ศาลอุทธรณ์แก้สั่งจ่าย 4.8 ล้าน คดี นรต.กระโดดร่มเสียชีวิต

ศาลอุทธรณ์แก้สั่งจ่าย 4.8 ล้าน คดี นรต.กระโดดร่มเสียชีวิต

ศาลอุทธรณ์แก้สั่งจ่าย 4.8 ล้าน คดี นรต.กระโดดร่มเสียชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้สั่ง 2 จำเลยจ่ายชดเชยคดี นรต.ฝึกโดดร่มเสียชีวิตกว่า 4.8 ล้านบาท

(18 ก.ค.) ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นัดพิพากษาอุทธรณ์ คดีที่ นายสาธร พุทธชัยยงค์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท การบินไทย จำกัด จำเลยที่ 1 , บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด และเจ้าหน้าที่จัดซื้อสายสลิงกระตุกร่ม , เจ้าหน้าติดตั้งสายสลิง และซ่อมบำรุง รวม 11 ราย เป็นจำเลย เรื่องละเมิด เรียกค่าสินไหมทดแทน 40 ล้านบาท เป็นค่าจัดการศพและค่าขาดไร้อุปการะ ฯลฯ จากเหตุการณ์ นักเรียนนายร้อยตำรวจชยากร เสียชีวิตจากการฝึกกระโดดร่มเมื่อปี 2557

โดยคดีนี้ศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด และ นายตรวจอากาศยานศูนย์ซ่อม มีความผิดให้ชดใช้ค่าเสียหายกว่า 2.7 ล้านบาท แก่ นายสาธร บิดาของ นรต.ชยากร ส่วนจำเลยอื่นยกฟ้อง ต่อมาโจทก์และจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์

เมื่อถึงเวลา นายสาธร ได้เดินทางมาที่ศาล เพื่อฟังคำพิพากษา โดยศาลเห็นว่าค่าปลงศพที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ 2.5 แสนบาท น้อยเกินไป จึงให้เพิ่ม 3.2 แสนบาท เนื่องจากในการจัดการงานศพเป็นพระราชทานเพลิงศพ และยังมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งจำเลยที่ 2 และ 9 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 นั้น จะต้องชดใช้ค่าสินไหมเต็มจำนวน

ส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่จะต้องชดใช้ให้โจทก์ที่ 1 นั้น เพื่อได้พิจารณาจากการศึกษาของผู้เสียชีวิตและรายได้ที่จะมีในอนาคตแล้วเห็นว่า ที่กำหนดไว้ 2.5 ล้านบาทนั้นยังน้อยเกินไป โดยเห็นสมควรเพิ่มให้เป็นเดือนละ 2.5 หมื่นบาท เป็นเวลา 15 ปี รวมเป็นเงิน 4.5 ล้านบาท

จึงพิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 9 ร่วมกันชดใช้ค่าจัดการศพ และค่าขาดอุปการะให้กับนายสาคร บิดา นรต.ชยากร โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 4.82 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง 21 มกราคม 2559 จนกว่าจะชำระเสร็จ รวมทั้งชำระค่าทนายความแทนโจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 1 หมื่นบาท ส่วนโจทก์ที่ 2 และ 3 ซึ่งเป็นบิดา นรต.ณัฐวุฒิ พิพากษายืนให้ยกฟ้อง เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ,3 -8 ,10, 11

ขณะที่ นายสาธร บิดาของนักเรียนนายร้อยตำรวจชยากร ซึ่งเสียชีวิตจากการฝึกกระโดดร่มเมื่อปี 2557 เปิดเผยภายหลังฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ว่า ในการอุทธรณ์ตนได้ยกประเด็นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เหตุจากการสูญเสียส่วนหนึ่งเกิดจากลูกชายตนไม่ได้ดึงร่มช่วย

ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในประเด็นนี้แล้วว่า บุตรชายของตนได้ทำการดึงร่มช่วยแล้ว กรณีละเมิด จึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 และ 9 ศาลจึงให้ชดใช้เพิ่มกว่า 4.8 ล้านบาท ส่วนจะฎีกาหรือไม่ สำหรับตนผลคดีอาญาสำคัญกว่าทางแพ่ง เพราะจะทำให้ไม่เกิดการทุจริต หรือความเสียเกิดขึ้น โดยสำนวนคดีอาญาพนักงานสอบสวนภูธร ภาค 7 ได้ส่งมาให้สำนักงานอัยการสูงสุด ตั้งแต่มกราคม 2561 แล้ว แต่เวลาผ่านมาปีกว่ายังไม่มีความคืบหน้า ทั้งนี้ พอใจที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับลูกชายตนแล้ว

นายจตุรงค์ บิดาของ นรต.ณัฐวุฒิ โจทก์ที่ 2 เปิดเผยว่า ได้เดินทางมาฟังการอุทธรณ์นั้น เป็นส่วนที่ฟ้องบริษัทการบินไทย จำเลยที่ 1 และพนักงานการบินไทย จำเลยที่ 10 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้อง โดยทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ได้พิพากษายืนให้ยกฟ้อง

แต่ยังติดใจบริษัทการบินไทย ซึ่งเป็นคู่สัญญารับรู้รับทราบในการซ่อมอุปกรณ์กระโดดร่ม และหากได้ท้วงติงแต่แรกอาจไม่เกิดความสูญเสีย โดยก่อนหน้านี้คดีในศาลปกครอง ศาลได้ชี้ว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติละเมิดอย่างร้ายแรงแก่ครอบครัวผู้สูญเสีย และคดีแพ่งนี้ จำเลยที่ 2 และ 9 ได้ชดใช้เงินเยียวยาให้ครอบครัว 5 ล้าน แต่คดีในส่วนของการบินไทยกลับไม่พบความผิด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook