คดีพิพาทประมูลงานรัฐ “มาไม่ทันเข้าแถว” ต่างกับ “อยู่ในแถวรอเช็คชื่อ”

คดีพิพาทประมูลงานรัฐ “มาไม่ทันเข้าแถว” ต่างกับ “อยู่ในแถวรอเช็คชื่อ”

คดีพิพาทประมูลงานรัฐ “มาไม่ทันเข้าแถว” ต่างกับ “อยู่ในแถวรอเช็คชื่อ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรณีที่กลุ่มธนโฮลดิ้งและพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท บี.กริม จอยน์ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด และ Orient Success International Limited เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งเรื่องอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด

ขณะเดียวกันนอกศาล ปรากฏมีการเสนอความเห็นอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในช่วงใกล้เวลาที่ศาลจะตัดสิน มีหลายตัวละครออกมาวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่อาจจะเข้าข่ายกดดันการทำงานของศาล โดยอ้างคำตัดสินข้อพิพาททางปกครองในอดีต ที่เอกชนแพ้คดี ถูกตัดสิทธิไม่ให้เข้าร่วมประมูลงานของรัฐ เนื่องจากยื่นเอกสารไม่ทันกำหนดเวลาลงทะเบียนเข้าร่วมเสนอราคา เปรียบเทียบกับกรณีของกลุ่มธนโฮลดิ้งที่ยื่นเอกสารสองกล่องสุดท้ายช้าจากกำหนดเวลา 15:00 น. ไป 9 นาที ในทำนองว่า ควรใช้บรรทัดฐานเดียวกับที่เคยตัดสินคดีอื่น ๆ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการปฏิบัติสองมาตรฐาน

แต่ความเป็นจริงในเรื่องนี้ หากพิจารณาอย่างเป็นกลาง ตามเอกสารหลักฐานที่ปรากฏ ไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่คำนึงถึงตัวบุคคลว่าใครเป็นโจทก์ ใครเป็นจำเลย รวมทั้งตัดความกลัวหรือความชิงชังออกว่าใครควรได้หรือไม่ควรได้โครงการนี้ไปทำ ก็จะทำให้เข้าใจเนื้อหาและเห็นข้อเท็จจริงของคดี โดยไม่จำเป็นต้องไปกดดันหรือแทรกแซงแคลงใจการทำงานของศาลเลย

1a1

ด้วยวันเวลาผ่านไป อาจทำให้หลงลืมหลักฐานข้อมูลที่มีให้เห็นชัดเจนผ่านสื่อว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 เวลา 12:20 น. ปรากฏภาพข่าว นายนพปฎล เดชอุดม รองประธานสำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายอติรุฒม์ โตทวีแสนสุข รองประธานสำนักพัฒนาโครงการพิเศษ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในนามกลุ่มธนโฮลดิ้ง เป็นเอกชนรายแรกที่เข้าไปยื่นเอกสารต่อคณะกรรมการฯ

 s__70123719

ส่วนรายที่ 2 เป็นกลุ่มแกรนด์ คอนโซเตียม (GRAND Consortium) และรายสุดท้ายเป็นกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ซึ่งหลังจากนั้นกระบวนการส่งมอบเอกสารก็เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งสามกลุ่มได้ทยอยนำเอกสารมาส่งมอบ และในเวลา 15:00 น. เจ้าหน้าทีได้เรียกกลุ่มบีบีเอสตรวจรับเอกสารเป็นรายแรก และเรียกกลุ่มธนโฮลดิ้งในเวลา 16:45 น. ซึ่งมีเอกสารครบถ้วนทุกรายการและคณะกรรมการได้ตรวจพร้อมเซ็นรับไว้ทั้งหมด โดยกระบวนการเสร็จสิ้นในเวลา 18:00 น. จุดนี้ยิ่งแสดงให้เห็นว่ากระบวนการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเลยเวลา 15:00 น. จึงไม่น่าจะใช้เป็นข้ออ้างว่ากลุ่มธนโฮลดิ้งยื่นเอกสารหลังเวลา 15:00 น. ได้

ดังนั้น จุดแตกต่างที่สำคัญของการเทียบเคียงจึงอยู่ที่การมาไม่ทันเวลาตั้งแต่แรก กับ การมาเป็นรายแรกแต่กระบวนการดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการเซ็นรับเอกสาร เท่ากับเป็นการอนุญาตการอยู่ในกระบวนการที่เป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อย่างเป็นทางการ และอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่ไม่อาจปฏิเสธได้

ahr0chm6ly9zlmlzyw5vb2suy29tl

ส่วนข้อหาที่ว่าการส่งเอกสารเกินกำหนดเวลาจะทำให้มีการได้เปรียบเสียเปรียบกันนั้น ตรงนี้ให้ดูกันตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมาก นับรวมกันเป็นหลักหลายร้อยกล่อง คณะกรรมการฯ ไม่ได้เปิดกล่องเอกสารตรวจสอบในทันที แต่ได้นำเอกสารทั้งหมดไปเก็บไว้ในห้องเก็บเอกสารที่มีการควบคุมดูแลอย่างมั่นคง จึงไม่ใช่เหตุที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะสามารถกล่าวอ้างได้ว่า ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ หรือสามารถปรับเปลี่ยนข้อเสนอใด ๆ ได้

จุดนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต่างจากกรณีอื่น ๆ ที่ยกมาเทียบเคียง เนื่องจากกรณีอื่น ๆ เป็นการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทุกรายที่เข้าประมูลจำเป็นต้องอยู่ในกระบวนการทุกขั้นตอนตลอดเวลาอย่างพร้อมเรียงกัน ตั้งแต่การลงทะเบียน การส่งมอบเอกสาร การตรวจสอบเอกสาร ไปจนกระทั่งถึงขั้นตอนการประมูล เพราะจะต้องใช้วิธีกดตัวเลขเสนอราคา หากช้าหรือเร็วไปก็จะทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันอย่างชัดเจน

สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า สาระสำคัญของการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ของทุกคดีเทียบเคียงอยู่ที่เงื่อนเวลา ที่จะทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันอย่างชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากการประมูลแบบเปิดซองเสนอราคาในกรณีอู่ตะเภา ที่ซองราคาอยู่ในครอบครองของคณะกรรมการฯ แล้ว จึงไม่มีผู้เข้าประมูลฝ่ายใดสามารถปรับเปลี่ยนตัวเลขได้อีก

ด้วยเหตุนี้ ในคำพิพากษาที่เป็นฎีกาจากคดีในอดีตที่ศาลตัดสินให้เอกชนผู้ยื่นประมูลแพ้ ซึ่งเป็นการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างการเคาะราคา จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบหรือเทียบเคียงกับกรณีการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นการประมูลแบบเปิดซองเสนอราคาราคาได้ ดังนั้น ผู้วิพากษ์วิจารณ์นอกศาลทั้งหลายจึงไม่ควรยกมาเป็นข้อกล่าวอ้างให้ใช้เป็นบรรทัดฐาน เพื่อกดดันกระบวนการพิจารณาตัดสินของศาล แต่ควรจะรอฟังเหตุและผลของศาลด้วยความเคารพ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook