นักวิชาการ ย้ำ ! บริโภคเนื้อไก่ไทยปลอดภัย ปราศจากฮอร์โมนเร่งโต

นักวิชาการ ย้ำ ! บริโภคเนื้อไก่ไทยปลอดภัย ปราศจากฮอร์โมนเร่งโต

นักวิชาการ ย้ำ ! บริโภคเนื้อไก่ไทยปลอดภัย ปราศจากฮอร์โมนเร่งโต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิชาการ ม.มหิดล ยืนยันเนื้อไก่ไทยปลอดภัย ปราศจากฮอร์โมนเร่งโต ชี้สาเหตุวัยรุ่นโตเร็วกว่าวัย มาจากกรรมพันธุ์ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง และนิยมบริโภคฟาสต์ฟู้ดกันมากขึ้น 

อ.สพ.ญ.พัชราภรณ์ ขำพิมพ์ อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผู้บริโภคบางกลุ่มยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องอยู่ว่าการบริโภคเนื้อไก่ที่มีฮอร์โมนเร่งโตตกค้าง ทำให้วัยรุ่นโตเร็วกว่าวัย ซึ่งโดยข้อเท็จจริงในปัจจุบันไม่มีการใช้ฮอร์โมนเร่งโตในการเลี้ยงไก่แล้ว จากการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงพันธุ์ไก่ให้เป็นสายพันธุ์ที่โตเร็ว การมีระบบการป้องกันโรคที่ดี การเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดที่ทันสมัย รวมทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตอาหารที่เหมาะกับช่วงวัยของการเติบโตของไก่ สามารถคำนวณและผสมอาหารสำเร็จรูปให้ได้สารอาหารตรงตามความต้องการของสายพันธุ์ ทำให้ไก่เติบโตได้ตามลักษณะของสายพันธุ์ที่โตได้เร็วอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเสริมสารเร่งโตแต่อย่างใด 

ในด้านของการปรับปรุงพันธุ์ไก่ให้เป็นสายพันธุ์ที่โตเร็วนั้น ช่วยลดระยะเวลาในการเลี้ยงลงอย่างมาก โดยไม่ต้องใช้สารเร่งใดๆเลย ขอเพียงได้รับสารอาหารที่เพียงพอตามความต้องการของสายพันธุ์ และอยู่อย่างสุขสบายไม่เจ็บไม่ป่วยไม่เครียด ไก่ก็จะเติบโตได้รวดเร็ว ซึ่งการปรับปรุงสายพันธุ์ต้องใช้เวลาวิจัยกันมายาวนานหลายสิบปี ค่อยๆปรับปรุงมาเรื่อยๆ ให้ได้ลักษณะตามที่ต้องการ แต่ก็ไม่ได้มีอันตรายใดๆ ต่อผู้บริโภคเนื้อไก่ เพราะเป็นการปรับปรุงในระดับพันธุกรรมของตัวไก่เองเท่านั้น ไม่ได้มีผลต่อเซลล์หรือพันธุกรรมในร่างกายมนุษย์ 

การเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิดที่ทันสมัยที่ทำให้ไก่อยู่อย่างสุขสบาย ช่วยให้ไก่มีสุขภาพดีและเจริญเติบโตได้ดี สามารถเลี้ยงไก่โรงเรือนละหลายหมื่นตัว โดยไก่ไม่เครียด สามารถแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ บางโรงเรือนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการตรวจติดตามการเจริญเติบโตและพฤติกรรมสัตว์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ติดกล้องในโรงเรือนเพื่อสามารถดูสภาพตัวสัตว์ได้ตลอดเวลา มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณแก๊สต่างๆ การระบายอากาศ เป็นต้น 

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ช่วยให้ไก่เจริญเติบโต คือ การมีระบบการป้องกันโรคที่ดี ไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาทำ ให้ไก่เจ็บป่วย เช่น พื้นที่เลี้ยงไก่ที่มีรั้วรอบขอบชิด การฆ่าเชื้อพาหนะและอุปกรณ์ก่อนเข้าฟาร์ม อาบน้ำสระผมเปลี่ยนเสื้อผ้าที่สะอาด เปลี่ยนรองเท้าบู๊ทก่อนเข้าฟาร์ม เป็นต้น ขณะเดียวกัน การให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคในไก่ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี โดยวัคซีนที่ให้นั้นไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และมีการควบคุมระยะหยุดวัคซีน ซึ่งไก่ที่ผลิตจากฟาร์มที่ได้รับรองระบบมาตรฐานต่างๆ จะได้รับการตรวจสอบในทุกขั้นตอนว่าปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้บริโภคจึงควรเลือกแหล่งที่มาของเนื้อไก่ว่าผ่านการตรวจสอบจากระบบมาตรฐาน โดยดูจากตราสัญลักษณ์ต่างๆ บนบรรจุภัณฑ์ 

อ.สพ.ญ.พัชราภรณ์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า กฎหมายด้านความปลอดภัยของอาหาร กำหนดว่าการใช้ฮอร์โมนในไก่ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เพิกถอนตำรับของฮอร์โมนนี้ไปแล้ว โดย อย. มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ 417/2528 ลงวันที่ 23 กันยายน 2529 เพิกถอนทะเบียนตำรับยาสำหรับสัตว์ Hexoestrol ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ใช้ในสัตว์ปีก หากมีการลักลอบใช้ ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย และหากนับจากวันที่ประกาศจนถึงปัจจุบัน ก็เป็นระยะเวลาเกือบ 33 ปีแล้วที่มีการใช้กฎหมายนี้ จึงทำให้ฮอร์โมนที่ใช้เร่งโตในไก่ดังกล่าวถูกปราบปรามจนหมดจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไทย 

"ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวไปแล้ว ทำให้เกษตรกรยุคใหม่ สามารถเลี้ยงไก่ให้โตเร็วและมีลักษณะตรงตามความต้องการของตลาดได้ โดยไม่ต้องใช้ฮอร์โมนช่วยเร่งการเจริญเติบโตอีกต่อไป" อ.สพ.ญ.พัชราภรณ์ กล่าวย้ำ 

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันไม่มีการใช้ฮอร์โมนเร่งโตในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่แล้ว ดังนั้น ข้อถกเถียงว่าการที่เด็กมีภาวะเป็นสาวหรือเป็นหนุ่มเร็วจากการกินไก่จึงไม่เป็นความจริง เพราะสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นโตเร็วกว่าวัย เกิดจากกรรมพันธุ์ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป โดยเด็กๆ ในยุคปัจจุบันบริโภคอาหารไขมันสูงเพิ่มขึ้นตามไลฟ์สไตล์ของครอบครัวยุคใหม่ เช่น อาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด ทำให้มีเด็กปัญหาเรื่องอ้วน ความอ้วนมีส่วนทำให้เด็กเป็นสาวเร็วก่อนวัย เพราะไขมันเป็นองค์ประกอบหลักของฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งหากร่างกายเด็กได้รับไขมันในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศหญิงออกมาเร็วกว่าปกติได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook