เฉลยปริศนา ค่าเช่าห้องประชุมรัฐสภา ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

เฉลยปริศนา ค่าเช่าห้องประชุมรัฐสภา ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

เฉลยปริศนา ค่าเช่าห้องประชุมรัฐสภา ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หนึ่งในประเด็นที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์พอสมควรทั้งในวงสนทนาของคอการเมือง ไปจนถึงในโลกออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ นั่นคือ การที่อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ย่านเกียกกายซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สัปปายะสภาสถาน" ยังก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ในเวลานี้ จนทำให้ต้องมีการไปเช่าหอประชุมของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริเวณถนนแจ้งวัฒนะ เป็นสถานที่ประชุมของบรรดาสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติทั้ง ส.ส. และ ส.ว. 

โดยมีการเปิดเผยว่าค่าเช่าที่จ่ายให้กับทีโอทีนั้นมีตัวเลขอยู่ที่ราว 12 ล้านบาทต่อเดือน และนี่จึงเป็นที่มาของการตั้งคำถามกันอื้ออึงว่าเหมาะสมหรือไม่ แพงไปหรือเปล่า รวมไปถึงความสงสัยอีกมากมายติดตามมา

ล่าสุดวันนี้ (14 ก.ค.) เพจเฟซบุ๊ก สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ โพสต์ข้อความที่เป็นการอธิบายว่าค่าใช้จ่ายในการเช่าห้องประชุมรัฐสภา ประกอบด้วยรายจ่ายอะไรบ้าง โดยมีเนื้อหาดังนี้

"รู้หรือไม่⁉️ ค่าเช่าห้องรัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. ค่าเช่าอาคาร 14 ชั้น รวมห้องประชุม

2. ค่าน้ำ - ไฟ อินเทอร์เน็ต ระบบวงจรปิด และรักษาความปลอดภัย

3. ค่าเช่าอาคารจอดรถ และบริเวณจอดรถโดยรอบ

4. ค่าของกินของใช้ น้ำดื่ม กาแฟชาซอง ทิชชู่ในห้องน้ำ รวมถึงของรับรองสื่อมวลชน

5. ค่าแม่บ้านทำความสะอาด และ รปภ. ที่ทำงาน 24 ชม. ทุกวัน

6. จัดเตรียมห้องประชุม หรือห้องทำงานทุกชั้น แบ่งพื้นที่ให้ทุกพรรคตามความเหมาะสม ห้องของคณะทำงานรัฐสภา และห้องทำงานเจ้าหน้าที่ทุกระดับ รวมถึงสื่อมวลชน

สรุปคือ ไม่ใช่แค่ค่าเช่าห้องประชุม แต่เป็น "ค่าเช่าอาคารขนาด 14 ชั้น พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก" เพื่อรองรับคณะทำงานประมาณ 900 - 1,000 คน ต่อวัน เปรียบเหมือนการเช่า co-working space หัวละ 300 บาทต่อคน ต่อวัน"

tot-conference-rental-info

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการอธิบายรายละเอียดดังกล่าวข้างต้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ได้มีการแจกแจงให้เห็นว่ารายจ่ายในแต่ละส่วนนั้นใช้ตัวเลขรายจ่ายเป็นจำนวนเท่าใด ในขณะที่ก่อนหน้านี้นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา เคยออกมาให้ความเห็นว่าไม่อยากจะเช่าอาคารของทีโอทีเกินกว่าเดือน ก.ค. 62 พร้อมกับดำเนินการเร่งรัดงานก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ที่จะใช้ในการประชุมที่อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานโดยเร็วที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook