คนไทยอยู่บ้านมากขึ้น เพราะเจอภาวะเศรษฐกิจต้องประหยัด งดเที่ยว งดช้อป

คนไทยอยู่บ้านมากขึ้น เพราะเจอภาวะเศรษฐกิจต้องประหยัด งดเที่ยว งดช้อป

คนไทยอยู่บ้านมากขึ้น เพราะเจอภาวะเศรษฐกิจต้องประหยัด งดเที่ยว งดช้อป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สวนดุสิตโพล เผย ประชาชนเจอภาวะเศรษฐกิจ ต้องประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ลดค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง ทำอาหารกินเอง

สวนสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 1,174 คน ระหว่างวันที่ 19-23 พฤศจิกายน 2562 ในหัวข้อการกินอยู่ ของประชาชน ณ วันนี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.38 มีวิธีการประหยัดด้วยการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง งานเลี้ยงสังสรรค์ ของฟุ่มเฟือย
อันดับ 2 ร้อยละ 40.74 ไม่ออกนอกบ้าน อยู่บ้านมากขึ้น ทำอาหารทานเองที่บ้าน
อันดับ 3 ร้อยละ 22.85 วางแผนการเงิน แบ่งเงินเป็นส่วนๆ ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
อันดับ 4 ร้อยละ21.23 ซื้อสินค้าเฉพาะในช่วงที่ลดราคา จัดโปรโมชั่น
และ อันดับ 5ร้อยละ 19.60 ทำงานพิเศษ หารายได้เสริม เก็บออมเงิน

ส่วนวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนในชีวิตประจำวัน หรือที่เรียกว่า ปัจจัย 4 ในด้านอาหารพบว่า
อันดับที่ 1 หรือ ร้อยละ 62.83 ทำอาหารทานเอง ลดทานข้าวนอกบ้าน
อันดับที่ 2 ร้อยละ 37.59 กำหนดค่าใช้จ่ายในแต่ละมื้อ ไม่เกินกี่บาท
อันดับที่ 3 ร้อยละ 23.46 ไม่กินทิ้งกินขว้าง กินพอดี เหลือเก็บใส่กล่อง

ส่วนวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องที่อยู่อาศัย พบว่า อันดับที่ 1 หรือร้อยละ 65.63 ประหยัดน้ำ ไฟ /ปิดไฟ ถอดปลั๊ก เมื่อไม่ใช้งาน
อันดับที่ 2 ร้อยละ 39.35 หมั่นดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน ซ่อมเอง
อันดับที่ 3 ร้อยละ 15.77 เลือกเช่าราคาไม่แพง หารกับเพื่อน อยู่กับญาติ

ส่วนวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม พบว่า อันดับที่ 1 หรือร้อยละ 54.58 ช้อปปิ้งน้อยลง รอซื้อช่วงโปรโมชั่น ลดราคา
อันดับที่ 2 ร้อยละ 40.16 ใส่ชุดเดิม แลกเปลี่ยนเสื้อผ้ากับเพื่อน พี่น้อง
อันดับที่ 3 ร้อยละ 16.471 ซื้อของมือสอง ไม่ซื้อแบรนด์เนม

ส่วนวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องยารักษาโรค พบว่า อันดับที่ 1 หรือร้อยละ60.12 ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพ ตรวจสุขภาพประจำปี
อันดับที่ 2 ร้อยละ 32.36 ใช้สิทธิ สวัสดิการรักษาพยาบาล ประกันสังคม
อันดับที่ 3 ร้อยละ 28.07 กินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่

สำหรับสิ่งที่ประชาชนไม่สามารถประหยัดได้ พบว่า
อันดับที่ 1 หรือร้อยละ 63.52 ค่าเดินทาง ค่ารถเมล์ ค่ารถไฟ ค่าน้ำมัน
อันดับที่ 2 ร้อยละ 50.80 ค่ายา ค่ารักษาพยาบาล
อันดับที่ 3 ร้อยละ 24.79 ค่าเช่า ค่าผ่อนชำระต่างๆ เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ บัตรเครดิต
อันดับที่ 4 ร้อยละ 20.64 ค่าเทอม ค่าเล่าเรียน
อันดับที่ 5 ร้อยละ 18.66 ค่าภาษีสังคม เช่น งานบุญ งานแต่งงาน งานศพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook