แม่ 2 หนุ่มเมียนมายื่นขอพระราชทานอภัยโทษ คดีฆ่าชาวอังกฤษที่เกาะเต่า

แม่ 2 หนุ่มเมียนมายื่นขอพระราชทานอภัยโทษ คดีฆ่าชาวอังกฤษที่เกาะเต่า

แม่ 2 หนุ่มเมียนมายื่นขอพระราชทานอภัยโทษ คดีฆ่าชาวอังกฤษที่เกาะเต่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม่ของแรงงานเมียนมา 2 คน ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดคดีฆาตกรรมนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ 2 ราย ที่เกาะเต่า ขอพระราชทานอภัยโทษ หวังลดโทษโทษประหารให้เหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต

แม่ของซอ ลิน และ วิน ซอ ตุน พร้อมทนายความและเจ้าหน้าที่สถานทูตเมียนมา ประจำประเทศไทยทูลเกล้าฯ ถวายฏีกาขอพระราชทานอภัยโทษ หลังจากที่แรงงานเมียนมาทั้งสองคนถูกศาลตัดสินประหารชีวิตจากคดีข่มขืนและฆาตกรรม ฮันนาห์ วิทเธอริดจ์ และฆาตกรรม เดวิด มิลเลอร์ นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษบนเกาะเต่า เมื่อเดือน ก.ย. ปี 2014

>> ศาลฎีกาพิพากษายืน ประหาร 2 ผู้ต้องหาชาวเมียนมา ฆ่านักท่องเที่ยวอังกฤษบนเกาะเต่า

แม่ของซอ ลิน และ วิน ซอ ตุน กล่าวว่า พวกเธอหวังว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงลดโทษโทษประหารให้เหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต พร้อมระบุว่า พวกเธอเชื่อว่าลูกเป็นผู้บริสุทธิ์ และหลายคนก็คิดเช่นนั้น

ศาลได้ปฏิเสธคำร้องขออุทธรณ์คดีนี้ไปแล้วเมื่อเดือนส.ค. การขอพระราชทานอภัยโทษหรือลดโทษประหารถือเป็นโอกาสสุดท้ายในการบรรเทาโทษ

ณัฐาศิริ เบิร์กแมน ทนายความฝ่ายจำเลย กล่าวว่า พวกเขาไม่ได้ท้าทายคำตัดสินของศาล เพียงแต่บอกว่า การลงโทษประหารชีวิตทำให้พวกเขาสูญเสียโอกาสในการทำสิ่งดีๆ ในชีวิตของพวกเขา และพวกเขาต้องการโอกาสเป็นครั้งที่ 2

ก่อนหน้านี้ ทนายความฝ่ายจำเลยระบุว่า หลักฐานที่ใช้เอาผิดแรงงานทั้งสองคนไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบหลักการเก็บดีเอ็นเอ อีกทั้งยังไม่อนุญาตให้ทีมสอบสวนอิสระวิเคราะห์ตัวอย่างดีเอ็นเอ นอกจากนี้ คำรับสารภาพของแรงงานทั้งสองคนก็ยังได้มาจากการข่มขู่จากเจ้าหน้าที่

เมื่อศาลตัดสินประหารชีวิตซอ ลิน และวิน ซอ ตุน ญาติของผู้เสียชีวิตก็มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่แตกต่างกันออกไป โดยครอบครัวของมิลเลอร์พอใจกับคำตัดสินของศาล แต่ครอบครัวของวิทเธอริดจ์ยังคงคลางแคลงใจเกี่ยวกับคดีนี้ โดยพี่สาวของฮันนาห์เชื่อว่ากระบวนการสืบสวนสอบสวนมีความผิดพลาด

คดีฆาตกรรมมิลเลอร์และวิเธอริดจ์สร้างความไม่พอใจให้กับชาวเมียนมาจำนวนมาก หลายคนมองว่า นอกจากแรงงานเมียนมาจะได้ค่าแรงต่ำแล้วยังไม่ได้รับความยุติธรรมในกระบวนการทางกฎหมายอีกด้วย โดยตำรวจในพื้นที่ถูกกล่าวว่า ถูกกดดันให้รีบปิดคดี โดยพี่ชายของซอลิน ซึ่งทำงานอยู่ในไทยเช่นเดียวกันได้กล่าวว่า ซอ ลิน และวิน ซอ ตุนเป็น “แพะรับบาป” เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของประเทศไทย

ทั้งนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการลงโทษประหารชีวิตแรงงานทั้ง 2 คนเมื่อไหร่ โดยพวกเขาเป็น 2 คนจากหลายร้อยคนที่ถูกตัดสินประหารชีวิต แต่เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา ไทยได้ประหารชีวิตนักโทษคนแรกในรอบ 9 ปี ส่งผลให้กลุ่มนักสิทธิมนุษยชนออกมาวิจารณ์อย่างหนัก เนื่องจากมีความคาดหวังจะไทยจะยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติได้ เมื่อไม่มีการประหารชีวิตเกิน 10 ปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook