รองโฆษก อสส.ยกตัวอย่างฎีกา หากผู้เสียหายถูกล่อให้ทำผิด ไม่ถือเป็นความผิด

รองโฆษก อสส.ยกตัวอย่างฎีกา หากผู้เสียหายถูกล่อให้ทำผิด ไม่ถือเป็นความผิด

รองโฆษก อสส.ยกตัวอย่างฎีกา หากผู้เสียหายถูกล่อให้ทำผิด ไม่ถือเป็นความผิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยงค์ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผย เรื่องการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์นั้นทาง สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีหนังสือเวียนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 เรื่องแนวทางการพิจารณาการล่อซื้อ กับการล่อให้กระทำความผิด ซึ่งหนังสือเวียนดังกล่าวจะมีคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อให้พนักงานอัยการระมัดระวังในการสั่งคดี ปัญหาคือ ถ้าคดีไม่มาถึงอัยการ ตกลงจบกันที่สถานีตำรวจ อัยการก็คงสั่งไม่ฟ้องให้ไม่ได้ แนวคำพิพากษาศาลฎีกาบอกไว้ชัดเจนแล้วว่าการล่อให้กระทำความผิด เท่ากับเป็นผู้ก่อให้เขากระทำความผิดจึงไม่เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะดำเนินคดีได้

การล่อให้เขากระทำความผิดไม่ใช่การล่อซื้อ เช่น ถ้ากรณีปกติไม่ได้มีการผลิตขึ้นจำหน่าย แต่ไปสั่งให้เขาทำ แล้วก็เอาตำรวจไปจับ อย่างนี้ถือเป็นการล่อให้กระทำความผิด แต่ถ้ามีการผลิตจำหน่ายอยู่ก่อนแล้ว ไปติดต่อขอซื้อถือเป็นการล่อซื้อ เมื่อศาลเคยตัดสินแล้วว่าคดีเช่นนี้ไม่เป็นผู้เสียหาย ที่จะดำเนินคดีได้ ปัญหาต่อมา คือการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามการชี้ให้จับของผู้ที่อ้างตนว่าเป็นผู้เสียหาย จนถึงขั้นมีการเรียกร้องค่าเสียหายกัน จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ คงต้องมีการดำเนินการสอบสวนโดยละเอียด เพราะมีข่าวออกมาว่าบริษัท ของลิขสิทธิ์ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้มีการมอบอำนาจให้ผู้ใดไปจับ จึงเกิดคำถามได้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไปจับถูกหลอกลวงด้วยหรือไม่ได้ตรวจสอบหนังสือมอบอำนาจถูกต้องแล้วหรือไม่ เรื่องนี้น่าจะต้องติดตามดำเนินคดี สอบสวนให้ได้ความจริงโดยละเอียด มีใครผิดบ้างนำมาลงโทษ

อย่างกรณีเด็กอายุ15 ที่ถูกจับกุมจากการล่อซื้อกระทงลิขสิทธิ์นั้น ในการแจ้งข้อหาและการสอบปากคำเด็กหรือเยาวชน บิดา มารดา ผู้ปกครองบุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย จะเข้าร่วมรับฟังการสอบสวนดังกล่าวด้วยก็ได้

>> อ่านทุกประเด็นข่าว บุกจับกระทงผิดลิขสิทธิ์

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook