ทีมสำรวจพบ "หลุมยุบยักษ์" ลึกกว่า 300 เมตร พร้อมถ้ำหินปูนในกว่างซี

ทีมสำรวจพบ "หลุมยุบยักษ์" ลึกกว่า 300 เมตร พร้อมถ้ำหินปูนในกว่างซี

ทีมสำรวจพบ "หลุมยุบยักษ์" ลึกกว่า 300 เมตร พร้อมถ้ำหินปูนในกว่างซี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คณะสำรวจถ้ำค้นพบหลุมยุบ (karst sinkhole) ขนาดยักษ์ 2 หลุม และถ้ำหินปูนที่มีขนาดเล็กกว่าอีกกว่า 10 แห่ง ในพื้นที่ภูเขาซับซ้อนของอำเภอตงหลาน เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน หลังออกสำรวจนานนับสัปดาห์

คณะสำรวจจำนวน 30 คน ซึ่งมีทั้งนักถ้ำวิทยาและนักสำรวจจากจีน ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม ได้ดำเนินการตรวจวัดเชิงภาคสนาม และพบหลุมยุบขนาดยักษ์ 2 หลุม โดยมีหลุมหนึ่งที่ชื่อว่า “น่งคุนเทียนเคิง” ซึ่งลึกกว่า 300 เมตร มีความกว้างและยาว ณ ก้นหลุม 250 เมตร และ 120 เมตร ตามลำดับ ทั้งยังเป็นหนึ่งในหลุมยุบแบบคาสต์ที่ใหญ่ที่สุด 50 หลุมในโลกด้วย

นอกจากนี้ คณะสำรวจยังยืนยันขนาดของหลุบยุบข้างเคียงที่ชาวบ้านในพื้นที่เรียกว่า “น่งชิวเทียนเคิง” ซึ่งมีความลึก 295 เมตร มีความกว้างและยาว ณ ก้นหลุม อยู่ที่ 50 เมตร และ 100 เมตร ตามลำดับ และอาจถูกจัดอยู่ในกลุ่มหลุมยุบขนาดใหญ่ได้

ฌอง บอตตัสซี (Jean Bottazzi) นักสำรวจถ้ำชาวฝรั่งเศส และผู้เชี่ยวชาญจากต่าวชาติ จากอุทยานธรณีแห่งโลกเล่อเยี่ย-เฟิ่งซาน (Leye-Fengshan Global Geopark) ในกว่างซี ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่าจะต้องมีการตรวจสอบความกว้าง ยาว และลึกของถ้ำที่คล้ายกันกับหลุมยุบทั้งสองอีก 3 แห่ง ต่อไป

ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ คณะสำรวจจึงสามารถทำงานได้ทั้งวันทั้งคืนสำหรับภารกิจสำรวจที่กินเวลานานนับสัปดาห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลโดยตรงต่างๆ อาทิ ความกว้าง ยาว และลึกของถ้ำ เพื่อทำการวิจัยทางธรณีวิทยาต่อไป

การสำรวจครั้งนี้ยังมีสมาชิกหน่วยงานต่างชาติที่เชี่ยวชาญเข้าร่วมด้วย อาทิ สมาพันธ์ถ้ำวิทยาแห่งฝรั่งเศส (French Federation of Speleology) คณะกรรมการถ้ำวิทยาแห่งสมาคมธรณีวิทยาจีน (Committee on Speleology of the China Geological Society) และชมรมสำรวจถ้ำ 702 แห่งหนานหนิง (702 Cave Exploration Club of Nanning)

ทั้งนี้ สารานุกรมเกี่ยวกับถ้ำที่ได้รับการเผยแพร่เมื่อปี 2008 ระบุว่า หลุมยุบ (Sinkhole) หรือ “เทียนเคิง” ในภาษาจีน หมายถึงแอ่งคาสต์ (doline) หรือหลุมยักษ์โดยเกิดจากการพังทลายของถ้ำซ้ำๆ ซึ่งพบมากในจีน เม็กซิโก และปาปัวนิวกินี ที่มีลักษณะพิเศษทางธรณีวิทยาเช่นนี้

หลุมขนาดมหึมาเทียนเคิง ก่อตัวในโพรงถ้ำในชั้นหินคาร์บอน มีความลึกและกว้างมากกว่า 100 เมตร หรือมีปริมาตรมากกว่า 1 ล้านลูกบาศก์เมตร มีโครงสร้างที่สูงชันและมีหน้าผาแนวตรงโดยรอบ ทั้งยังอาจเชื่อมหรือเคยเชื่อมกับแม่น้ำในถ้ำที่อยู่ใต้ดิน

เมื่อปี 2001 จูเสวียเหวิน นักธรณีวิทยาชาวจีน เสนอให้ใช้คำว่า “เทียนเคิง” สำหรับเรียกแอ่งคาสต์ (doline) ที่ลึกกว่า 100 เมตร เนื่องจากยังไม่มีศัพท์เทคนิคเฉพาะที่ใช้เรียกลักษณะทางภูมิประเทศดังกล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook