ฮือฮา! พบอิฐโบราณจารึกอักขระล้านนาอายุกว่า 300 ปี

ฮือฮา! พบอิฐโบราณจารึกอักขระล้านนาอายุกว่า 300 ปี

ฮือฮา! พบอิฐโบราณจารึกอักขระล้านนาอายุกว่า 300 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 9 สิงหาคม 2562 พระอุกฤต อธิจิตโต พระผู้ดูแลวัด เปิดเผยว่าได้เข้ามาทำการบูรณะทำความสะอาด วัดร้างโบราณสถาน วัดโป่งชัย บ้านแป้นโป่งชัย หมู่ 9 ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เป็นโบราณสถานเก่าแก่ ดั้งเดิมตั้งแต่ของเมืองวิเชตนคร อายุหลายร้อยปี หลังวัดแห่งนี้ได้ชำรุดผุพังและปล่อยรกร้างมาเป็นเวลานาน

โดยโบราณสถานวัดโป่งชัย พื้นที่บ้านแป้นโป่งชัย หมู่ 9 อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง แห่งนี้เป็นวัดร้างและเป็นวัดโบราณสถาน ขณะนี้ทางพระอุกฤต อธิจิตโต พระผู้ดูแลวัด ได้เข้ามาดูแลและฟื้นฟูปรากฏว่าช่วงขณะที่ฟื้นฟูและทำความสะอาดไปเจออิฐดินเผาโบราณกว่า 10 ชิ้นตรวจสอบแล้วเป็นอักขระโบราณภาษาล้านนาอายุมากกว่า 300 ปี ซึ่งอิฐโบราณดังกล่าวอยู่ใต้ฐานองค์พระประธาน โดยหลังจากพบอิฐดินเผาโบราณดังกล่าวแล้ว ทำให้ชาวบ้านที่ทราบข่าวเดินทางมาดูกันอย่างต่อเนื่อง และเข้ามากราบไหว้กันต่อเนื่อง

ขณะที่พระราชธรรมมาลังการที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 วัดบุญวาทย์วิหาร พระอารามหลวงลำปาง และยังเป็นอดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปางได้เดินทางเข้ามาบริเวณโบราณสถานของวัดโป่งชัย และได้ตรวจสอบและเบื้องต้นทราบว่าเป็นอักขระโบราณยุคล้านนา โดยระบุอักษรล้านนาเป็นชื่อพระที่สร้างวัดและชื่อจิตศรัทธาญาติโยม ซึ่งเคยสร้างวัดแห่งนี้ไว้เมื่อ 300 ปีที่ผ่านมา

โดยขณะนี้ทางหลวงพ่อพระราชธรรมมาลังการได้สั่งให้พระอุกฤต ซึ่งเป็นพระบุกเบิกและเข้ามาบูรณะวัดแห่งนี้ ได้เก็บรักษาไว้ให้เป็นอย่างดี เพราะเป็นสิ่งโบราณสถานที่มีคุณค่า หลังจากพบแล้วประมาณ 10 ชิ้น อย่างไรก็ตามการตรวจเจออิฐดินเผาลงอักขระโบราณนั้นเก่าแก่มาก และยังอ่านข้อความยังไม่ครบถ้วน เพราะว่ายังมีชิ้นส่วนอื่นอยู่ที่ใต้พระประธานอีกหลายแผ่นจะต้องนำมาต่อกันถึงจะอ่านข้อความนั้นได้ครบและสมบูรณ์ต่อไป แต่อย่างไรก็ตามทางพระอุกฤตบอกว่าคงจะไม่ไปขุดหรือไปหยิบแผ่นอิฐดินเผาใต้พระประธานออกมา เพราะเกรงว่าอาจจะได้กระทบกระเทือนหรืออาจจะทำให้พระประธานและโบราณสถานต่างๆ ในวัดแตกหักพังเสียหาย

ซึ่งจากนี้ไปจะเก็บอิฐโบราณทั้งหมดประมาณ 10 ชิ้น เพื่อทำการอนุรักษ์ไว้ และเพื่อให้ประชาชนเข้ามากราบไหว้ และจะได้พัฒนาสถานปฏิบัติธรรมวัดโป่งชัยแห่งนี้ ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและปฏิบัติธรรมในเชิงอนุรักษ์ทางวิถีพุทธต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook