิ้นภายในศตวรรษนี้ ภูมิภาคแอฟริกาจะมีอัตราประชากรเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า World Population Prospects รายการที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจและกิจการสังคม องค์การสหประชาชาติ เปิดเผยว่า ประชากรทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 7,700 ล้านคนในปัจจุบันเป็น 9,700 ล้านคนภายในปี 2050 โดยเฉพาะภูมิภาคซับซาฮาราในแอฟริกา ที่คาดว่าจะมีประชากรเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และยังคาดการณ์ด้วยว่า ประชากรโลกจะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนแตะระดับ 11,000 ล้านคนภายในปี 2100

ตามรายงานจากผลการศึกษาระบุว่า ในอนาคตจะมีเพียงไม่กี่ประเทศที่จำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้นตามอายุคาดเฉลี่ย (life expectancy) ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราการเพิ่มของประชากรทั่วโลกจะชะลอตัวลง เนื่องจากอัตราการเจริญพันธุ์ (fertility rate) ที่ลดลง

ทั้งนี้ ยูเอ็นคาดว่าในปี 2050 ประชากรส่วนใหญ่ของโลกจะกระจุกตัวอยู่ในกลุ่ม 9 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย, ไนจีเรีย, ปากีสถาน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, เอธิโอเปีย, แทนซาเนีย, อินโดนีเซีย, อียิปต์ และสหรัฐอเมริกา ขณะที่จีนซึ่งมีประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ น่าจะเผชิญการหดตัวของประชากรลง 2.2% หรือประมาณ 31.4 ล้านคน ระหว่างช่วงปี 2019-2050

สำหรับกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าการเกิด ได้แก่ เบลารุส, เอสโตเนีย, เยอรมนี, ฮังการี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, เซอร์เบีย และยูเครน แต่ยังมีการไหลเข้าของผู้อพยพมาชดเชยแทน ส่วนอายุคาดเฉลี่ยของประชากรทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 72.6 ปีในปัจจุบันเป็น 77.1 ปี ภายในปี 2050 ซึ่งถือว่ายืนยาวขึ้นมากเมื่อเทียบกับสถิติ 64.2 ปี ในปี 1990

ยูเอ็น ยังระบุด้วยว่า ค่าเฉลี่ยการให้กำเนิดบุตร 3.2 คนต่อผู้หญิง 1 คนในปี 1990 ลดลงมาอยู่ที่ 2.5 คนต่อผู้หญิง 1 คนในปี 2019 และมีแนวโน้มจะลดลงเรื่อยๆ และคาดว่าจะเหลือแค่ 2.2 คนต่อผู้หญิง 1 คนในปี 2050 ตัวเลขดังกล่าวใกล้เคียงกับเกณฑ์ขั้นต่ำ 2.1 ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสมดุลประชากร และหลีกเลี่ยงการลดลงของพลเมืองโลกในระยะยาว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook