ผลวิจัยชี้โลกร้อน-ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น กรุงเทพฯ เสี่ยงจมน้ำอีกแค่ 30 ปี

ผลวิจัยชี้โลกร้อน-ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น กรุงเทพฯ เสี่ยงจมน้ำอีกแค่ 30 ปี

ผลวิจัยชี้โลกร้อน-ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น กรุงเทพฯ เสี่ยงจมน้ำอีกแค่ 30 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรุงเทพฯ และอีกหลายเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญในเอเชียกำลังเสี่ยงถูกน้ำท่วมภายในปี 2050 ประชากรกว่า 300 ล้านคนกำลังเสี่ยงอยู่ในภาวะจมน้ำ

งานวิจัยชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communication ระบุว่า ที่อยู่อาศัยของประชากรกว่า 300 ล้านคนจะถูกน้ำท่วมภายในปี 2050 หากยังไม่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไม่มีการป้องกันการกัดเซาะแนวชายฝั่งอย่างจริงจัง' ขณะที่งานวิจัยหลายชิ้นก่อนหน้าระบุว่า ประชากร 80 ล้านคนเท่านั้นที่จะได้รับความเสี่ยงนี้

งานวิจัยใหม่ชิ้นนี้ใช้การคำนวณข้อมูลของแผนที่ชายฝั่งทั่วโลกโดยใช้เทคโนโลยีเอไอเข้ามาช่วย ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมในการคำนวณ รวมไปถึงสัดส่วนระหว่างต้นไม้และตึกสูง

ทีมนักวิจัยกล่าวว่า ผลการคำนวณแสดงให้เห็นถึงผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อทิศทางของเมือง เศรษฐกิจ พื้นที่ชายฝั่งและการรวมตัวของภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นคือ ภายในปี 2100 ประชากรทั่วโลกกว่า 640 ล้านคนจะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น

วิจัยชิ้นดังกล่าวยังแสดงให้เห็นอีกว่า ภูมิภาคที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมมากที่สุดคือ เอเชีย เมืองใหญ่ต่างๆ ในเอเชียจะถูกน้ำท่วม ทั้งเมืองมุมไบในอินเดีย ประเทศอิรัก และหลายเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จะได้รับผลกระทบนี้ด้วยเช่นกัน

งานวิจัยระบุว่า ภายในปี 2050 พื้นที่อยู่อาศัยของประชากรมากกว่า 20 ล้านคนในเวียดนามจะถูกน้ำท่วม รวมไปถึงนครโฮจิมินห์ ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเวียดนามด้วยเช่นกัน

04coastalflooding-1

ขณะที่ประเทศไทย ที่อยู่อาศัยของประชากรกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะจมน้ำภายในปี 2050 โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจของไทย

ทางด้านเซี่ยงไฮ้ มหานครเศรษฐกิจที่สำคัญของจีน พื้นที่บริเวณใจกลางเมืองและเมืองรอบๆ เซี่ยงไฮ้จะถูกน้ำท่วมเช่นกัน

เบนจามิน สเตราส์ หัวหน้าทีมประจำศูนย์ภูมิอากาศกล่าวว่า 'หลายประเทศต้องลงทุนกับการป้องกันระดับน้ำทะเลที่จะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งกำแพงกั้นน้ำทะเล หรือ อุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ รวมไปถึงการอพยพโยกย้ายประชากร พร้อมยกตัวอย่างอินโดนีเซียที่รัฐบาลได้เตรียมพร้อมย้ายเมืองหลวงไปยังพื้นที่ที่สูงขึ้น'

ทั้งนี้ทางทีมวิจัยยังกล่าวว่า การอพยพโยกย้ายประชากรนั้นก็มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในตะวันออกกลาง

"เรื่องของเมืองที่จะหายไปกับสายน้ำนั้น มันเป็นมากกว่าเรื่องของสิ่งแวดล้อม มันเป็นเรื่องของมนุษยธรรม ความมั่นคงปลอดภัย และอาจจะรวมถึงเรื่องปัญหาทางการทหารด้วยเช่นกัน' นายพลเคส เทลลอว์ ที่ปรึกษาทีมวิจัยกล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook