"อ.เจษฎา" เผยสาเหตุ ปากกาเมจิกซึมลงในถุงโจ๊ก ชี้ อันตราย มีสารก่อมะเร็ง

"อ.เจษฎา" เผยสาเหตุ ปากกาเมจิกซึมลงในถุงโจ๊ก ชี้ อันตราย มีสารก่อมะเร็ง

"อ.เจษฎา" เผยสาเหตุ ปากกาเมจิกซึมลงในถุงโจ๊ก ชี้ อันตราย มีสารก่อมะเร็ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ภาพถุงโจ๊ก ที่ซื้อมาจากร้านแห่งหนึ่ง โดยด้านนอกถุง ทางร้านได้ใช้ปากกาเมจิก สีชมพูเขียนเป็นเครื่องหมายไว้ว่าเป็นถุงที่เพิ่มไข่ แต่พอเปิดถุงเตรียมใส่ในถ้วย ต้องผงะ! เพราะหมึกสีชมพูซึมจากนอกถุงเข้าไปผสมกับเนื้อโจ๊กโจ๊กในถุงดังกล่าวกลับมีสีชมพูเหมือนกับปากกาเมจิกที่ทางร้านนำมาเขียนไว้ข้างถุง

>> เมจิกสมชื่อ! สาวซื้อโจ๊ก แม่ค้าเอาปากกาเขียนบนถุง เทออกมาหมึกซึมผสมในโจ๊ก

ล่าสุด รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้คำอธิบายกับ "อีจัน" โดยระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่หมึกปากกาจะซึมเข้าเนื้ออาหาร เพราะพลาสติกนั้น มีสารที่เป็นโมเลกุลของสสารจับตัวกันอยู่ ซึ่งในตัวพลาสติกเองก็มีช่องว่างเล็กๆอยู่ เมื่อถูกความร้อนจะเกิดการขยายตัว ก็จะยิ่งทำให้ช่องว่างเหล่านี้ มีพื้นที่ให้ความชื้นหรืออากาศเข้าแทรกซึมได้ ตามหลักแล้วตัวปากกาเมจิก จะมีเนื้อสีที่เป็นสารละลายที่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายและอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ด้วย

จึงเป็นอุทธาหรณ์ ให้กับพ่อค้าแม่ค้า อย่าใช้ปากกาเมจิกเขียนลงบนถุงพลาสติก เพราะถุงพลาสติกไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเขียนปากกาเมจิกลงไป ควรหาวิธีอื่นในการทำสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย เพราะยิ่งอาหารร้อนมาก ก็จะเกิดการซึมของหมึกเข้าไปภายในถุงได้ง่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แม้จะใช้ถุงที่มีคุณภาพดีก็ตาม

 

 

นอกจากนี้ รศ.ดร.เจษฎา ยังแชร์ข้อมูลจาก เพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว” ประกอบว่า เมื่อมีเหตุการณ์ที่สีหมึกซึมทะลุจากภายนอกถุงเข้าไปเปื้อนโจ๊กในถุง หลายๆคนก็คงจะสงสัยว่า ทำไมหมึกที่อยู่อีกด้านจึงสามารถที่จะทะลุเข้าไปด้านในได้ จากที่ดู พอจะเดาว่าปากกาเมจิกที่ใช้เขียนถุงพลาสติกเหล่านี้น่าจะเป็นปากกาที่เรามักจะเรียกกันเป็นภาษาชาวบ้านว่า “ปากกาเคมี” หรือ Permanent marker ซึ่งปกติแล้วสีย้อมที่นำมาใช้ทำเป็นหมึกปากกาเคมีเหล่านี้มักจะเป็น “สีประจุบวก” (cationic dyes) ที่มักจะเป็นสีในกลุ่มของ “ไตรเอริลมีเธน” (Triarylmethane dyes) และนิยมนำมาละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น Ethyl acetate, Acetone, Isopropyl alcohol หรืออาจจะเป็น Ethanol ก็ได้ เนื่องจากว่าสีเหล่านี้มีความเข้มสูง และสีเหล่านี้เมื่ออยู่ในตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีขั้วปานกลางเหล่านี้ก็จะทำให้มันมีแรงตึงผิวที่ต่ำพอจนทำให้สามารถเกาะบนผิวพลาสติกที่ไม่มีขั้วอย่าง PP หรือ HDPE ที่นำมาทำเป็นถุงพลาสติกได้ดี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook