พ่อแม่ "น้องป้าย" เหยื่อแพรวา 9 ศพ เปิดใจผ่านไป 9 ปียังไม่เคยทำใจได้

พ่อแม่ "น้องป้าย" เหยื่อแพรวา 9 ศพ เปิดใจผ่านไป 9 ปียังไม่เคยทำใจได้

พ่อแม่ "น้องป้าย" เหยื่อแพรวา 9 ศพ เปิดใจผ่านไป 9 ปียังไม่เคยทำใจได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พ่อแม่ของน้องป้าย หนึ่งในเหยื่อแพรวา 9 ศพ เรียกร้องให้จำเลยเคารพคำตัดสินศาล สั่งชดใช้แก่ครอบครัวผู้สูญเสีย แม้เงินจะไม่สามารถแลกชีวิตลูกสาวได้ ฝากคำถามหากเป็นฝ่ายสูญเสียบ้างจะรู้สึกอย่างไร

จากกรณีอุบัติเหตุสุดสะเทือนขวัญ เมื่อปี 2553 ที่ น.ส.แพรวา (นามสมมติ) ขับรถเก๋งชนรถตู้โดยสาร บนทางด่วนโทลล์เวย์ หน้าสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ ผ่านไปถึง 9 ปีแล้ว เมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินเยียวยาให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิต แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับการเยียวยาแต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าวจึงได้เดินทางไปยังบ้านหลังหนึ่งใน ต.ห้วยหิน อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นบ้านของ น.ส.จันจิรา หรือ น้องป้าย นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเหยื่อผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังกล่าว ได้พบกับ นายสะโอด และ นางปิยะวรรณ อดีตข้าราชการครูเกษียณ ซึ่งเป็นพ่อและแม่ของน้องป้าย

นายสะโอด เปิดเผยว่า ตนมีลูกทั้งหมด 3 คน เป็นชาย 2 คน ส่วนน้องป้ายเป็นลูกสาวคนเล็ก ตอนที่น้องป้ายเสียชีวิตมีอายุ 22 ปี หากตอนนี้น้องยังมีชีวิตอยู่ ก็น่าจะอายุ 31 ปี มีการมีงานทำ และอยู่ดูแลพ่อแม่ตามความฝันของน้อง ตนยอมรับว่าแม้เหตุการณ์ดังกล่าวจะผ่านไปนานถึง 9 ปีแล้ว แต่ก็ยังคงทำใจไม่ได้ โดยเฉพาะผู้เป็นแม่เวลาที่คิดถึงลูก ก็จะเอารูปถ่ายของน้องมากอด

ส่วนเรื่องคดีก็ได้รับการช่วยเหลือจาก ม.ธรรมศาสตร์ ที่ติดต่อประสานงานและจัดหาทนายคอยช่วยเหลือมาตลอด แต่สิ่งที่รู้สึกเสียใจคือตั้งแต่เกิดเรื่อง ทางครอบครัวของจำเลยไม่เคยมาแสดงความผิดชอบอะไรเลย โทรศัพท์มาแค่ครั้งเดียวบอกว่าจะโอนเงินมาช่วยงานศพน้อง 20,000 บาท แต่ตนก็ไม่ได้สนใจว่าจะโอนมาหรือไม่โอนมา เพราะตอนนั้นยังเสียใจกับความสูญเสีย แต่หลังจากนั้นก็ไม่เคยได้รับการติดตามจากคู่กรณีอีกเลย

กระทั่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ศาลได้พิพากษาให้จำเลยหรือคู่กรณีจ่ายเงินเยียวยาให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิตทั้ง 9 คน แต่หลังศาลตัดสินผ่านมา 2 เดือนแล้วก็ยังไม่มีใครได้รับเงินเยียวยาเลย จึงอยากจะเรียกร้องให้จำเลยได้เคารพคำตัดสินของศาล และเห็นใจครอบครัวผู้สูญเสียด้วย

ถึงแม้เงินที่ได้รับจะไม่สามารถทดแทนกับชีวิตลูกสาวที่สูญเสียไปได้ แแต่ก็ควรจะมีจิตสำนึกความเป็นมนุษย์ที่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำ พร้อมอยากจะฝากถามด้วยว่า หากเกิดขึ้นกับครอบครัวของคุณเองจะรู้สึกอย่างไร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook