เรือดำน้ำโซเวียต ปล่อยกัมมันตรังสีกว่า 1 แสนเท่า แม้จมใต้ทะเลนาน 30 ปี

เรือดำน้ำโซเวียต ปล่อยกัมมันตรังสีกว่า 1 แสนเท่า แม้จมใต้ทะเลนาน 30 ปี

เรือดำน้ำโซเวียต ปล่อยกัมมันตรังสีกว่า 1 แสนเท่า แม้จมใต้ทะเลนาน 30 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิจัยพบว่าเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของโซเวียตปล่อยสารกัมมันตรังสีสูงกว่า 100,000 เท่า ทั้งที่จมอยู่ที่ก้นทะเลลึกของประเทศนอร์เวย์นานถึง 30 ปี

สำนักป้องกันรังสีและความปลอดภัยนิวเคลียร์ของนอร์เวย์ (Straalevernet )เปิดเผยว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบค่ากัมมันตรังสีเกินกว่าค่ามาตรฐานถึง 100,000 เท่าของค่าปกติ ในบริเวณซากของเรือดำน้ำนิวเคลียร์สมัยสหภาพโซเวียตที่จมอยู่ใต้ก้นทะเลแบเร็นตส์เมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว รายงานระบุว่า เรือลำดังกล่าวคือเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์แบบ K-278 Komsomolets ของกองทัพโซเวียต ที่ได้จมลงในทะเลแบเร็นตส์เมื่อปี 1989 คร่าชีวิตลูกเรือไป 42 ราย จากทั้งหมด 69 ราย

นายฮิลด์ เฮลดาล หัวหน้าทีมสำรวจจากสถาบันวิจัยทางทะเลแห่งนอร์เวย์ระบุว่าแม้ระดับกัมมันตรังสีที่ตรวจพบจะสูงกว่าระดับปกติ แต่ยังไม่ใช่เรื่องน่าตกใจแต่อย่างใด เพราะเรือดำน้ำดังกล่าวจมอยู่ที่ความลึก 1,700 เมตร ซึ่งเป็นระดับที่กัมมันตรังสีจะเจือจางอย่างรวดเร็วและเป็นจุดที่มีปลาอาศัยอยู่น้อยมา

การพบค่ากัมมันตรังสีสูงเกินมาตรฐานดังกล่าวนั้นส่งผลให้เกิดความกังวลว่าเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูอาจมีร่อยแตก จนอาจส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนต่อสภาพแวดล้อมทางทะเล แต่อย่างไรก็ดีทางนักวิทยาศาสตร์นอร์เวย์ยังไม่ได้ยืนยันว่า มีการรั่วไหลของกัมมันตรังสีสู่ท้องทะเล ทั้งนี้เพราะก่อนหน้านี้จากการตรวจสอบเมื่อปี 2008 พบว่ายังไม่มีค่ากัมมันตรังสีดังกล่าวแต่อย่างใด

“ผลลัพธ์เป็นข้อมูลเบื้องต้น เราจะตรวจสอบตัวอย่างอย่างละเอียดเมื่อเรากลับถึงบ้าน” ฮิลด์ เฮลดาล จากสถาบันวิจัยทางทะเลแห่งนอร์เวย์กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook