นักแสดงตลกวิจารณ์ “เฟซบุ๊ก” อาจให้ฮิตเลอร์ซื้อโฆษณาถ้าอยู่ร่วมยุคกัน

นักแสดงตลกวิจารณ์ “เฟซบุ๊ก” อาจให้ฮิตเลอร์ซื้อโฆษณาถ้าอยู่ร่วมยุคกัน

นักแสดงตลกวิจารณ์ “เฟซบุ๊ก” อาจให้ฮิตเลอร์ซื้อโฆษณาถ้าอยู่ร่วมยุคกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ซาชา บารอน โคเฮน นักแสดงตลกชาวอังกฤษวิจารณ์นโยบายโฆษณาเนื้อหาทางการเมืองของเฟซบุ๊กว่า หากเฟซบุ๊กอยู่ในช่วงปี 1930 ก็จะอนุญาตให้ฮิตเลอร์ซื้อโฆษณาเผยแพร่ข้อความเกลียดชังชาวยิว

ซาชา บารอน โคเฮน นักแสดงตลกชื่อดังชาวอังกฤษ วิพากษ์วิจารณ์บริษัทเฟซบุ๊กระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุม Never is Now ของสันนิบาตต่อต้านการหมิ่นประมาท (ADL) ในนครนิวยอร์ก โดยระบุว่า เฟซบุ๊กเป็นเครื่องจักรผลิตโฆษณาชวนเชื่อที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

พร้อมกล่าวว่า "หากคุณจ่ายเงินให้เขา เฟซบุ๊กก็จะขึ้นโฆษณาเกี่ยวกับการเมืองทุกอย่างตามที่คุณต้องการ แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องโกหก เฟซบุ๊กก็จะช่วยคุณกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เรื่องโกหกของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุด"

โคเฮนกล่าวต่อว่า "ด้วยตรรกะอันผิดเพี้ยนนี้ หากมีเฟซบุ๊กอยู่ในช่วงปี 1930 เฟซบุ๊กจะอนุญาตให้ฮิตเลอร์โพสต์โฆษณา 30 วินาทีเกี่ยวกับทางแก้ไขปัญหาชาวยิว" และถึงเวลาแล้วที่จะต้องกลับมาคิดเรื่องโซเชียลมีเดียกันใหม่ ว่าโซเชียลมีเดียเผยแพร่ความเกลียดชัง ทฤษฎีสมคบคิดและเรื่องโกหกอย่างไร

และเขาคิดว่าทุกคนน่าจะเห็นด้วยว่าเราไม่ควรให้ "คนคลั่งกับพวกชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก" มีพื้นที่ในการเผยแพร่ความเห็นของตัวเองและมุ่งเป้าไปที่เหยื่อของตัวเองได้อย่างเสรี

นอกจากนี้ โคเฮนยังวิจารณ์บริษัทโซเชียลมีเดียว่า "โวลแตร์พูดถูกตอนที่พูดว่าคนที่สามารถทำให้คุณเชื่อเรื่องงี่เง่าน่าขันได้ สามารถทำให้คุณทำสิ่งชั่วร้ายได้ และโซเชียลมีเดียก็ปล่อยให้พวกอำนาจนิยมยัดเยียดเรื่องงี่เง่าน่าขันให้กับคนหลายพันล้านคน"

ช่วงที่ผ่านมา บริษัทอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่กำลังถูกสังคมกดดันให้หาทางแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ เพิ่งมุ่งหวังผลทางการเมือง เมื่อต้นเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา สมาชิกรัฐสภานานาชาติได้เรียกร้องให้มีการระงับโฆษณาเกี่ยวกับการเมืองบนโซเชียลมีเดียจนกว่าจะมีการกำกับดูแลเรื่องนี้ได้อย่างเหมาะสม

ทวิตเตอร์เพิ่งประกาศไปเมื่อเดือนต.ค.ว่าจะแบนการโฆษณาเกี่ยวกับการเมืองทั้งหมดในวันที่ 22 พ.ย. และเมื่อต้นสัปดาห์กูเกิลก็เปิดเผยว่าจะไม่อนุญาตให้การโฆษณาเกี่ยวกับการเมืองมุ่งกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยใช้วิธีไมโครทาร์เก็ตติง หรือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายจากข้อมูลเพศ อายุ ความสนใจของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต มีเพียงเฟซบุ๊กที่ยืนยันว่าจะยังลงโฆษณาเกี่ยวกับการเมืองต่อไป

>> "ทวิตเตอร์" จะแบนโฆษณาการเมืองทุกชนิด แต่เฟซบุ๊กยังปล่อยอยู่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook