เปิดใจ อาม่าวัย 73 ปี คนไทยคนแรกที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 9 วันรักษาหาย

เปิดใจ อาม่าวัย 73 ปี คนไทยคนแรกที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 9 วันรักษาหาย

เปิดใจ อาม่าวัย 73 ปี คนไทยคนแรกที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 9 วันรักษาหาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพจพลังประชารัฐ เผยบทสัมภาษณ์ อาม่าใจม่วย วัย 73 ปี คนไทยรายแรกที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทีมแพทย์ รพ.นครปฐมใช้เวลา 9 วัน รักษาจนหาย

วันนี้ (4 ก.พ.) เพจเฟซบุ๊กพรรคพลังประชารัฐ ได้โพสต์ภาพ นางใจม่วย แซ่อึ๊ง หญิงวัย 73 ปี ชาวจังหวัดนครปฐม ซึ่งถือเป็นคนไทยรายแรกที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ ไวรัสอู่ฮั่น หลังเดินทางกลับจากท่องเที่ยวที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และหลังเข้ารับการรักษากับทีมแพทย์โรงพยาบาลนครปฐม 9 วัน อาม่าก็หายเป็นปกติ

อาม่าใจม่วย เล่าว่า ไปเที่ยวเมืองอู่ฮั่นกับลูกหลาน ตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค. 62 เดินกลับถึงเมืองไทยวันที่ 3 ม.ค. 63 จากนั้นเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ครั่นเนื้อครั่นตัว กินอาหารไม่ได้ ญาติจึงนำตัวส่งโรงพยาบาลนครปฐม หมอวินิจฉัยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยอาม่าบอกว่าตอนแรกก็ตกใจ และบอกับตัวเองว่าทำไมเฮงจังเลย ไปเที่ยวจีนกลับมาแล้วติดเชื้อ และยังเป็นคนไทยรายแรกอีกด้วย

ทั้งนี้ อาม่าใจม่วย ยังฝากบอกคนไทยว่า “อย่ากลัวกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เพราะฉันติดเป็นรายแรก และรักษาหายแล้ว ที่สำคัญรักษาหายโดยหมอต่างจังหวัดด้วยซ้ำไป”

ขณะที่ ทีมแพทย์โรงพยาบาลนครปฐม เล่าถึงขั้นตอนการรักษาว่า ทีมแพทย์ เล่าว่า ตอนที่อาม่าใจม่วย เข้ามาหาครั้งแรก ตรวจพบการติดเชื้อมาแล้ว 12 วัน ซึ่งอยู่ในระยะเพาะเชื้อ 14 วันพอดี หนำซ้ำยังตรวจพบโรคแทรกซ้อนอีกหลายโรค อาทิ โรคหัวใจ ไทรอยด์ ความดันโลหิตสูง เอ็กซเรย์พบน้ำท่วมปอดซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาการอาจจะกำเริบของหัวใจและปอด

จากนั้นทีมแพทย์ประกอบด้วย อายุรกรรมแพทย์โรคหัวใจ อายุรกรรมแพทย์โรคติดเชื้อ อายุรกรรมแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ และจิตแพทย์ทำการประเมินอาการร่วมกัน ก่อนจะวินิจฉัยว่าสามารถรับมือได้ เนื่องจากโรงพยาบาลมีผู้เชี่ยวชาญครบทุกด้าน จึงค่อยๆ รักษาตามอาการ

สำหรับการรักษาครั้งนี้ โรงพยาบาลนครปฐมใช้ทีมแพทย์ 6 คน พยาบาลอีก 11 คน เนื่องจากเป็นโรคใหม่ โดยมีการจัดทีมผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านคอยตรวจอาการ พร้อมประเมินผู้ป่วยทุกวัน นอกจากนั้นยังใช้จิตแพทย์เข้าไปดูแล มีทีวีให้ชม

รวมถึงการพูดคุยผ่านระบบอินเตอร์คอมและโทรศัพท์ที่อยู่ภายในห้องปลอดเชื้อ เพื่อเป็นการผ่อนคลาย เนื่องจากผู้ป่วยอยู่ไกลญาติ อาจจะเกิดความเครียดและส่งผลต่อร่างกายตามมาได้ โดยการรักษาใช้วิธีรักษาตามอาการไปเรื่อยๆ จนคนไข้สามารถมีภูมิต้านทานขึ้นมาจนมีค่าการติดเชื้อเป็นลบในที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook