รมว.ยุติธรรม ออกโรง สั่งช่วยผู้เสียหายคดี "แพรวา 9 ศพ"

รมว.ยุติธรรม ออกโรง สั่งช่วยผู้เสียหายคดี "แพรวา 9 ศพ"

รมว.ยุติธรรม ออกโรง สั่งช่วยผู้เสียหายคดี "แพรวา 9 ศพ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม สั่งช่วยผู้เสียหายคดี "แพรวา 9 ศพ" หลังผ่านไป 9 ปีแล้ว ขณะที่กรมบังคับคดีพร้อมอำนวยความสะดวก

นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีผู้เสียหายในคดีแพรวายังไม่ได้ชดเชยค่าเสียหาย หลังศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรมได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงฯ เข้าช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงความยุติธรรมแก่ผู้เสียหายกรณีดังกล่าว

โดยในส่วนของผู้เสียหายที่มีฐานะยากจน กระทรวงยุติธรรมจะให้กองทุนยุติธรรมเข้าไปช่วยเหลือ ค่าใช้จ่ายเป็นค่าทนายความและการสืบทรัพย์ ขณะที่กรมบังคับคดีพร้อมอำนวยความสะดวกในขั้นตอนการบังคับคดีเช่นกัน โดยผู้เสียหายหรือฝ่ายโจทก์ต้องไปยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแล้วนำหมายบังคับคดีไปตั้งเรื่องที่กรมบังคับคดี เพื่อให้มีอำนาจเข้าไปสืบทรัพย์

นายธวัชชัย กล่าวอีกว่า เมื่อเริ่มต้นขั้นตอนการบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะสั่งอายัดทรัพย์ที่สืบพบแล้วนำออกขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาเฉลี่ยคืนตามความเสียหาย

หากทรัพย์ที่นำออกขายทอดตลาดไม่เพียงพอต่อการชดใช้ค่าเสียหาย หรือมีมูลหนี้มากกว่า 1 ล้านบาท จะยื่นฟ้องขอให้ศาลสั่งให้จำเลยตกเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศหรือทำธุรกรรมทางการเงินได้เป็นเวลา 3 ปี แม้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจำเลยจะสบาย เพราะภาระความรับผิดก็ยังไม่หมดลง มูลหนี้ยังคงมีอยู่ จำเลยยังต้องทำงานชดใช้ค่าเสียหายจนกว่าจะครบตามคำพิพากษา หรือจนกว่าคดีจะขาดอายุความในการสืบทรัพย์เป็นระยะเวลา 10 ปี

ผู้เสียหาย หรือ โจทก์ มีอาการมึนงง เดินไม่เป็นกรณีลูกหนี้ไม่ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำพิพากษา ทั้งนี้เมื่อครบเวลา 30 วันหลังศาลมีคำพิพากษา หากลูกหนี้หรือจำเลยทำไม่รู้ร้อนรู้หนาว ทำหน้ามึน ผู้เสียหายจะต้องไปยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี เมื่อได้หมายบังคับคดีมาแล้ว จึงจะมีอำนาจเข้าไปสืบทรัพย์ว่าจำเลยมีทรัพย์สินอะไรบ้าง ซึ่งในชั้นนี้ยากที่สุด

เนื่องจากศักยภาพบุคคลทั่วไปนั้นยากต่อการเข้าถึงข้อมูล ต้องจ้างทนายความ คนจนคนด้อยโอกาสสามารถขอเงินค่าจ้างทนายความสืบทรัพย์ได้จากกองทุนยุติธรรมได้” รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ขอแนะนำให้จำเลยเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยจะดีที่สุด ส่วนผู้เสียหายหรือฝ่ายโจทก์ สามารถขอคำแนะนำช่วยเหลือได้ที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทุกจังหวัด หรือศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม

นางอรัญญา ทองน้ำตะโก อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า โดยทั่วไปหลังศาลมีคำพิพากษาให้ชำระค่าชดเชยความเสียหายแล้ว แต่ปรากฎว่าจำเลยไม่ชำระตามกำหนดเวลา โจทก์สามารถขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ เพื่อให้มีอำนาจในการสืบทรัพย์ได้ ซึ่งกรณีของ น.ส.แพรวา (นามสมมุติ) ศาลแพ่งเป็นผู้ออกคำสั่ง

ดังนั้น การขอออกหมายบังคับคดีจำเป็นต้องไปขอที่ศาลแพ่ง จากนั้นศาลแพ่งจะส่งหมายบังคับคดีไปที่ที่สำนักงานบังคับคดีแพ่งกรุงเทพมหานคร 1 เมื่อได้รับหมายดังกล่าวแล้วก็จะเป็นภาระของโจทก์หรือเจ้าหนี้ที่ต้องดำเนินการสืบหาทรัพย์ว่าจำเลยมีทรัพย์สิน ที่ดินใดบ้าง ซึ่งในส่วนนี้โจทก์หรือเจ้าหนี้สามารถนำคำพิพากษาของศาลไปขอตรวจสอบทรัพย์สินที่กรมที่ดินในกรณีของที่ดิน หรือกรมการขนส่งทางบก ในกรณีครอบครองรถยนต์ได้

ทั้งนี้ เมื่อพบทรัพย์สินที่เป็นของจำเลยแล้วสามารถนำมายื่นคำร้อง เพื่อขอตั้งเรื่องบังคับคดี ยึดทรัพย์สินดังกล่าวไปขายทอดตลาดเพื่อนำเงินที่ได้มาชดเชยให้ผู้เสียหายตามคำพิพากษา โดยขั้นตอนดังกล่าวถ้ามีเอกสารพร้อมพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถดำเนินการได้ทันที

>> กระหึ่มโซเชียล #แพรวา9ศพ หวนขึ้นติดเทรนด์ คนไทยถามถึงเหตุเมื่อ 9 ปีที่แล้ว
>> หนุ่มผู้รอดชีวิต ติดแฮชแท็ก #แพรวา9ศพ เล่าประสบการณ์ 9 ปี คดีที่ไม่เคยจบ
>> สาวชื่อ "บัวบูชา" ดึงสติชาวเน็ต ถูกชี้เป้ามั่วเป็น #แพรวา9ศพ เพื่อนๆ ช่วยยืนยันขับรถไม่เป็น
>> เสียงจากแม่ "ดร.เป็ด" หนึ่งในเหยื่อแพรวา 9 ศพ ที่ยังคงเฝ้ารอการชดใช้

>> แพรวา 9 ศพ ขับรถขึ้นโทลเวย์ดอนเมืองคันละ 7 หลัก ก่อนเกิดเหตุเมื่อ 9 ปีก่อน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook