น้ำแข็ง "กรีนแลนด์" พ้นช่วงวิกฤตละลายหนักสุดแล้ว น้ำไหลลงทะเลหลายพันล้านตัน

น้ำแข็ง "กรีนแลนด์" พ้นช่วงวิกฤตละลายหนักสุดแล้ว น้ำไหลลงทะเลหลายพันล้านตัน

น้ำแข็ง "กรีนแลนด์" พ้นช่วงวิกฤตละลายหนักสุดแล้ว น้ำไหลลงทะเลหลายพันล้านตัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข้อมูลจากการสังเกตการณ์ระบุว่าการละลายของพืดน้ำแข็ง (Ice Sheet) ในกรีนแลนด์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้สิ้นสุดลงแล้ว หลังจากน้ำแข็งละลายลงสู่มหาสมุทรปริมาณมหาศาลเป็นเวลาหลายสิบวัน

เมื่อวันจันทร์ (5 ส.ค.) โพลาร์ พอร์ทัล (Polar Potal) สถาบันวิจัยพื้นที่บริเวณขั้วโลกเหนือสัญชาติเดนมาร์กรายงานว่า ปริมาณน้ำแข็งที่ละลายเมื่อวันที่ 4 ส.ค. อยู่ที่ประมาณ 7.6 กิกะตัน และเมื่อวันที่ 5 ส.ค. เกือบถึง 8.5 กิกะตัน สูงกว่าการละลายเฉลี่ยต่อวันซึ่งอยู่ที่ 4 กิกะตัน

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติหรือนาซา (NASA) รายงานว่า ระยะแรกของการละลายซึ่งเกิดขึ้นทั่วพืดน้ำแข็ง เริ่มขึ้นช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2019 โดยมีน้ำที่ละลายลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกตลอดทั้งเดือนหลายพันล้านตัน

โพลาร์ พอร์ทัลเผยว่าจุดสูงสุดของการละละลายของพืดน้ำแข็งสิ้นสุดลงแล้ว และในเดือนสิงหาคม หิมะจะเริ่มตกทับถมที่พื้นผิวมากกว่าละลาย

แบบจำลองจากคอมพิวเตอร์ประเมินว่าเมื่อวันที่ 1 ส.ค. เป็นวันที่มีปริมาณพืดน้ำแข็งละลายมากที่สุด โดยมีน้ำแข็งจากพื้นผิวที่ละลายลงสู่ทะเลเพียงอย่างเดียวสูงถึง 1.25 หมื่นล้านตัน

นอกจากนี้ โพลาร์ พอร์ทัลรายงานถึงเหตุการณ์น้ำแข็งละลายครั้งใหญ่ในวันที่ 31 ก.ค. ว่า “ร้อยละ 56 ของพืดน้ำแข็งจะมีการละลายบริเวณพื้นผิวอย่างน้อย 1 มิลลิเมตร โดยมีน้ำแข็งจากพื้นผิวที่ละลายลงสู่ทะเลเพียงอย่างเดียวยังมากกว่า 1 หมื่นล้านตัน”

องค์การนาซาระบุว่าอากาศอบอุ่นที่ก่อให้เกิดคลื่นความร้อนในทวีปยุโรป เป็นตัวกระตุ้นให้พืดน้ำแข็งทั่วกรีนแลนด์ละลาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook