ภัยแล้งรุก "เหนือ-อีสาน" หนักสุดในรอบ 50 ปี เพาะปลูกอะไรก็ไม่ได้

ภัยแล้งรุก "เหนือ-อีสาน" หนักสุดในรอบ 50 ปี เพาะปลูกอะไรก็ไม่ได้

ภัยแล้งรุก "เหนือ-อีสาน" หนักสุดในรอบ 50 ปี เพาะปลูกอะไรก็ไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภัยแล้งได้รุกหลายพื้นที่ของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเหนือมีฝนเหลือน้อยทำเกษตรไม่ได้ ส่วนอีสานขอนแก่นแหล่งน้ำอยู่ในสภาพแห้งหมดอ่าง และนครราชสีมานับว่าแล้งสุดในรอบ 50 ปี

ผอ.ชลประทานลำพูนเผยปีนี้น้ำน้อยเกษตรกรต้องกักเก็บน้ำให้มากที่สุด พื้นที่จังหวัดลำพูน น้ำทาจากแม่น้ำหลัก แม่น้ำรอง ตลอดจนแหล่งกักเก็บน้ำน้อยกว่าปีที่มากว่าร้อยละ 10 เตือนเกษตรกรให้กักเก็บน้ำโดยใช้น้ำจากน้ำฝนเพื่อการเกษตรให้มาก ขณะที่เขื่อนใหญ่ 2 แห่งเมืองเชียงใหม่กักน้ำหน้าฝนหวังเจอภัยแล้งเหมือนปี 2558

นายวุฒิชัย รักษาสุข ผู้อำนวยการโครงการชลประทานลำพูน กล่าวว่าสถานการณ์น้ำในห้วงฤดูฝน พื้นที่จังหวัดลำพูนปีนี้ลดน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 10 ซึ่งตามคาดการณ์ฝนจะทิ้งช่วงอีก 2 เดือน จะส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำของภาคการเกษตรเป็นอย่างมาก เพราะแหล่งน้ำตามธรรมชาติ แม่น้ำหลัก แม่น้ำรอง ตลอดจนอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดลำพูน

ปริมาณน้ำเหลือน้อย เพราะปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาลดลงทำให้ต้องกักเก็บน้ำไว้เพื่อป้องกันภัยแล้ง หากสถานการณ์ฝนลดลงไปจะทำให้เกิดภัยแล้งขึ้นมาได้เพื่อเป็นการป้องกันต้องกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะเกษตรกรในการเพาะปลูกต่างๆ ของให้ทำตามคำเตือนจากทางเจ้าหน้าที่ทำตามคำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงความเสียหายของพืชผลทางการเกษตร โดยให้กับเก็บน้ำฝนใช้น้ำฝนเพื่อการเกษตรในระยะนี้เป็นหลัก

อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ขนาดกลางจำนวน 4 แห่ง ปริมาณน้ำรวมกัน 8.30 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 26 สามารถรองรับน้ำได้อีก 26.80 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น74

ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 47 แห่ง (ความจุมากกว่า 1 แสน ลบ.ม.) : ปริมาณน้ำวันนี้ 10.05 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 41สามรถรองรับน้ำได้อีก 14.60 ลบ.ม.คิอเป็นร้อยละ 59 ส่วน

นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวจากจังหวัดขอนแก่นระบุว่าอ่างเก็บน้ำแก่งละว้า อ.บ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดขอนแก่น มีเนื้อที่ประมาณ 17,000 ไร่ มีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร กินเนื้อที่ 2 อำเภอคืออำเภอบ้านไผ่ และอำเภอบ้านแฮด มีชุมชนอยู่รอบอ่างแก่งละว้า 40 หมู่บ้าน 3 ตำบล 2 อำเภอได้แก่ ต.โคกสำราญ อ.บ้านแฮด ต.เมืองเพีย และ ต.บ้านไผ่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ซึ่งขณะนี้มีน้ำในอ่างได้แห้งขอด มองเห็นแต่พื้นดิน เป็นระยะทางไกลจนสุดสายตา จะมีเฉพาะฝูงวัว ควาย เท่านั้น ที่ลงกินหญ้าอ่อน แทนเรือหาปลาซึ่งปกติ อ่างเก็บน้ำแห่งนี้ ชาวบ้านจะใช้จับปลา ในช่วงที่มีน้ำไปขายสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

ปัจจุบันถือว่าแห้งหมดอ่างก็ว่าได้ จะเหลือเพียงน้ำที่อยู่ตรงกลางของอ่างเก็บน้ำที่เป็นอ่างกระทะและมีความลึกที่สุดของอ่างเท่านั้นที่มีน้ำเหลืออยู่ ทำให้ชาวบ้านลงไปจับปลาได้ง่ายขึ้น เพราะน้ำตื้น มีบริเวณไม่กว้าง นอกจากนี้ก็มีชาวบ้านลงงมหาหอยไปขาย ไปทำอาหารกินในครัวเรือน เพราะหาง่าย เนื่องจากน้ำตื้น ส่วนชาวนาที่ทำนาที่ทำนาปรังอยู่บริเวณโดยรอบอ่างเก็บน้ำ ขณะนี้ต้นข้าวเหี่ยวแห้งแล้ว ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำดังกล่าวมาหล่อเลี้ยงต้นข้าวได้อีก ต้องพากันหาสูบน้ำมาจากลำห้วยแห่งอื่นที่อยู่ใกล้ ๆ ที่ยังพอมีน้ำหลงเหลืออยู่บ้าง โดยจะให้เครื่องสูบน้ำหลายเครื่อง สูบกันเป็นทอด ๆ มาจนถึงที่นา ซึ่งก็ทำให้สิ้นเปลืองค่าน้ำมันเครื่องสูบน้ำเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ที่จังหวัดนครราชสีมาก็อยู่ในภาวะฝนทิ้งช่วง ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยปริมาณน้ำภายในเขื่อนกักเก็บน้ำอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พบว่าแห้งขอดจนชาวบ้านสามารถเดินข้ามไปมาได้ นับว่าแล้งหนักสุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ทำให้เจ้าหน้าที่จัดสรรน้ำโครงการศูนย์ส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์อำเภอพิมาย ไม่สามารถเปิดประตูเขื่อนปล่อยน้ำให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีจำนวน 2 หมื่นไร่ ที่อยู่ท้ายเขื่อนพิมายได้

ทำให้เกษตรกรใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าหลวง ตำบลชีวาน ตำบลดงใหญ่ และ ตำบลกระชอน ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ขาดแคลนน้ำใช้ในการเกษตร ต้นข้าวนาปีเหี่ยวเฉายืนต้นตายเกือบทั้งหมด ซึ่งสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงนานทำให้ปริมาณน้ำแห้งขอดที่เกษตรกรกำลังประสบ และชาวบ้านขาดแคลนน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคในขณะนี้ ทำให้ไม่มีน้ำเติมเข้าเขื่อน จนล่าสุด ปริมาณน้ำภายในเขื่อนพิมายเหลือไม่ถึง 10 % ของความจุ

แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำที่แห้งขอดกลับส่งผลดี ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการงมหอยแครง หอยนาขาย โดยใช้เวลาว่างลงไปงมหอยนาและหอยแครงที่อยู่บริเวณเขื่อนพิมาย นำไปประกอบอาหารรับประทาน หากได้ปริมาณมากก็จะนำไปขายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวช่วงวิกฤติแล้งนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook