เผยกลยุทธ์สืบทอดอำนาจฉบับปูติน คุมรัสเซียยาวผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แบบไร้เสียงค้าน

เผยกลยุทธ์สืบทอดอำนาจฉบับปูติน คุมรัสเซียยาวผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แบบไร้เสียงค้าน

เผยกลยุทธ์สืบทอดอำนาจฉบับปูติน คุมรัสเซียยาวผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แบบไร้เสียงค้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินได้เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดอำนาจของตำแหน่งประธานาธิบดี พร้อมๆ กับเพิ่มอำนาจของนายกรัฐมนตรีแทน รวมทั้งเสนอปรับโครงสร้างรัฐธรรมนูญอีกหลายประการในระหว่างการแถลงนโยบายแห่งชาติประจำปีเมื่อวันพุธที่ 15 มกราคมที่ผ่านมานั้น

นายกรัฐมนตรีดมีตรี เมดเวเดฟและคณะรัฐมนตรีทั้งหมดได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง ภายหลังจากที่ประธานาธิบดีปูตินแถลงเกี่ยวกับข้อเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงไม่กี่ชั่วโมง เพื่อเปิดทางให้ประธานาธิบดีดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ตามความประสงค์ ทั้งๆ ที่นายกรัฐมนตรีเมดเวเดฟและคณะรัฐมนตรีทั้งหมดไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าประธานาธิบดีปูตินมีแผนการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ    

ส่วนใบลาออกของนายกรัฐมนตรีดมีตรี เมดเวเดฟและคณะรัฐมนตรีทั้งหมดก็ได้รับการอนุมัติจากประธานาธิบดีปูตินโดยทันที และในวันรุ่งขึ้นคือ วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม สภาผู้แทนราษฎรของรัสเซียได้ลงมติให้การรับรองนายมิคาอิล มิชูสติน ผู้อำนวยการสำนักงานสรรพากรแห่งชาติวัย 53 ปี ผู้ไม่ค่อยมีใครรู้จักนักขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้น ภายหลังประธานาธิบดีปูตินประกาศจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ

โดยการลงมติรับรองนายกรัฐมนตรีคนใหม่ครั้งนี้ไม่มี ส.ส.ลงมติคัดค้านแม้แต่ผู้เดียว และนายมิชูสตินได้เรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรรัสเซียร่วมมือกับเขาเพื่อดำเนินโครงการปฏิรูปรัฐธรรมนูญของปูตินอย่างเร่งด่วนต่อไป

ในวันเดียวกันนั้นเอง ประธานาธิบดีปูตินก็เข้าประชุมกับคณะทำงานเตรียมการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งขึ้นใหม่จำนวนกว่า 70 คน ซึ่งล้วนแต่เป็นคนมีชื่อเสียงจากหลากหลายอาชีพ               

ขณะที่ในวันอังคารที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีปูตินได้ให้การรับรองคณะรัฐมนตรีชุดใหม่โดยการเรียกประชุมที่กรุงมอสโก ซึ่งนายมิคาอิล มิชูสติน นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของรัสเซียได้นำคณะรัฐมนตรีใหม่เข้าร่วมประชุมด้วย แต่รัฐมนตรีประจำกระทรวงสำคัญๆ ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร กระทรวงกลาโหม และกระทรวงพลังงาน ยังคงเป็นคนเดิม ส่วนสมาชิกใหม่ที่เข้าร่วมรัฐบาลชุดนี้ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจและรองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครับ! นายดมีตรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีรัสเซียระหว่างปี พ.ศ. 2551 – 2555 และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของรัสเซียที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 8 ปี คือระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2563 ซึ่งดูเหมือนนายเมดเวเดฟจะถูกชี้เป็นนัยว่าทำงานในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำตลอดช่วง 8 ปี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ นายเมดเวเดฟถูกโยนให้เป็นแพะรับบาปในเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำของรัสเซีย

แต่อย่างไรก็ตามในฐานะที่นายเมดเวเดฟเป็นเบอร์สองที่ภักดีให้กับประธานาธิบดีปูตินมาโดยตลอด เขาจึงได้รับตำแหน่งรองประธานสภาความมั่นคงของรัสเซียซึ่งเป็นตำแหน่งลอย ในขณะที่ปูตินเป็นประธานของสภาความมั่นคงมาโดยตลอดอยู่นั่นเอง

จากสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมา คงพอสรุปได้คร่าวๆ ว่าการที่ปูตินเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดอำนาจของตำแหน่งประธานาธิบดี พร้อมๆ กับเพิ่มอำนาจของนายกรัฐมนตรีแทนนั้น ก็เนื่องมาจากปูตินต้องการที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปภายหลังต้องลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2567 เมื่อการครองเก้าอี้ประธานาธิบดี 4 สมัยสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ ปูตินก็จะสามารถยึดครองอำนาจอยู่เบื้องหลังได้ต่อไปได้อีกนั่นเอง...

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook