น้ำป่าถล่ม อ.อมก๋อย 80หมู่บ้านถูกตัดขาด

น้ำป่าถล่ม อ.อมก๋อย 80หมู่บ้านถูกตัดขาด

น้ำป่าถล่ม อ.อมก๋อย 80หมู่บ้านถูกตัดขาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รอง ผวจ.สั่งเร่งแจกถุงยังชีพ 8,000 ชุด หลังเกิดเหตุน้ำป่าโคลนถล่มอำเภออมก๋อยหนักสุดรอบร้อยปีจนถูกตัดขาดจากโลกภายนอก พบชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 32,000 คน จาก 80 หมู่บ้าน ไร่นาพัง 5,000 ไร่

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 13 มิ.ย. นายไพโรจน์ แสงภู่วงศ์ รองผู้ว่า ราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายสุรชัย จงรักษ์ ปลัดจังหวัด นายประจญน์ ปรัชสกุล ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด น.พ.วัฒนา กาญจนกามล นาย แพทย์สาธารณสุขจังหวัด และตัวแทนจากหลายหน่วยงาน เดินทางด้วย เฮลิคอปเตอร์เข้าตรวจสอบพื้นที่อำเภออมก๋อย จ.เชียงใหม่ หลังเกิดเหตุการณ์นำป่า ไหลหลากและดินโคลนถล่มสร้างความเสียหายหนักที่สุดในรอบ 100 ปี

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 - 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนักทั่วทั้งอำเภออมก๋อย ทำให้ปริมาณน้ำในลำน้ำแม่ตื่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนพัดเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่ทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยล่าสุดวันที่ 13 มิ.ย. มีรายงานความเสียหายเกิดขึ้นใน 80 หมู่บ้าน จาก 95 หมู่บ้านในตำบลอมก๋อย ตำบลยางเปียง ตำบลแม่ตื่น และตำบลม่อนจอง มีราษฎรได้รับผลกระทบ 4,800 ครอบครัว รวม 32,000 คน โดยเบื้องต้นพบบ้านถูกดินถล่มเสียหายทั้งหลังจำนวน 8 หลัง ที่บ้าน ผาแดง ต.สบโขง ส่วนที่เหลือเสียหายบางส่วนอีกนับร้อยหลังในหลายหมู่บ้าน ถนนถูกตัดขาด 32 สาย สะพานเสียหาย 15 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 5,000 ไร่ และยังเหลืออีก 2 ตำบล คือตำบลสบโขงและตำบลนาเกียนซึ่งยังไม่สามารถเข้าสำรวจได้เนื่องจากถนนถูกตัดขาดทั้งหมด

นายไพโรจน์ กล่าวว่า หลังเกิดเหตุทุกหน่วยงานได้เข้าช่วยเหลืออย่าง เต็มที่ โดยกำลังทหารพรานจากหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ได้เดินเท้านำถุงยังชีพเข้าไปช่วยเหลือราษฎรหลายจุด ซึ่งทางจังหวัด ได้ทยอยส่งมอบถุงยังชีพไปแล้วกว่า 8,000 ชุด และในบางพื้นที่จำเป็นต้องใช้ เฮลิคอปเตอร์ส่งถุงยังชีพทางอากาศ ขณะที่สำนักงานป้องกันเลขบรรเทาสาธรณภัย เขต 10 จ.ลำปาง ได้ส่งเครื่องจักรกลหนักเข้าพื้นที่เพื่อเร่งเคลียร์เส้นทางโดยเร็วที่สุด

นายสิทธิชัย สวัสด์แสน นายอำเภออมก๋อย กล่าวว่า เหตุการณ์น้ำป่า ไหลหลากและดินถล่มครั้งนี้รุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการ ฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภคและสิ่งปลูกสร้างสาธารณะประมาณ 6 เดือน ขณะที่ ความเสียหายจากพื้นที่ทางการเกษตรและปศุสัตว์อาจทำให้ชาวบ้านอยู่ในสภาพ หมดตัว ซึ่งจะมีการสำรวจและให้การช่วยเหลือด้านอาชีพอย่างเร่งด่วนด้วยเช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook