ผู้พิพากษายะลายิงตัวเอง: เผยพิรุธคดี เหตุยกฟ้อง 5 จำเลย แต่ถูกผู้ใหญ่บีบเปลี่ยนใจ

ผู้พิพากษายะลายิงตัวเอง: เผยพิรุธคดี เหตุยกฟ้อง 5 จำเลย แต่ถูกผู้ใหญ่บีบเปลี่ยนใจ

ผู้พิพากษายะลายิงตัวเอง: เผยพิรุธคดี เหตุยกฟ้อง 5 จำเลย แต่ถูกผู้ใหญ่บีบเปลี่ยนใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การยิงตัวเองของนายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา ขณะพิจารณาคดีวันนี้ (4 ต.ค.) ตกเป็นที่สนใจของสังคมอย่างมาก เมื่อมีการเปิดเผยว่า สาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจเช่นนั้นเป็นเพราะถูกกดดันจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงกว่า ให้เปลี่ยนคำตัดสินยกฟ้องในคดีสำคัญคดีหนึ่ง ให้เป็นการจำคุกและประหารชีวิตจำเลย 5 คน

>> ผู้พิพากษายะลา ชักปืนจ่อยิงตัวเอง ระหว่างพิจารณาคดี คาดเครียดส่วนตัว

>> ผู้พิพากษายะลายิงตัวเอง: เพจเฟซบุ๊กเปิดคำแถลง อ้างโดนผู้ใหญ่บีบเปลี่ยนคำตัดสิน

เผยพิรุธพยานหลักฐาน

อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษารายนี้เปิดเผยเอกสารคำแถลงการณ์ของตนผ่านเฟซบุ๊กว่า คดีนี้มีพิรุธมากมาย ดังนี้

  • คดีนี้เป็นเรื่องการฆาตกรรมธรรมดา ไม่ใช่คดีก่อการร้ายหรือคดีความมั่นคง แต่จำเลยทั้ง 5 คนกลับถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก และ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กำหนดการบริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

    "กฎอัยการศึกที่ให้ควบคุมผู้ต้องสงสัยได้ 7 วันและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่ให้ควบคุมผู้ต้องสงสัยได้ไม่กิน 7 วัน ขยายระยะเวลาควบคุมได้คราวละ 7 วัน รวมทั้งหมดไม่เกิน 30 วัน ที่ใช้สำหรับคดีความมั่นคงหรือคดีก่อการร้าย แต่กลับถูกนำมาใช้กับคดีนี้ซึ่งเป็นคดีธรรมดาทั่วไป" นายคณากร ระบุ
  • ทีมกู้ภัยเป็นคนเก็บหลักฐาน เช่น ปลอกกระสุน และหัวกระสุน ในคืนเกิดเหตุ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ทำให้วัตถุพยานไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง

  • เจ้าหน้าที่ได้ตัวพยานคนหนึ่งมาโดยไม่รู้ที่มา

    "พยานบุคคลปาก_____ ถูกควบคุมตัวเป็นคนแรก โดยการปิดล้อมของเจ้าหน้าที่โดยไม่ปรากฏเหตุแห่งการปิดล้อมที่แจ้งชัด การได้ตัว_____ มาเป็นผู้ซักทอดจำเลยทั้งห้าจึงมีพิรุธ ทั้งการควบคุมตัว_____ ตามกฎอัยการศึก ในฐานะผู้ต้องสงสัย กระทำโดยไม่ปรากฏเหตุสงสัยที่ชัดแจ้ง เพราะขณะนั้น เจ้าหน้าที่ยังไม่มีหลักฐานอะไรในคดีนี้ที่จะเป็นเหตุให้สงสัยว่า_____ เป็นผู้ร่วมกระทำความผิด"

  • ขณะควบคุมตัวพยานคนนี้ เจ้าหน้าที่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรที่ชี้ได้ว่าพยานคนนี้เป็นผู้ต้องสงสัย

  • โทรศัพท์มือถือที่อ้างว่าพยานคนนี้ใช้ติดต่อกับจำเลยทั้ง 5 คน มีพิรุธ
    • พบที่เล้าไก่ ซึ่งอยู่นอกบ้านของพยาน ที่ใครๆ ก็เข้าไป
    • โทรศัพท์มือถือไม่มีดีเอ็นเอของพยานคนดังกล่าว
    • โทรศัพท์มือถือเครื่องนี้เป็นชื่อของคนอื่น และไม่มีหลักฐานว่าพยานคนนี้เคยใช้

  • ปืนสั้น 9 มิลลิเมตร ที่อ้างว่าพยานที่ 2 และ 5 ใช้ก่อเหตุ ก็ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้เลย
    • พบในที่ดินเปิดโล่งซึ่งเป็นที่ดินของใครก็ไม่ทราบ
    • ไม่ใช่อาวุธที่ใช้ก่อคดีนี้
    • ไม่พบดีเอ็นเอของลำเลยที่ 2 และ 5 ที่ปืน หรือในสถานที่ซ่อนปืน

  • จำเลยทั้ง 5 คน ถูกบังคับขู่เข็ญให้เขียนบันทึกคำให้การและยืนยันข้อเท็จจริง

    >> "พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย" ของมันต้องมีในกระบวนการยุติธรรมไทย

กระบวนการยุติธรรมต้องโปร่งใส

อย่างไรก็ตาม นายคณากร กล่าวในคลิปที่ตนถ่ายทอดสดขณะตัวเองพูดผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตัดสินยกฟ้องนั้น ไม่ได้แปลว่าจำเลยทั้ง 5 คนไม่ได้ก่อเหตุ คือ อาจจะก่อเหตุจริง แต่หลักฐานและพยานที่มีอยู่นั้นไม่โปร่งใสพอให้ลงโทษได้ ซึ่งกระบวนการยุติธรรมควรยืนหยัดบนหลักความโปร่งใสอย่างที่กล่าวไป

"แต่ผมไม่ได้ยืนยันว่าจำเลยทั้ง 5 เนี่ย เขาไม่ได้กระทำความผิดนะ เขาอาจจะกระทำความผิดก็ได้ แต่กระบวนการยุติธรรมเนี่ย จะต้องทำให้มันโปร่งใส ให้มันหนักแน่น ให้มันลงโทษคนได้โดยที่ไม่มีใครมาเถียงเราได้ว่า ไม่มาบอกว่า เราไปลงโทษคนผิด"

ไล่เหตุการณ์สั่งเปลี่ยนคำตัดสิน

เหตุนี้ทำให้ผู้พิพากษารายนี้มองว่าพยานหลักฐานอ่อนมาก แทบจะรับฟังไม่ได้เลยด้วยซ้ำ จึงพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยทั้ง 5 คน แต่ก่อนที่อ่านคำพิพากษา ตนต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชา C ทราบ

  • ผู้บังคับบัญชา C สั่งให้นำร่างคำพิพากษาและสำนวนไปตรวจ เพราะเป็นคดีสำคัญ

  • เมื่อส่งถึงสำนักงานของ C เจอผู้บังคับบัญชา A เป็นด่านแรก ซึ่ง A ทำบันทึกว่าไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน

  • A ส่งต่อให้ผู้บังคับบัญชา B ที่อยู่ตำแหน่งสูงกว่า ซึ่ง B ก็ไม่เห็นด้วย

  • B ส่งต่อให้ C แล้ว C ทำ "บันทึกลับ" สั่งให้แก้คำพิพากษาใหม่ และมีแนวทางแก้ไขแนบมาด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook