เลขาฯ ศาลยุติธรรมยืนยัน ไม่สามารถแทรกแซงผู้พิพากษาได้

เลขาฯ ศาลยุติธรรมยืนยัน ไม่สามารถแทรกแซงผู้พิพากษาได้

เลขาฯ ศาลยุติธรรมยืนยัน ไม่สามารถแทรกแซงผู้พิพากษาได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลขาธิการศาลยุติธรรม ยืนยัน การทำหน้าที่ของผู้พิพากษาไม่สามารถแทรกแซงได้ แต่ตามกฎหมายให้อำนาจอธิบดีมีคำแนะนำให้ความเห็นแย้งได้ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน

นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า คำพิพากษาถือเป็นความลับ ไม่สามารถเปิดเผยก่อนการอ่านคำพิพากษาได้ ไม่เช่นนั้นจะรู้ผลล่วงหน้า และเป็นวิธีปฏิบัติของศาลที่จะปรึกษาหารือกันได้ ซึ่งในกระบวนการทำงานคดีที่มีโทษสูง คดีสำคัญ กฎหมาย พระธรรมนูญ มาตรา 11 (1) ที่ให้อำนาจ อธิบดี นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีใดๆของศาลนั้น หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้วมีอำนาจทำความเห็นแย้งได้ และสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในศาลนั้นในข้อขัดข้องเนื่องในการปฏิบัติหน้าของผู้พิพากษา และ ปรึกษาหารือกันในองค์คณะที่มีหน้าที่ในการพิจารณาคดีได้ และใน มาตรา 14 ระบุไว้ด้วยว่าให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคเป็นผู้พิพากษาในศาลที่อยู่ในเขตอำนาจด้วยผู้หนึ่ง โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 11 วรรคหนึ่ง รวมทั้งได้ให้อำนาจรองอธิบดีผู้พิพากษาภาคไว้ด้วยเพราะปริมาณคดีมีมาก

“อธิบดี จึงมีสิทธิ ที่จะตรวจสำนวน คำพิพากษา ถ้าไม่ได้ขึ้นไปนั่งพิจารณาคดี ก็มีข้อแนะนำได้ หากการเขียนคำพิพากษามีจุดบกพร่อง ก็แนะนำให้แก้ไขได้ ซึ่งกฎหมายให้อำนาจไว้เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน แต่อธิบดีไม่สามารถไปก้าวก่ายการตัดสินของผู้พิพากษาได้ ไม่สามารถแทรกแซงการทำงานได้ เพราะหากผู้พิพากษาไม่เห็นตามนั้น ก็สามารถยืนยันความเห็นของตนเองได้” ซึ่งมีตัวอย่างในคดีที่ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร ถูกฟ้องคดี 157 อธิบดีศาลอาญาในขณะนั้น ซึ่งเป็นท่านชีพ จุลมนต์ อดีตประธานศาลฎีกา เคยมีความเห็นแตกต่างจากองค์คณะว่าควรลงโทษ แต่องค์คณะเห็นว่า ควรยกฟ้อง อธิบดีจึงมีความเห็นว่าให้เอาไปทบทวน ทางองค์คณะ ยืนยันเหมือนเดิมว่า ยกฟ้อง ท่านอธิบดีศาลอาญา จึงทำความเห็นแย้ง

สำหรับในภาค 9 มีคดีความมั่นคงจำนวนมาก การที่อธิบดี มีอำนาจตรวจสำนวนและทำความเห็นแย้งได้ จึงเป็นเรื่องปกติในกระบวนการทำงาน เพราะกฎหมายให้อำนาจอธิบดีมีความเห็นแย้งได้

“แม้การตรวจสำนวนจะเป็นระบบการตรวจสอบภายใน แต่ไม่สามารถแทรกแซงอำนาจของผู้พิพากษาได้ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำตัดสินของผู้พิพากษาได้ ในภาค 9 คดีความมั่นคง อธิบดีตรวจเป็นเรื่องปกติในการทำงาน แต่มั่นใจได้ว่าไม่สามารถแทรกแซงอำนาจของผู้พิพากษาได้ ซึ่งกรณีท่านผู้พิพากษา คณากร เพียรชนะ ท่านก็พิพากษายกฟ้อง ท่านแสดงให้เห็นแล้วว่า ไม่มีใครแทรกแซงท่านได้”

ส่วนการตรวจสอบข้อเท็จจริง สำนักงานศาลยุติธรรม จะนำเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุม คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมในวัน ที่ 7 ตุลาคมนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook