ทบทวน 10 ข้อเท็จจริง กรณีประมูลสนามบินอู่ตะเภา ลุ้น 10 ม.ค. ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษา

ทบทวน 10 ข้อเท็จจริง กรณีประมูลสนามบินอู่ตะเภา ลุ้น 10 ม.ค. ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษา

ทบทวน 10 ข้อเท็จจริง กรณีประมูลสนามบินอู่ตะเภา ลุ้น 10 ม.ค. ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ล่าสุดศาลปกครองสูงสุด ได้นัดอ่านคำพิพากษาคดีโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ในวันที่ 10 มกราคม 2563  หลังจากกลุ่มธนโฮลดิ้ง (CP) และพันธมิตร ได้ยื่นอุธรณ์ศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562 ซึ่งผ่านมาหลายเดือนทำให้หลายคนอาจลืมข้อเท็จจริงที่สำคัญ จึงต้องมาทบทวนก่อนฟังพิพากษาคดีจากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโครงการประมูลพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

1. ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโครงการประมูลพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 2.9 แสนล้านบาท เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2562
2. ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาคดีอู่ตะเภาเป็นกรณีเร่งด่วน โดยองค์คณะศาลปกครองสูงสุดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกวันที่ 7 พ.ย.ที่ผ่านมา คดีหมายเลขดำที่ อ.381/2562 ระหว่างกลุ่มซีพี ที่ฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีมีมติไม่รับซองข้อเสนอกล่องที่ 6 กล่องที่ 9 โดยอ้างว่ายื่นหลัง 15:00 น. ไป 9 นาที
3. กลุ่มซีพี มายื่นซองประมูลเป็นรายแรก เวลา 12:20 น. และได้มาลงทะเบียนเอกสารขั้นต้นครบถ้วน และถูกเชิญไปรอที่ห้องรับรอง รายที่ 2 คือกลุ่ม BBS ของหมอเสริฐ-คีรี และรายที่ 3 กลุ่มแกรนด์ฯ ทยอยกันมาถึง และทั้ง 3 รายรอที่ห้องรับรอง
4. หลังเวลา 15:00 น. เริ่มมีการเรียกรับเอกสาร ทำให้ ไม่มีรายใดเลยใน 3 ราย ที่ยื่นเอกสารให้กับคณะกรรมการ ก่อนเวลา 15:00 น. เพราะเริ่มเรียกให้ทะยอยขนเอกสารจากห้องรับรอง ให้เข้ามายื่นกับคณะกรรมการยังสถานที่ยื่นซองหลัง 15:00 น. ไปแล้ว และขั้นตอนการขนเอกสารจนเสร็จสิ้นในช่วงเย็น ทำให้หากนับเวลาที่ 15:00 น. เป็นสำคัญ เท่ากับไม่ผ่านทั้ง 3 ราย
5. ผู้เข้าประมูลทั้ง 3 รายไม่สามารถเปิดซองคู่แข่งเพื่อดูราคา ทำให้ไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ เนื่องจากเอกสารทั้งหมดถูกเก็บไว้ในห้อง Navy Club
6. ในวันส่งมอบเอกสารไม่มีการท้วงติงเรื่องส่งเอกสารล่าช้าใด ๆทั้งสิ้น
7. วันที่ 18 ตุลาคม 2562 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติของคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ในส่วนที่ปฏิเสธไม่รับข้อเสนอ ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิคและแผนธุรกิจ และซองข้อเสนอด้านราคา ของกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยให้คณะกรรมการคัดเลือกของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ รับพิจารณาเอกสารดังกล่าวให้เป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินการคัดเลือกต่อไป
8. มีผู้แข่งขันประมูลครบ 3 รายเป็นการเปิดโอกาสให้แข่งขัน ได้ผู้เสนอราคาที่ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด แต่หากเหลือเพียง 2 ราย ทำให้การเปรียบเทียบมีน้อยลง
9. มีการอ้างการตัดสิน 5 คดีในอดีต ที่มีมูลค่าสูงสุด 11 ล้านบาท มาเปรียบเทียบ เทียบเคียงกันไม่ได้ เพราะทั้ง 5 คดี ผู้ยื่นมาไม่ทันแต่แรก และเป็น e-bidding ที่มีการตัดสินทันที ต่างจากกรณีอู่ตะเภาที่เป็นกระบวนการรับเอกสารเท่านั้น ทำให้การพิพากษากรณีอู่ตะเภาจึงไม่เหมือนกับคดีในอดีต
10. วันที่ 10 ม.ค.ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษา “อู่ตะเภา”

ต้องมาติดตามกันว่า วันที่ 10 ม.ค. ศาลปกครองสูงสุดนัดฟังพิพากษาคืนสิทธิร่วมประมูล “อู่ตะเภา” หรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook