ศาลสั่งปรับ “บริษัทฟิลลิป มอร์ริส” 1,225 ล้าน เลี่ยงภาษีบุหรี่ดัง

ศาลสั่งปรับ “บริษัทฟิลลิป มอร์ริส” 1,225 ล้าน เลี่ยงภาษีบุหรี่ดัง

ศาลสั่งปรับ “บริษัทฟิลลิป มอร์ริส” 1,225 ล้าน เลี่ยงภาษีบุหรี่ดัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศาลชั้นต้น สั่งปรับ "บริษัทฟิลลิป มอร์ริส" ผู้นำเข้าบุหรี่นอก กว่า 1,225 ล้านบาท ยกฟ้อง 7 จำเลยคนไทยทั้งหมด

ศาลอาญารัชดาภิเษก นัดฟังคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด จำกัด ผู้นำเข้าบุหรี่นอกยี่ห้อดัง และจำเลยที่เป็นพนักงานบริษัท เป็นจำเลยที่ 1 ถึง 8 ร่วมกันกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ภาษีศุลกากร พ.ศ.2469

จากกรณีเมื่อระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม 2546 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2549 พบว่าจำเลยทั้ง 8 คน ยื่นใบขนส่งสินค้าขาเข้า 272 ใบ ต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อผ่านพิธีการศุลกากรโดยสำแดงราคาบุหรี่ ต่ำกว่าราคาที่แท้จริง ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้ลงพื้นที่สืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน ประเมินราคาบุหรี่และค่าอากรแสตมป์ ทั้งสิ้นเป็นเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท

คดีนี้ศาลพิเคราะห์จากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ได้ความว่า ในช่วงที่เกิดเหตุจำเลยมีการสำแดงต้นทุนราคาบุหรี่นอกยี่ห้อ A จากซองละ 9.5 บาท และสุดท้ายอยู่ที่ซองละ 7.76 บาท ส่วนบุหรี่ยี่ห้อ B จากซองละ 7 บาท สุดท้ายอยู่ที่ซองละ 5.88 บาท

แต่เมื่อดีเอสไอลงพื้นที่ไปตรวจเปรียบเทียบราคาต้นทุนที่ผลิตในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นทั้งต้นทางผลิตส่งนำเข้ามาในไทยและส่งขายไปยังประเทศใกล้เคียง กลับพบว่ามีราคาต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ซองละ 13-19 บาท และเขตปลอดภาษีในไทยก็ตั้งราคาขายอยู่ที่ซองละกว่า 20 บาท

และแม้ว่าข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า มีการนำเข้าในใบขนบางส่วนถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็เป็นเพียงความเห็นในทางคดี ไม่สามารถนำมาใช้รับฟังได้ เมื่อนำพยานหลักฐานมาวิเคราะห์แล้ว จึงพบว่า ราคาต้นทุนของบุหรี่ที่โจทก์นำฟ้องในใบขน 272 ใบ รวมเป็นเงินกว่า 12,270 ล้านบาท

ซึ่งพิเคราะห์ว่าตัวเลขดังกล่าวมีการนำราคาสินค้าในเขตปลอดชำระภาษี หรือ ดิวตี้ฟรี มาคำนวณ ซึ่งมองว่าไม่เป็นธรรม จึงกำหนดราคาต้นทุนที่ต้องนำไปคำนวณภาษีเงินขาดเหลือเพียง 6,135 ล้านบาท และคำนวณภาษีเงินขาดได้ 306.4 ล้านบาท เมื่อนำไปเปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย พ.ร.บ.ศุลกากรฉบับใหม่ จึงต้องชำระค่าปรับเป็นเงิน 1,225.9 ล้านบาท

ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทที่ลงลายมือชื่อในใบขนทั้ง 272 ใบ ศาลสั่งยกฟ้อง เพราะเห็นว่าทำไปตามหน้าที่ และไม่รู้เห็นกับการจัดทำใบขน ที่ทำขึ้นในสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตาม หลังมีคำพิพากษา นายเจอรัลด์ มาโกลีส ชาวอเมริกัน (ผู้จัดการสาขาบริษัทฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด จำกัด เปิดเผยภายหลังฟังคำพิพากษาว่า ส่วนตัวยินดีกับพนักงานทั้ง 7 คน ที่ศาลพิพากษายกฟ้อง ส่วนคำตัดสินในของบริษัทฯ

เบื้องต้น ทางบริษัทฯให้ความเคารพกับคำตัดสิน แต่ทั้งนี้ก็จะดำเนินการยื่นอุทธรณ์ต่อไป เพราะมองว่าขัดแย้งกับคำตัดสินที่ศาลไทยกับองค์การการค้าโลก (WTO) เคยมีคำตัดสินไปก่อนหน้านี้ อีกทั้งยืนยันว่าบริษัทฯได้ปฏิบัติตามข้อกฎหมายของไทยในเรื่องของการแสดงราคาสินค้าและการยื่นสำแดงนำเข้ามาโดยตลอด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook